"
• สำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 6.4% (YoY) มากกว่าคาดที่ 6.2% (YoY) ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core CPI) เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 5.6% (YoY) มากกว่าคาดที่ 5.5% (YoY)
• CME FedWatch Tool ที่สะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed พบว่า นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเดือนมี.ค.นี้ และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือนพ.ค.
"
อัปเดตการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 สำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 6.4% (YoY) ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 6.5% (YoY) แต่มากกว่าคาดที่ 6.2% (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.5% (MoM) เป็นไปตามที่คาดไว้ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core CPI) เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 5.6% (YoY) ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 5.7% (YoY) แต่มากกว่าคาดที่ 5.5% (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.4% (MoM) เป็นไปตามที่คาดไว้
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวลงเล็กน้อยที่ -0.03% ดัชนี Dow Jones ปรับตัวลง -0.46% ส่วนดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น +0.57% ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (Bond Yield) ปรับตัวขึ้นจาก 3.711% มาปิดตลาดที่ 3.753%
สำหรับรายละเอียดดัชนีราคาผู้บริโภค เดือน ม.ค. พบว่าสินค้าประเภทพลังงานปรับตัวขึ้นด้วยอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อน (YoY) แต่กลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ซึ่งอีกปัจจัยหลักหนุนให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดการณ์มาจากสินค้าที่ราคาปรับตัวช้า (Sticky) ซึ่งราคายังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อน (YoY) แต่ยังเพิ่มขึ้นด้วยอัตราใกล้เคียงเดิมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)
ด้าน CME FedWatch Tool ที่สะท้อนถึงมุมมองของนักลงทุนต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed พบว่า นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเดือนมี.ค.นี้ และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือนพ.ค. ขณะที่การประชุมเดือนมิ.ย. นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนักว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ 5.25-5.50%
มุมมองการลงทุน
•ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังผันผวนในระยะสั้น เนื่องจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่ปรับตัวขึ้นมากกว่าคาดการณ์ อีกทั้งราคากลุ่มสินค้าที่ราคาปรับตัวช้า (Sticky) ก็ยังคงปรับตัวขึ้นด้วยอัตราใกล้เคียงกับระดับก่อนหน้านี้
•ในระยะกลางถึงยาวต้องติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่จะเปิดเผยทุกเดือน เพราะมีผลต่อการปรับทิศทางนโยบายการเงินของ Fed นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจที่เติบโตลดลงจากปีก่อนมีโอกาสสร้างแรงกดดันต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวังในการลงทุนสำหรับปี 2023
คำแนะนำการลงทุน
•ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ เช่น K-USA, K-US500X, K-USXNDQ แนะนำให้หาจังหวะขายหรือลดสัดส่วนการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวม ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุน ยังไม่แนะนำให้เข้าลงทุน
•สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจปี 2023 ที่อาจชะลอตัว แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน Healthcare ผ่าน K-GHEALTH ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ ทนทานต่อสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว
•ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนหุ้นไทย เช่น K-STAR และกองทุนหุ้นจีน เช่น K-CHX เพื่อรับอานิสงส์จากการลดมาตรการควบคุม COVID-19 ของประเทศจีน ที่หนุนการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในทั้งประเทศจีนและไทย
•สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนรวมผสมทั่วโลกผ่านกองทุน K-GINCOME-A(A) เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม
•ผู้ถือกองทุนตราสารหนี้ แนะนำถือลงทุนตามระยะเวลาที่แนะนำเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนและลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน เช่น กองทุน K-CBOND-A แนะนำถือลงทุน 1 ปีขึ้นไป กองทุน K-FIXED-A แนะนำถือลงทุน 1.5 ปีขึ้นไป
•สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการพักเงิน 3 เดือนขึ้นไป เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
•FOMC
•CNBC
•CME Group
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”