(คาดว่า NAV ของกองทุน K-OIL ณ 30 ส.ค. ที่จะประกาศคืนวันที่ 31 ส.ค. จะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกัน)
ในขณะที่ตลาดหุ้นอย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เมื่อวันศุกร์ 26 ส.ค. ติดลบ 3%-4%เทียบกับวันก่อนหน้า โดยวันจันทร์ที่ 29 ส.ค. และอังคารที่ 30 ส.ค. ก็ยังคงปรับตัวลงต่อประมาณ 0.5%-1% และ 1% เทียบกับวันก่อนหน้า ตามลำดับ
ส่วนตลาดหุ้นยุโรป (Euro Stoxx 50) ก็ปรับตัวลดลงเกือบ 2% และ 1%เทียบกับวันก่อนหน้า ในวันศุกร์และวันจันทร์เช่นกัน โดย ณ 29 ส.ค. กองทุน Morgan Stanley MS US Advantage ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ K-USA ราคาปรับตัวลง -4.29% (ส่งผลให้ NAV ของกองทุน K-USA ณ 29 ส.ค. -4.28%) และกองทุน Allianz Europe Equity Growth ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ K-EUROPE ราคาปรับตัวลง -4.08%เทียบกับวันก่อนหน้า (ส่งผลให้ NAV ของกองทุน K-EUROPE ณ 29 ส.ค. -3.76%)
สาเหตุที่ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้น ณ 29 ส.ค.
● โอเปก พลัส ลดกำลังการผลิตน้ำมัน
นักลงทุนคาดว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) อาจปรับลดกำลังการผลิต หลังการประชุมวันที่ 5 ก.ย.
เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด หลังจากที่รัฐมนตรีพลังงานซาอุดีอาระเบีย ส่งสัญญาณว่าโอเปกพลัสมีความมุ่งมั่นและความยืดหยุ่น ที่อาจปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันได้ทุกเวลา ในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากอิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมัน
● เหตุการณ์ไม่สงบในลิเบีย
ซึ่งเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา สามารถผลิตน้ำมันได้มากถึง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นแหล่งน้ำมันทางเลือกให้กับชาติตะวันตกที่คว่ำบาตรการซื้อน้ำมันจากรัสเซีย
ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงทริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 26 ส.ค. ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบที่รุนแรงที่สุดในรอบ 2 ปี ของลิเบีย
จาก 2 สาเหตุ ส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันเข้าตลาดโลก ซึ่งหากความต้องการใช้พลังงานไม่ได้ลดลง ย่อมส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงหรือแพงขึ้นตามมา อย่างไรก็ตามความต้องการใช้น้ำมันมักขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลก ซึ่งหาก FED (ธนาคารกลางสหรัฐฯ) ยังคงขึ้นดอกเบี้ยที่แรงและต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบไปด้วย
ประกอบกับหากอิหร่านมีความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ได้ ก็อาจกลับมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันทำให้ปริมาณน้ำในตลาดโลกมากขึ้น ราคาน้ำมันก็อาจปรับตัวลงได้
ซึ่งความผันผวนของราคาน้ำมันอาจยังคงมีต่อไป จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนในสินทรัพย์ที่อ้างอิงราคาน้ำมันควรติดตาม เช่น
-
ก๊าซพรอม (Gazprom) บริษัทผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติของรัฐบาลรัสเซียจะปิดท่อส่ง Nord Stream 1 ซึ่งเป็นท่อที่ส่งก๊าซไปยังเยอรมนี เพื่อทำการซ่อมบำรุง ในวันที่ 31 ส.ค.-2 ก.ย.
-
เนเธอร์แลนด์เสนอให้มีการยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นมาตรการที่บังคับให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทของรัสเซียภายในวันที่ 10 ต.ค.
-
รัฐมนตรีพลังงานของสหภาพยุโรป (EU) เตรียมจัดการประชุมฉุกเฉินในวันที่ 9 ก.ย.เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป
สาเหตุที่หุ้นประเทศต่างๆ ปรับตัวลง
ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ปรับตัวลงหลังจากที่ประธาน FED (ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ) มีการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม Jackson Hole ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี ที่มีผู้ว่าการธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง นักวิชาการและนักลงทุนชั้นนำในตลาดการเงินทั่วโลกเข้าร่วมประชุม
โดยประธาน FED ย้ำว่า FED ยังมีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว โดยจะไม่ตัดทางเลือกหากจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่มากกว่าปกติ แม้ภาคธุรกิจและครัวเรือนจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวก็ตาม เพราะหาก FED ไม่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินเฟ้อได้ ผลกระทบที่ตามมาอาจจะมากกว่าได้
หลังการสุนทรพจน์ของประธาณ FED เมื่อวันศุกร์ที่ 26 ส.ค. ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันศุกร์ปิดร่วง 3%-4%เทียบกับวันก่อนหน้า ซึ่ง ณ เวลานั้นตลาดหุ้นฝั่งเอเชียได้ปิดทำการแล้ว แต่เมื่อตลาดหุ้นเอเชียเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 29 ส.ค. ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ก็ปรับตัวลง เช่น ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นปรับตัวลง -2.66% ดัชนี SET ของไทยปรับตัวลง -1.11% ดัชนี VN Index ของเวียดนามปรับตัวลง -0.92% และดัชนี China A50 ของจีนปรับตัวลง -0.96% เทียบกับวันก่อนหน้า
อีกทั้งล่าสุด กรรมการ ECB ระบุเช่นกันว่า ECB (ธนาคารกลางยุโรป) จะใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย โดยตลาดคาดว่า ECB อาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50%-0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือน ก.ย. นี้
มุมมองการลงทุน
บล.กสิกรไทย ได้มีการประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย FED ทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง 4% ซึ่งจากสุนทรพจน์ของประธาน FED ทำให้ตลาดคาดว่าการประชุม FED เดือน ก.ย. 65 จะมีการขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้น 0.50%
ซึ่งจากความผันผวนในช่วงวันศุกร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลงรวมเกิน 4%แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอาจกระทบต่อตลาดหุ้นประเทศอื่นด้วยเช่นกัน นั่นคือ การเพิ่มขนาด QT (Quantitative Tightening) หรือการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ของ FED ที่เดือน ก.ย. FED มีแผนที่เพิ่มขนาด QT จากช่วงที่ผ่าน (ดึงสภาพคล่องออกมากขึ้น) ซึ่งอาจส่งผลลบต่อตลาดหุ้นได้อีก
สถานการณ์อื่น ที่น่าสนใจ
30 ส.ค. ตลาดหุ้นอินเดีย เช่น ดัชนี Nifty 50 ปรับตัวสูงขึ้น +2.58%เทียบกับวันก่อนหน้า จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลงในวันเดียวกันทำให้ตลาดคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้อลง ประกอบกับธนาคารกลางอินเดียได้มีการเทขายดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีการแข็งค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี ซึ่งการขายดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเปลี่ยนกลับเป็นเงินรูปีนั้น จะมีส่วนหนุนให้ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นหรือลดความอ่อนค่าลงได้
กองทุนที่ได้รับผลกระทบ
กองทุนที่ราคา ณ 29 ส.ค. (NAV ประกาศคืนวันที่ 30 ส.ค.) ได้รับผลกระทบจากสัญาณทิศทางดอกเบี้ยของ FED จากที่ประชุม Jackson Hole หลักๆ ได้แก่
- กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เช่น K-USA ปรับตัวลง -4.28%เทียบกับวันก่อนหน้า
- กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นยุโรป เช่น K-EUROPE ปรับตัวลง -3.76% และ K-EUSMALL ปรับตัวลง -2.32%เทียบกับวันก่อนหน้า
- กองทุนหุ้นที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ หรือยุโรป เช่น K-GHEALTH ปรับตัวลง -3.81% และ K-HIT ปรับตัวลง -3.15%เทียบกับวันก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 30 ส.ค. K-CHANGE ที่กองทุนหลัก (BG Positive Change) มีการปรับตัวลง -3.00%เทียบกับวันก่อนหน้า เช่นกัน
คำแนะนำการลงทุน
● ผู้ที่ถือกองทุน K-OIL อยู่
ให้พิจารณาขายคืนทั้งหมดหากมีกำไร ซึ่งระดับราคา ณ ปัจจุบันแม้จะต่ำกว่าช่วง มิ.ย. 65 แต่ยังเป็นระดับราคาที่สูงกว่าราคาที่ผ่านมาหากย้อนหลังไปจนถึง ธ.ค. 57 ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่ม ไม่แนะนำให้ลงทุน
● ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นยุโรป
อยู่(เช่น K-EUROPE, K-EUSMALL)แนะนำให้หาจังหวะขายคืนหรือลดสัดส่วนลงหากมีกำไร ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่ม ไม่แนะนำให้ลงทุน
● ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ
อยู่(เช่น K-USA, K-USXNDQ, K-US500X) แนะนำให้ถือต่อและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มยังไม่แนะนำให้ลงทุนตอนนี้ ควรรอประเมินสถานการณ์ โดยเฉพาะการประชุม FED วันที่ 20-21 ก.ย. และปริมาณการทำ QT ของ FED ต่อจากนี้
● ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นอินเดีย
อยู่ (เช่น K-INDIA, K-INDX)
แนะนำให้ถือต่อและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มยังไม่แนะนำให้ลงทุนตอนนี้
● สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้หรือเป็นเงินลงทุนส่วนที่รับความเสี่ยงได้
แนะนำพิจารณาทางเลือกในการแบ่งเงินลงทุนบางส่วนมาทยอยลงทุนกองทุนหุ้นจีน (เช่น K-CHX, K-CHINA, K-CCTV) กองทุนหุ้นเวียดนาม (เช่น K-VIETNAM) กองทุนหุ้นญี่ปุ่น (เช่น K-JP, K-JPX) หรือกองทุนหุ้นไทย (เช่น K-STAR) เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว
● สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น
แนะนำพักเงินในกองทุน K-CASH เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์การลงทุนอย่างกองทุนหุ้นเป็นสิ่งที่ราคามีความผันผวน นอกจากการติดตามข่าวสารหรือหาโอกาสทยอยลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมแล้ว ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญกับการแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนเพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงหรือลดผลกระทบจากความผันผวนลง โดยเฉพาะช่วงที่สหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกด้วย โดยผู้ที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (เช่น กองทุนหุ้นไทย/ต่างประเทศ) ไม่เกิน 30%ของเงินลงทุน ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (เช่น กองทุนหุ้นไทย/ต่างประเทศ) ไม่เกิน 50%ของเงินลงทุน เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset, KSecurities, THE STANDARD WEALTH, Infoquest
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”