"
• ช้อปดีมีคืน ปี 2566 ใช้สิทธิในการซื้อสินค้าและบริการที่มี VAT เช่นเดียวกับ ช้อปดีมีคืนในปี 2565 โดยมี ค่าน้ำมันที่ใช้สิทธิได้เพิ่มเติม และสิทธิเพิ่มเติมอีก 10,000 บาท (รวมเป็น 40,000 บาท) ต้องมาจากใบกำกับภาษีจากอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
• ผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนกับกรมสรรพากรแล้วเท่านั้น โดยจะต้องมี ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ หรือข้อความ “เอกสารนี้ได้จัดทำ และส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” โดยไม่กำหนดช่องทางในการขอ เช่น ลงทะเบียนทางเว็ปไซต์ หรือขอผ่านเคาน์เตอร์
• Tips ใช้มาตรการช้อปดีมีคืนให้คุ้มค่า คือ ใช้ซื้อสินค้ามูลค่าสูงครั้งเดียว ครบทั้ง 40,000 บาท หรือ ใช้จากค่าใช้จ่ายที่มีในชีวิตประจำวัน ถือว่ามีส่วนลดเพิ่มจากภาษีคืน หรือ ใช้จากค่าธรรมเนียมในการออมการลงทุนในกองทุน / หุ้น / ทองคำก็ได้
"
ในช่วงปลายปี 65 ที่ผ่านมา มติคณะรัฐมนตรี ได้มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงปีใหม่ นั่นคือ ช้อปดีมีคืน มีอะไรที่ใช้สิทธิได้หรือไม่ได้ และต้องซื้อในช่วงวันที่เท่าไหร่ จะใช้ตัวเลขไหนในการลดหย่อนภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร แล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนเต็มสิทธิจะต้องทำอย่างไรบ้าง บทความนี้สรุปมาให้ดังนี้
1) เงื่อนไขของสิทธิช้อปดีมีคืน
● ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ใช้สิทธิได้บ้าง
| สินค้าและบริการที่ใช้สิทธิได้
| สินค้าและบริการที่ใช้สิทธิไม่ได้
|
ประเภทสินค้าและบริการ
| สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สินค้า OTOP
หนังสือ e-book
น้ำมันรถ*
| ค่าซื้อสุรา ยาสูบ
ค่าซื้อรถ จักรยานยนต์
ค่าสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟ Internet)
เบี้ยประกันวินาศภัย
|
จำนวนเงินที่ใช้สิทธิ
|
ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท โดย 30,000 บาท (ใช้ใบกำกับฯแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์**ก็ได้)
อีก 10,000 บาท (ใช้ใบกำกับฯแบบอิเล็กทรอนิกส์**เท่านั้น)
|
● Tips หากต้องการใช้สิทธิเต็ม 40,000 บาท จำเป็นต้องซื้อสินค้าและบริการโดยมีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 10,000 บาท หรือจะเต็ม 40,000 บาทก็ได้ ดังนั้น ต้องตรวจสอบว่าเป็นใบกำกับฯอิเล็กทรอนิกส์**โดยต้องมี 1)ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ 2)ระบุข้อความในไฟล์หรือเอกสารว่า “เอกสารนี้ได้จัดทำ และส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” โดยไม่สนใจว่าจะเป็นเอกสารในรูปแบบไฟล์หรือกระดาษ
● ค่าใช้จ่ายหมวดที่ผู้ประกอบการลงทะเบียนส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมสรรพากร จะมีผู้ประกอบการกลุ่มตกแต่งบ้าน, บริการซื้อสินค้าออนไลน์ ขนส่งพัสดุต่างๆ, ร้านอาหาร, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, เสื้อผ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ค่าน้ำมัน และ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายกองทุน / ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น Brokerage / ค่าบำเหน็จทองคำ
● หากต้องการตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดูรายชื่อได้ที่
https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/registered#top
2) ใช้สิทธิจะได้ภาษีเงินคืนเท่าไหร่
จำนวนเงินที่ใช้สิทธิเป็นราคาสินค้าและบริการที่รวม VAT แล้ว ไม่เกิน 40,000 บาท ดังนั้น จะได้ภาษีคืนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับอัตราภาษีของแต่ละผู้มีเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาท ดังตาราง
เงินได้สุทธิ
| อัตราภาษี
| เงินคืนภาษีสูงสุด
|
0-150,000
| ได้รับยกเว้นภาษี
| ไม่ได้เงินคืนภาษี
|
150,001-300,000
| 5%
| 2,000 บาท
|
300,001-500,000
| 10%
| 4,000 บาท
|
500,001-750,000
| 15%
| 6,000 บาท
|
750,001-1,000,000
| 20%
| 8,000 บาท
|
1,000,001-2,000,000
| 25%
| 10,000 บาท
|
2,000,001-5,000,000
| 30%
| 12,000 บาท
|
5,000,001 ขึ้นไป
| 35%
| 14,000 บาท
|
● Tips ใช้สิทธิช้อปดีมีคืนให้คุ้ม มองความจำเป็นในการใช้สินค้านั้นก่อน และค่อยมองภาษีคืนคือส่วนลด
3) ใช้สิทธิอย่างไรให้คุ้ม
● เหมาะกับผู้ที่มีแผนจะซื้อของชิ้นใหญ่ และผู้ขายออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก็ออกใบกำกับฯใบเดียวใช้สิทธิได้เต็มจำนวน ไม่ต้องกระจายหลายใบกำกับฯ
● เหมาะกับผู้ที่นำค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เข้าข่ายใช้สิทธิลดหย่อนช้อปดีมีคืนมาลดหย่อน เช่น ค่าอาหารนอกบ้าน ค่าตกแต่งบ้าน รวมถึง ค่าน้ำมัน ที่ใช้เดินทางไปพักผ่อนหรือหาญาติในต่างจังหวัด
● เหมาะกับผู้ที่จะออม/ลงทุน ในกองทุน / หุ้น / ทองคำ ที่มีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย นำค่าธรรมเนียมซื้อขายมาใช้สิทธิ ช้อปดีมีคืนได้ เช่น ซื้อกองทุน 1,000,000 บาท มีค่าธรรมเนียมซื้อ 1.5% คิดเป็น 15,000 บาท ก็นำค่าธรรมเนียมมาใช้ลดหย่อนได้ และยังมีเงินออม/ลงทุนได้อีกด้วย
● ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นรูปแบบขอผ่านทางเว็ปไซต์ หรือ ขอผ่านเคาน์เตอร์ของบริษัทผู้ขายสินค้าและบริการ เป็นการจัดการของแต่ละผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการต้องลงทะเบียนจะส่งข้อมูลตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรแล้วเท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร https://epay.rd.go.th ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค. 66