ในภาวะตลาดขาลง หรือ มีความผันผวนสูง อย่างเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะตลาดหุ้นต่างประเทศ จะมีเทคนิคการ Stop Loss หรือ กำหนดจุดขาดทุนไว้ เพื่อจำกัดความเสี่ยงที่จะขาดทุนเพิ่ม จะมีวิธีการอย่างไรกันบ้าง มาติดตามกันในบทความนี้
3 เทคนิค Stop Loss
โดยทั่วไปเทคนิคการ Stop Loss จะใช้สินทรัพย์ที่มีการเคลื่อนไหวของราคาสูง เช่น หุ้น กองทุน ETF คริปโทเคอเรนซี เป็นต้น โดยจะแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ๆ* ในการกำหนดจุดขาดทุน (Stop Loss) ดังนี้
1) วิธี Moving Average
ถือเป็นเทคนิคที่ใช้กราฟเข้ามาช่วย โดยเส้นค่าเฉลี่ยจะมีหลายช่วงเวลา เช่น เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน 75 วัน 100 วัน หรือ 200 วัน จะเลือกระยะเวลาสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการลงทุน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น จะเคลื่อนไหวขึ้นลงได้เร็วกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว หากเลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน สำหรับการลงทุนระยะยาว จะทำให้มีโอกาสกำหนดจุดขาดทุน(Stop Loss) เร็วกว่าระยะเวลาลงทุนที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น ควรเลือกเส้นค่าเฉลี่ยระยะเวลา ให้สอดคล้องกับระยะเวลาลงทุนด้วย จะช่วยกำหนดจุดขาดทุนได้เหมาะสม เป็นต้น ด้วยวิธีนี้จะตัดขาดทุน ก็ต่อเมื่อ กราฟราคาปรับตัวลดลงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ยกตัวอย่างจากรูปด้านล่าง เลือกเส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน ในการกำหนดจุดขาดทุน เมื่อกราฟราคาตัดกับเส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน จึงจะขายเพื่อตัดขาดทุน เป็นต้น
2) วิธี Market Structure
หรือเป็นการใช้กราฟเข้ามาดูแนวรับ-แนวต้านของรอบการขึ้นลงของหุ้น หรือตราสารที่เราสนใจ เมื่อจุดต่ำสุดของรอบที่ 1 เป็นเท่าไหร่ จุดนั้นจะเป็นจุด Stop Loss ของการลงทุน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้กราฟเข้ามาประกอบการตัดสินใจกำหนดจุดขาดทุน (Stop Loss)
3) วิธี Percentage Change
วิธีนี้เป็นวิธีตรงไปตรงมา ไม่ต้องใช้กราฟมาช่วย เพียงแค่กำหนดว่า เมื่อเข้าลงทุนแล้วจะกำหนดจุดขาดทุน (Stop Loss) ไว้ที่ 5% หรือ 10% จากราคาที่เข้าซื้อ เป็นต้น และจะมีการขยับจุดขาดทุนขึ้น-ลง เมื่อราคาตลาดปรับตัวขึ้น-ลง ซึ่งเรียกว่า Trailing Stop Loss ร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น เข้าซื้อหุ้น A ที่ราคา 10 บาท กำหนดจุดขายขาดทุนที่ 10% หรือ 1 บาท เมื่อใดที่ราคาลดลงมาบริเวณ 9 บาท จะทำการขายที่ 9 บาท เพื่อจำกัดการขาดทุนตามที่ตั้งใจ วิธีนี้ตรงไปตรงมา และเมื่อราคาหุ้นขยับขึ้นไป 11 บาท (ราคาขึ้นมาแล้ว 10%) จึงขยับจุดขาดทุนขึ้นมาอีก 10% ของจุดขาดทุนเดิม หรือ ก็คือ 9.9 บาท ซึ่งหากราคาลงมาถึงจุดขาดทุนที่ 9.9 บาท จะเกิดขาดทุนจริงเพียง 1% เท่านั้น (คำนวณจากต้นทุนที่ซื้อมา 10 บาท) วิธีนี้จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการทำกำไร และช่วยกำหนดจุดตัดสินใจในยามที่ตลาดผันผวนแรงได้
เทคนิค Stop Loss วิธีไหนดีที่สุด
เทคนิค Stop Loss ที่ดีที่สุด คือ เทคนิคที่ผู้ลงทุนนำไปใช้จริง ดังนั้น ต้องพิจารณาในแต่ละเทคนิคว่า เราในฐานะผู้ลงทุนถนัดหรือเข้าใจในเทคนิคไหน ถ้าใช้กราฟเทคนิคประกอบการลงทุน จะมี 2 เทคนิคให้เลือกนำไปใช้ คือ Moving Average กับ Market Structure หรือหากต้องการเทคนิคที่ไม่ซับซ้อนทำตามได้ง่าย สามารถเลือกใช้วิธีกำหนดเป็น Percentage Change ได้
คำถามที่จะถูกถามต่อ คือ ควรตั้งจุดขาดทุน (ตั้ง Stop Loss) ที่กี่เปอร์เซ็นต์ดี ลองมาดูที่บทวิจัย**ระหว่างการตั้ง Stop Loss VS Trailing Stop Loss VS Buy and Hold ในดัชนีหุ้น OMX 30 ในประเทศสวีเดน ในช่วงระหว่างปี 1998-2009 จะพบว่า ทั้งกลยุทธ์การตั้ง Stop Loss และ Trailing Stop Loss ทำผลงานได้ดีกว่า การซื้อแล้วถือยาว (buy and hold) โดยเฉพาะในช่วงตลาดขาลง โดยจะช่วยลดโอกาสขาดทุน (แต่ไม่ใช่ว่าไม่ขาดทุน) โดยช่วงกำหนดจุด Stop Loss บริเวณ 10-20% เป็นช่วงที่ทำให้ผลตอบแทนดีกว่า กลยุทธ์ซื้อและถือยาว (Buy and hold) อย่างไรก็ตาม บทวิจัยเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการพิสูจน์ว่า เทคนิค Stop Loss ช่วยกำหนดจุดตัดสินใจยามที่มีความผันผวนของราคาสูง และลดโอกาสในการขาดทุนลงได้
นั่นเป็นการใช้เทคนิค Stop Loss กับหุ้น หรือ ตราสารที่มีราคาตลาดเคลื่อนไหวเป็นรายวินาที ซึ่งเทคนิคเดียวกันนี้ก็สามารถใช้กับการลงทุนในกองทุนรวมได้ด้วยเช่นกัน โดยสมมติว่ามีพอร์ตการลงทุนเริ่มต้นมูลค่า 1 ล้านบาท และจัดสัดส่วนการลงทุนในระดับความเสี่ยง 8 ทำให้มีกองทุนสินทรัพย์เสี่ยง 8 กองทุน และกองทุนตราสารหนี้ 3 กองทุน โดยเริ่มต้นลงทุนในวันที่ 1 ก.ย. 65 ต่อมาในช่วงปลายเดือน ต.ค. 65 มูลค่าพอร์ตปรับลดลงถึง 10% (สมมติว่ากำหนด Stop Loss ที่ 10%) จะเกิดการสับเปลี่ยนเงินลงทุนทั้งหมดไปยังกองทุนตราสารหนี้ทั้งหมด จนกระทั่งถึงกำหนดปรับสัดส่วน(ตามระยะเวลา ทุก 3 เดือน) จะปรับสัดส่วนกลับมาตามระดับความเสี่ยง 8 เช่นเดิม กรณีมูลค่าพอร์ตเปลี่ยนแปลงและปรับลดลงไม่ถึง 10% จะรอปรับสัดส่วน(ตามระยะเวลา 3 เดือน) ดังนั้น หากจะใช้เทคนิค Stop Loss ได้ด้วยตนเองก็ทำได้ แต่หากไม่ต้องการจัดการเอง Wealth Plus ช่วยวางแผนการลงทุน เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่จะกำหนดจุดขาดทุนด้วยเทคนิค Percentage Change ให้ เมื่อมูลค่าของพอร์ตปรับตัวลดลงถึงเปอร์เซ็นต์ที่เปลี่ยนแปลงไป(ก่อนกำหนดปรับสัดส่วนตามระยะเวลาทุก 3 เดือน) จะย้ายเงินลงทุนบนสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดไปอยู่ในกองทุนตราสารหนี้ และจะปรับสัดส่วนตามระดับความเสี่ยง เมื่อครบกำหนด(ทุก 3 เดือน)ในการปรับสัดส่วน (Rebalance) หากมูลค่าพอร์ตเปลี่ยนแปลงหรือปรับลดลงไม่ถึง 10% จะปรับสัดส่วนทุกๆ 3 เดือน นั่นเอง
ทั้งนี้ มีการจำลองพอร์ตการลงทุนให้มีเงินลงทุนเริ่มต้น 3 ล้านบาท กับข้อมูลจริงตั้งแต่ปี 2007 ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย และจัดสัดส่วนการลงทุนตามระดับความเสี่ยง (4-8) และมีระยะเวลาลงทุน 3-7 ปี โดยจะมีการปรับสัดส่วน (Rebalance) ทุกๆ 3 เดือน พบว่า การควบคุมความเสี่ยงจากเทคนิค Stop Loss จะช่วยให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่าง 0.06%-2.28% ต่อปี ในขณะที่โอกาสในการขาดทุนต่อปี ลดลง ระหว่าง 2.01%-24.18% อันนี้เป็นตัวอย่างจากการใช้ Stop Loss เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการลงทุน แต่ไม่ใช่การลดโอกาสในการขาดทุน ดังนั้น นักลงทุนเลือกใช้เทคนิค Stop Loss ที่ตนเองถนัดได้ จะใช้กราฟช่วย หรือใช้เทคนิคง่ายๆอย่าง Percentage Change ด้วยตนเอง หรือจะเลือกลงทุนผ่านกองทุนที่ลงทุนเป็น port ที่มีการใช้เทคนิค stop loss ลงทุนให้ก็ได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาทั้งการเลือกกองทุนเอง และกำหนดจุดตัดขาดทุนดังที่เสนอมาทั้งหมด การใช้ตัวช่วยแบบสำเร็จรูปอย่าง Wealth Plus ก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะมากทางเลือกหนึ่ง
หากสนใจให้ Wealth Plus เป็นตัวช่วยสมัคร Wealth Plus ได้ง่ายๆ ผ่าน App K PLUS เลือกเมนู ลงทุน และ Wealth Plus เลือกแผนการลงทุน เมื่อวางแผนการลงทุนเสร็จสามารถเลือกเปิดบัญชีได้เลย
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
● *website : https://www.tradingwithrayner.com/
● **บทวิจัย Performance of Stop-Loss Rules VS Buy and Hold strategy : Lund University
● บลจ.กสิกรไทย