หากใครติดตามหรือลงทุนในกองทุนหุ้นจีนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าตลาดหุ้นจีนลงมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปรับตัวลงมานำหน้าตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ อย่างดัชนี MSCI China 10/40 ปรับตัวลงมากถึง53% ระหว่างกุมภาพันธ์ 2564 – ระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคม 2565 จนหลายคนอาจสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจของจีน?
ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในช่วงที่ผ่านมา
1.นโยบาย Zero-Covid ที่เข้มงวด
จากนโยบายภาครัฐจีนต้องการควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ภายในประเทศให้เป็นศูนย์ ส่งผลให้เกิดการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เช่นเซี่ยงไฮ้ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีประชากรกว่า 25 ล้านคน จนทำให้เศรษฐกิจจีนเกิดอาการสะดุด
2.นโยบาย Common Prosperity
หรือนโยบายเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของจีน ที่ทางการจีนเข้าไปควบคุมธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด จนกระทบต่อรายได้ และกำไรของบริษัท สุดท้ายนักลงทุนต่างชาติแห่เทขายหุ้นจีน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
3.อสังหาริมทรัพย์อ่อนแอ
เริ่มเห็นชัดหลัง Evergrande บริษัทอสังหาฯที่ใหญ่ที่สุดในจีน ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ และไม่สามารถชำระหนี้ได้ จนลามเป็นวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ถึงปัจจุบัน ที่ผู้ซื้อบ้านไม่ยอมจ่ายค่างวด ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจการลงทุนในหุ้นจีน
4.ความขัดแย้งระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวัน
เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้งหลังแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการ โดยไม่ฟังคำคัดค้านของโจไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงคำเตือนจากทางการจีนที่ยึดมั่นนโยบายจีนเดียว ซึ่งถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้กับจีนอย่างมาก จีนมีการแบนสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตอาหารของไต้หวันจำนวน 2,000 แห่ง ห้ามส่งออกทรายซึ่งใช้สำหรับก่อสร้าง และผลิตชิปไปไต้หวัน รวมถึงจีนมีการซ้อมรบใหญ่กระสุนจริง 6 จุดรอบเกาะไต้หวันอีกด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นทางคณะผู้แทนสหรัฐฯก็ยังมีการเยือนไต้หวันอีกครั้ง ทำให้สถานการณ์การเมือง และการค้าระหว่างไต้หวันกับจีนมีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น
8 บลจ.ชั้นนำไทย มองหุ้นจีนไปต่อ!
จากการสำรวจมุมมองการลงทุนของ 8 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกของธนาคารชั้นนำในประเทศ โดยพบว่ายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในหุ้นจีน ซึ่งสรุปปัจจัยสำคัญได้ดังนี้
1.มีความพร้อมใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สวนทางกับหลายประเทศทั่วโลกที่ขณะนี้ประสบปัญหาเงินเฟ้อสูง กระทบเศรษฐกิจ หากใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตอนนี้ ก็อาจเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลง แต่ในทางกลับกันจีนที่เงินเฟ้อไม่ได้สูงมากนัก และตั้งเป้า GDP ปีนี้ไว้ที่ 5.5% จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใใช้นโยบายการเงิน และการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้า ซึ่งนั่นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบใหม่
2.กำลังการบริโภคภายในประเทศมหาศาล
ด้วยจำนวนผู้มีรายได้ปานกลางในประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้บริการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตก็ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เช่น บริการด้านการบริหารความมั่งคั่ง การทำประกันเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว โดยปัจจัยเหล่านี้ช่วยสนับสนุนธุรกิจกลุ่มการบริโภค และการเงินให้ฟื้นตัวได้ก่อน ในช่วงที่เศรษฐกิจจีนเริ่มกลับมาฟื้นตัว
3.Valuation หุ้นจีนต่ำ
จากการที่จีนได้รับปัจจัยกดดันตลาดหุ้นมาตลอด 1 ปีเต็ม และปรับตัวลงมาต่อเนื่องก่อนฝั่งตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ยิ่งทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นจีนต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในขณะที่คาดการณ์กำไรเติบโตโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ
4.การถือครองหุ้นจีนไม่มาก
จากการที่กองทุนต่างประเทศ และนักลงทุนทั่วไปแห่เทขายกันตั้งแต่ปีที่แล้ว ดังนั้นหากมีปัจจัยบวกเข้ามา ก็จะช่วยดึงดูดนักลงทุนและกองทุนต่างประเทศให้กลับเข้ามาลงทุน ดันตลาดหุ้นจีนให้ไปต่อได้ ซึ่งในปีนี้เริ่มเห็นแรงซื้อกลับเข้ามาผ่าน ETF ของหุ้นจีน และคาดว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง ดัชนี A-share ที่มีรายได้หลักจากในประเทศอย่างต่อเนื่อง เหมือนช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ต่างชาติมองหุ้นจีนไปต่อ!
Fidelity International และ GAM Investment Management คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นจีนช่วงครึ่งปีหลังจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลก ที่เผชิญแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดย
Jian Shi Cortesi ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของ GAM มองว่านโยบายเศรษฐกิจของจีนสวนทางกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นแม้ตลาดหุ้นประเทศอื่นจะปรับตัวลดลง แต่ก็คาดว่าตลาดหุ้นจีนจะสร้างผลตอบแทนได้ดี ทางด้าน
Andrew McCaffery หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุนของ
Fidelity International มองว่าหุ้นจีนยังไม่มีสัญญาณของขาลงอีกครั้ง
ขณะที่
Goldman Sachs แม้จะให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นจีนมากกว่าตลาด แต่ก็ปรับลดประมาณการดัชนี MSCI China ลงจากความกังวลเรื่องของปัญหาอสังหาฯในประเทศจีน โดยนักกลยุทธ์ก็เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดวิกฤติอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากทางการจีนได้มีการตั้งกองทุนช่วยเหลือบริษัทอสังหาฯ จำนวน 12 แห่งที่มีปัญหาทางการเงิน ซึ่งร่วม China Evergrande และ Kaisa Group แล้ว
สถานการณ์แบบนี้ เลือกกองทุนไหนดี
ปัจจุบันตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญความผันผวน ดังนั้นการลงทุนกองทุนหุ้นจีนกองใดสักหนึ่งกอง นอกจากควรเลือกกองทุนหุ้นจีนที่ได้รับประโยชน์จากปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับแรกๆ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Old Economy หรือกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น
กลุ่มการอุปโภคบริโภค กลุ่มการเงิน ที่มักได้รับประโยชน์ก่อนกลุ่ม New Economy ที่เป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี เมื่อตลาดหุ้นจีนมีการฟื้นตัว อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาก่อนลงทุนกองทุนหุ้นจีน คือเรื่องค่าธรรมเนียมที่ถูก เพราะช่วยลดต้นทุนการลงทุน และประหยัดค่าใช้จ่ายการลงทุนได้ในระยะยาว
ดังนั้นจึงแนะนำกองทุน K-CHX กองทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก CSOP FTSE China A50 ETF ลงทุนเฉพาะหุ้น A-Shares เท่านั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการติดตามการเคลื่อนไหวการลงทุนผ่านดัชนี FTSE China A50 นอกจากกองทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกแล้ว เมื่อเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว
หุ้นกลุ่มการเงินและการอุปโภคจะฟื้นตัวได้ก่อน ทำให้กองทุนK-CHX ได้รับประโยชน์ก่อนตามสัดส่วนการลงทุนอีกด้วย
ตัวอย่างธุรกิจ
1.KWEICHOW MOUTAI
ผู้ผลิตเหล้าขาว Premium อันดับหนึ่งของจีน ภายใต้แบรนด์ Moutai โดยปี 2564 รายได้ 106,059.29 ล้านหยวน
2.CHINA MERCHANTS BANK
ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของจีนที่มี Return on Equity มากกว่า 20% ต่อปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เน้นเจาะกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก (SME) โดยปี 2564 รายได้ 936,200 ล้านหยวน
3. Wuliangye Yibin
ผู้ผลิตเหล้าอันดับ 2 ของจีน รองจาก Moutai โดยปี 2564 รายได้ 65,753 ล้านหยวน
4.PING AN INSURANCE GROUP
บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดในจีน และถูกจัดอันดับ Top brand บริษัทประกันระดับโลก 5 ปีติดต่อกัน โดยปี 2564 รายได้ 1,283,897 ล้านหยวน
ผลการดำเนินงาน
กองทุน CSOP FTSE China A50 ETF ที่กองทุน K-CHX ลงทุน ทำผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงวันที่
1 สิงหาคม 2564 ได้ 139.97% ขณะที่
Maximum Drawdown กองทุน K-CHX อยู่ที่ -38.89 %
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2565
แม้ปัจจุบันตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวน ประสบปัญหาเศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อสูง ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดการปลดพนักงานจำนวนมาก จนนักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ว่าหลายประเทศ อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ในสถานการณ์ที่แย่ ก็ยังพอมีทางเลือกที่ดีอยู่บ้าง หนึ่งในนั้นคือจีนที่สถานการณ์ตรงข้ามกับหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเรื่องเงินเฟ้อต่ำ รอการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายภายในประเทศอย่างปัญหาอสังริมทรัพย์ ที่รอทางการจีนจะแก้ปัญหา รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวันจะจุดชนวนกลายเป็นปัญหาการเมือง และกระทบเศรษฐกิจเหมือนสงครามรัสเซีย-ยูเครน หรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไป ดังนั้นหากสนใจลงทุนในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ อย่างกองทุน K-CHX แนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวลง
ขอบคุณข้อมูล : KAsset