อัปเดตข่าว/สถานการณ์
Fed มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามตลาดคาด นับเป็นครั้งที่ 10 ที่ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันของวัฏจักรนี้ที่เริ่มในเดือนมี.ค.2565 ส่งผลให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 5.00% ทั้งนี้ Fed มีการยกเลิกประโยคที่เคยระบุในแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ที่ว่า "คณะกรรมการ Fed คาดการณ์ว่าการคุมเข้มนโยบายเพิ่มเติมอาจมีความเหมาะสม" เพื่อให้ Fed บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
แม้ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาด และตลาดตอบรับเชิงบวกในช่วงแรก แต่ย่อตัวลงภายหลัง จากแถลงข่าวของประธาน Fed ที่ระบุว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับที่สูงเกินไป และยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่าวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะสิ้นสุดลง โดยดัชนี Nasdaq -0.46% ดัชนี S&P 500 -0.70% และดัชนี Dow Jones -0.80% (3 พ.ค. 2566) นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed เปิดเผยในการแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า "เรายังคงมุ่งมั่นอย่างมากที่จะลดเงินเฟ้อลงสู่ระดับ 2% และเราเตรียมที่จะดำเนินการมากขึ้น หากจำเป็น" ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ นอกจากนี้ นายพาวเวลยังระบุว่า เงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายอย่างมาก และการคุมเข้มนโยบายการเงินจะต้องใช้เวลากว่าจะส่งผลกระทบอย่างเต็มที่ และเมื่อพิจารณาจากมุมมองของเราที่ว่า เงินเฟ้อจะต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะปรับลดลงนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงยังไม่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี หลังจากการประชุม Fed นั้น ตลาดกลับมาคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ย Fed ที่มากขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่า Fed Fund Rate จะปรับลงไปที่ 4.2% ณ เดือนธันวาคมนี้ ซึ่งแสดงดึงความกังวลการถดถอยทางเศรษฐกิจ
มุมมองการลงทุน
• มีการส่งสัญญาณถึงความกังวลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันเป็นผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยประกอบกับความตึงตัวในการปล่อยสินเชื่อใหม่ รวมถึงการทยอยลดงบดุลของ Fed ทำให้มองว่า Fed ต้องรักษาสมดุลระหว่างเสถียรภาพราคาและระบบการเงิน โดยคาดว่าน่าจะถึงจุดสูงสุดของวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ต่อไป
• ด้วยแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ย ประกอบการภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอถึงขั้นถดถอย ทำให้มองว่าตราสารหนี้ระยะกลางคุณภาพดีมีความน่าสนใจ เนื่องจากได้รับดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Capital Gain) จากราคาที่ปรับขึ้นได้
• ความอ่อนแอของตัวเลขเศรษฐกิจและปัญหาธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก และท้ายสุดการปรับคาดการณ์การเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและกำไรลง คาดว่าตลาดจะพักฐานเพื่อประเมินความรุนแรงของการถดถอยของเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่า Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ตลาดยังทรงตัวได้ แต่เรามองว่าค่อนข้างเป็นมุมมองบวกเกินไป (Optimism) และคาดว่าตลาดจะมีความผันผวนเมื่อปรับคาดการณ์ดังกล่าว จึงแนะนำ selective ในการลงทุนหุ้นโลก โดยเน้นภูมิภาคที่เศรษฐกิจกลับมามีแรงส่งที่ดีกว่า และนโยบายการเงินมีแนวโน้มตึงตัวลดลง เช่น จีน เอเชีย
คำแนะนำการลงทุน
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนและสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนรวมผสม ผ่านกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3 ที่มีสัดส่วนการลงทุนสินทรัพย์ในประเทศเป็นหลัก และกองทุน K-GINCOME ที่มีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนหุ้นไทย เช่น K-STAR เพื่อรับอานิสงส์จากการลดมาตรการควบคุมโควิดของประเทศจีนที่หนุนการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในไทย รวมถึงกองทุนหุ้นจีน เช่น K-CHX เพื่อรับอานิสงส์จากการเปิดเมืองของจีนและโอกาสที่ธนาคารกลางจีนใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แต่มองว่าสภาพเศรษฐกิจปี 2023 อาจชะลอตัว แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน Healthcare ผ่าน K-GHEALTH ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ ทนทานต่อสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว
• ผู้ถือกองทุนตราสารหนี้ แนะนำถือลงทุนตามระยะเวลาที่แนะนำเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนและลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน เช่น กองทุน K-CBOND-A และ K-PLAN1 แนะนำถือลงทุน 9-12 เดือน และกองทุน K-FIXED และ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุน 1 ปีขึ้นไป และกองทุน K-GB เพื่อรับอานิสงส์แนวโน้มการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการพักเงิน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”