สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น “ตราสารหนี้” สินทรัพย์ม้ามืดสำหรับปี 2566

• แม้ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมา ผลตอบแทนในภาพรวมของตลาดตราสารหนี้จะไม่ดีนัก จากผลของการเร่งปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น


• แต่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ตราสารหนี้จะเป็นสินทรัพย์ม้ามืดที่น่าจับตามองอย่างมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ตราสารหนี้ มีความน่าสนใจ เป็นที่น่าจับตามอง มี 2 เรื่องหลัก ๆ คือ



1. การปรับนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกใกล้ถึงจุดสูงสุดของวัฏจักร


บลจ.กสิกรไทย มีมุมมองว่า ในปีนี้ตราสารหนี้จะเป็นสินทรัพย์ที่กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง และจะให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ จากการที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายโลกใกล้ถึงระดับสูงสุดแล้ว และมีแนวโน้มที่จะทรงตัวก่อนจะชะลอตัวลงในปีหน้า เช่นเดียวกันกับของประเทศไทย ที่กนง.น่าจะใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน



2. ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังมีสูง


ผลจากการศึกษาของ Fed สาขา St. Louis พบว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ไตรมาส หลังจากการใช้นโยบายการเงินตึงตัว ที่จะส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเข้มงวดขึ้น ซึ่งจะกระทบการเติบโตชะลอลง และทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยTextเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ก็มีความเป็นไปได้ที่ FED จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายต่าง ๆ เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และถ้าสถานการณ์นี้เป็นจริงขึ้นมา ตราสารหนี้ก็จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่ใคร ๆ ต่างก็ให้ความสนใจกันขึ้นมาทันที และจากสถานการณ์ความผันผวนในภาคการเงินการธนาคารในต่างประเทศช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าจะอยู่ในวงจำกัด แต่ก็ทำให้การปล่อยวงเงินสินเชื่อเป็นไปอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น โดยสภาพคล่องที่กลับมาเหลือเป็นจำนวนมาก ในระยะยาวน่าจะกลับมาเป็นแรงซื้อในตลาดพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อตลาดตราสารหนี้ไทยอีกด้วย แม้ว่าตราสารหนี้ จะเป็นสินทรัพย์ที่น่าจับตามอง แต่นักลงทุนบางคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่าจะมีแนวทางการลงทุนอย่างไร เพื่อสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งการลงทุนผ่าน “กองทุนรวมตราสารหนี้” ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยบริหารพอร์ตให้ก็นับว่าน่าสนใจ



3 เทคนิค เลือกกองทุนตราสารหนี้


1. เลือกกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง


สำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล” ค่อนข้างมีความเสี่ยงต่ำ เพราะรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ และมีความมั่นคงสูง โอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้จึงมีน้อยแต่สำหรับ “หุ้นกู้” ที่ออกโดยบริษัทเอกชน ความสามารถในการชำระหนี้ย่อมมีไม่เท่ากัน ฉะนั้น การเลือกลงทุนในกองทุนรวม ที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง ก็ช่วยให้เราลงทุนได้อย่างสบายใจ


ทั้งนี้ ในช่วงที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวสูง ประกอบกับความผันผวนจากภาคธนาคารที่เพิ่มขึ้นอย่างในปัจจุบัน แนะนำลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นพันธบัตรรัฐบาล และเน้นการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี แต่ชะลอการลงทุนในตราสารหนี้ High Yield


2. เลือกประเภทกองทุนตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับนโยบายดอกเบี้ย ในแต่ละช่วงเวลา


เมื่อใดที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ “ระยะสั้น” มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เพราะตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกมาใหม่ จะอิงดอกเบี้ย ณ ช่วงเวลานั้น จึงให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้รุ่นก่อนหน้านี้ส่วนช่วงไหน ที่ดอกเบี้ยเป็นขาลง กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาว จะมีความน่าสนใจมากกว่า เนื่องจากตราสารหนี้ที่ออกมาใหม่จะให้ผลตอบแทนที่น้อยลง ตามนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นนั่นเอง


3. เลือกกองทุนตราสารหนี้ ที่มีผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ


อาจเริ่มจากการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนย้อนหลัง ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปีขึ้นไป โดยเราสามารถดูผลตอบแทนได้จากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุป (Fund Fact Sheet) จะทำให้เราเห็นภาพว่า ที่ผ่านมากองทุนดังกล่าวให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ อีกทั้งควรเปรียบเทียบกับกองทุนรวมตราสารหนี้อื่น ๆ ที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกันด้วย



คำแนะนำการลงทุน


แม้บลจ.กสิกรไทยจะคาดว่า Fed จะยังคงดอกเบี้ยในระดับสูงสุดของวัฎจักรในปีนี้ แต่การที่แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นทรงตัวและมีโอกาสลดได้ในปีหน้า ประกอบการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอถึงขึ้นถดถอยนั้น ทำให้มองว่าการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางคุณภาพดีมีความน่าสนใจ เนื่องจากได้รับดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Capital Gain) จากราคาที่ปรับขึ้นได้ ในยามที่นักลงทุนกังวลกับการชะลอตัวเศรษฐกิจและหันมา flight to quality

กองทุนตราสารหนี้แนะนำ จาก KAsset ได้แก่ กองทุน K-FIXED และ K-FIXEDPLUS


เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ที่แนะนำเราให้ลงทุนอย่างน้อย 1 ปี โดยทั้งสองกองทุนเป็นตราสารหนี้คุณภาพเครดิตดี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก การันตีทีมบริหารกองทุนได้รับรางวัลชั้นนำทั้งในไทยและสากล


ตัวอย่างทรัพย์สินที่ K-FIXED, K-FIXEDPLUS ลงทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566)


• พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (Credit rating AAA)


• หุ้นกู้ บมจ. ซีพี ออลล์ (Credit rating A+) บริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกอบธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” ในประเทศไทย และลงทุนในธุรกิจสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ


• หุ้นกู้ บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (Credit rating A) ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure)


• หุ้นกู้ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (Credit rating A+) ประกอบกิจการโทรคมนาคม ธุรกิจหลักของกลุ่มทรู ประกอบด้วย (1) ทรูมูฟ เอช ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สาย (2) ทรูออนไลน์ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบมีสาย (3) ทรูวิชั่นส์ ธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกและทีวีดิจิทัล (4) ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ธุรกิจและบริการด้านดิจิทัล


• หุ้นกู้ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (Credit rating A) ผู้นำการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีฐานการผลิตทั้งในและต่างประเทศ ประกอบธุรกิจ 4 กลุ่มหลัก 1.กลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ 2.กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม สบู่ แชมพู และเครื่องสำอาง 3.กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค 4.กลุ่มสินค้าและบริการทางการค้าปลีกสมัยใหม่ ภายใต้ชื่อ BiG C คำเตือน : ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

• KAsset