ทำไม? กองทุนต่างประเทศถึงปรับตัวขึ้น
หลักๆ มาจากการปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ นับตั้งแต่ 12 มิ.ย. 65 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการประชุม FED รอบ มิ.ย. ไม่กี่วัน ซึ่งรอบนั้นมีการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.75% ที่ถือว่าเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่สุดในรอบ 28 ปี ซึ่งโดยปกติการขึ้นดอกเบี้ยมักส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง แต่จากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED 2 ครั้งล่าสุด (มิ.ย. และ ก.ค.) ตลาดกลับตอบรับเชิงบวก หลังจากที่เคยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 64
อีกทั้งยังได้ปัจจัยบวกจากการที่บริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ
หลายบริษัทประกาศผลประกอบการ Q2/65 ออกมาดี และการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่เป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เดือน ก.ค. ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และต่ำกว่าเดือน มิ.ย. ด้วย ทำให้หลายคนคาดว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และ FED อาจไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยมากนัก
ซึ่งการที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เช่น ณ 11 ส.ค. ดัชนี S&P500 +9.15%เทียบกับ 11 ก.ค. ทำให้ตลาดหุ้นอื่นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกัน เช่น ตลาดหุ้นยุโรปที่ดัชนี Euro Stoxx 50 +8.22% และตลาดหุ้นอินเดียที่ดัชนี Nifty 50 +8.90% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ทำไม? แต่ละกองทุนปรับตัวขึ้นไม่เท่ากัน
แต่ละกองทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เหมือนกัน เช่น K-US500X และ K-EUX ที่เน้นลงทุนในประเทศหรือภูมิภาคที่ต่างกัน หรือมีการลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ในสัดส่วนที่ต่างกัน อย่างกองทุนผสม เช่น K-GA ที่กองทุนหลักมีการลงทุนในหุ้นภูมิภาคอเมริกาเหนือ 37.33%ของมูลค่ากองทุน (ณ 29 ก.ค. 65) ทำให้เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น กองทุนนี้จึงมีการปรับตัวขึ้นเช่นกัน แต่ขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากรลงทุนหุ้นสหรัฐฯ เพียงบางส่วนเท่านั้น และสินทรัพย์อื่นที่ K-GA ลงทุนอาจปรับตัวขึ้นน้อยกว่า เป็นต้น
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แต่ละกองทุนปรับตัวแตกต่างกัน
แม้ลงทุนในสินทรัพย์หรือตลาดหุ้นประเทศเดียวกัน คือ มีนโยบายหรือกลยุทธ์การลงทุนที่ต่างกัน
เช่น K-US500X และ K-USA ที่เน้นลงทุนหุ้นสหรัฐฯ เหมือนกัน แต่ ณ 11 ส.ค. 65 มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 เดือน อยู่ที่ประมาณ 9.16% และ 27.17% ตามลำดับ เนื่องจาก K-US500X เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ ที่เน้นสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีอ้างอิง (S&P 500) ส่วน K-USA-A(A) เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุก ที่เน้นสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีอ้างอิง
อย่างไรก็ตาม
กองทุนที่ลงทุนแบบเชิงรุกจะมีความผันผวนของราคาที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงและกองทุนอื่น อีกทั้งยังอาจเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับดัชนีอ้างอิงได้ เช่น ณ 12 ส.ค. 65 กองทุนหลักของ K-USA (US Advantage Fund) มีการปรับตัวลดลง -3.03%เทียบกับวันก่อนหน้า ทั้งที่ดัชนีหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้น เช่น ดัชนี Nasdaq +2.09% S&P500 +1.73% Dow Jones +1.27%เทียบกับวันก่อนหน้า หรือหากพิจารณาข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี พบว่ากองทุนหลักของ K-USA ราคามีการปรับตัวลดลงถึง -44.74%เทียบกับ 12 ส.ค. 64 ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ติดลบน้อยกว่า เช่น ดัชนี Nasdaq -11.94% Dow Jones -4.90% S&P500 -4.05% เทียบกับ 12 ส.ค. 64
ความเคลื่อนไหวการลงทุนอื่น ที่น่าสนใจ
15 ส.ค. 65 สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ย. 65 ปรับตัวลง -3.57%เทียบกับวันก่อนหน้า เกิดจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. ที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดและชะลอตัวลงจากเดือน มิ.ย. อีกทั้งตลาดจับตาความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ ที่อิหร่านเรียกร้องให้สหรัฐฯ แสดงความยืดหยุ่นมากขึ้นในการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าหากอิหร่านบรรลุข้อตกลงดังกล่าว อิหร่านจะกลับมาเพิ่มการส่งออกน้ำมันอย่างรวดเร็วภายในเวลา 6 เดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง
15 ส.ค. 65ตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวลงเล็กน้อย -0.13% ถึง -0.67% เทียบกับวันก่อนหน้า โดยจีนได้มีปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ และถอนเงินสดบางส่วนออกจากระบบธนาคาร เพื่อพยายามฟื้นฟูความต้องการสินเชื่อ และกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว จากภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกที่อ่อนแอ ในขณะที่อัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นเป็นสถิติสูงสุดใหม่ ซึ่งการลดดอกเบี้ยดังกล่าว สะท้อนว่าทางการจีนยังคงต้องการหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวหลังเผชิญกับการล็อกดาวน์เข้มงวด และวิกฤตภาคอสังหาฯ อีกทั้งเงินเฟ้อจีนที่ยังอยู่ในระต่ำ คาดว่าในระยะข้างหน้าทางการจีนจะยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
คำแนะนำการลงทุน
กองทุนหุ้นสหรัฐฯ
• การใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของ FED นอกจากจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อการปรับลดคาดการณ์ GDP และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนด้วย อีกทั้งยังต้องจับตาดูว่าการอัตราดอกเบี้ยได้ผ่านจุดสูงสุดหรือยัง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED จะหยุดเงินเฟ้อได้หรือไม่ หลังจากที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ค. เริ่มชะลอตัว
• ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ
อยู่ แนะนำให้ถือต่อและประเมินสถานการณ์
ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มยังไม่แนะนำให้ลงทุนตอนนี้
กองทุนหุ้นยุโรป