25/5/2561

EEC ตัวช่วยสำคัญ ดัน SME ไทยโต

​       สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) พ.ศ… เมื่อกลางเดือน ก.พ. 2561 นับได้ว่าเป็นส่วนเติมเต็มสำคัญอีกประการในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศตัดสินใจเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายบนพื้นที่ EEC มากขึ้น เพื่อให้เกิดการลงทุนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand 4.0) ในระยะ 20 ปี (2560-2579) อันจะมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว​


       ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เม็ดเงินลงทุนจริงในพื้นที่ 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง) ทั้งจากภาครัฐและเอกชนในช่วงบุกเบิกโครงการ EEC นั้นจะอยู่ที่ราว 170,000 ล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2561-2563 และเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ราว 350,000 ล้านบาทในช่วงปี 2564-2565 โดยการเพิ่มขึ้นในช่วงหลังนั้นเป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญระยะเร่งด่วน ประกอบกับการทยอยเข้าลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน​


       การพัฒนานวัตกรรมบนพื้นที่ EEC ยังมีส่วนช่วยให้ SME สามารถนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของห่วงโซ่อุปทานแห่งอนาคตได้อีกทาง อย่างไรก็ตาม SME ต้องมีการปรับตัวรับการพัมนาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ​


       ร่าง พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นับได้ว่าเป็นส่วนเติมเต็มที่สำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนภาคเอกชนในการลงทุนขนาดใหญ่ในระยะยาวจากการให้สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีแก่นักลงทุนเพิ่มเติม หรือการออกใบอนุญาตต่างๆ ที่รวดเร็วมากขึ้น นอกเหนือจ​ากความพยายามของภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ผ่านโครงสร้างพื้นฐานและสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม…


ดาวน์โหลดบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม


 

​​สินเชื่อที่เกี่ยวข้อง : สินเชื่อและบริการยอดฮิต