ประเด็นร้อน : ECB ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าสู้เงินเฟ้อต่อ

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขึ้นดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 22 ปี แม้ตอนนี้ภาคธุรกิจจะเริ่มมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่ ECB ยังแสดงสัญญาณชัดในการตั้งเป้าสู้เงินเฟ้อต่อเนื่อง



"

• ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.5% ในการประชุมวานนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซนเริ่มชะลอลง แต่ตัวเลขล่าสุดยังคงอยู่สูงที่ระดับ 6.1% ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา


• ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเป็น 1.09 ดอลลาร์ต่อยูโรด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในกลุ่มประเทศยูโรโซนเผชิญความผันผวน ยกตัวอย่างเช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนี อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 2.54% และต่ำสุดที่ 2.44% ก่อนปิดที่ระดับ 2.49%

"


อัปเดตข่าว/สถานการณ์


ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.5% ในการประชุมวานนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซนเริ่มชะลอลง แต่ตัวเลขล่าสุดยังคงอยู่สูงที่ระดับ 6.1% ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

โดย ECB คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2023 และปี 2024 จะอยู่ที่ 5.4% และ 3.0% ตามลำดับ พร้อมปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเล็กน้อยเป็น 0.9% และ 1.5% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว


ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเป็น 1.09 ดอลลาร์ต่อยูโรด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในกลุ่มประเทศยูโรโซนเผชิญความผันผวน ยกตัวอย่างเช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนี อายุ 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 2.54% และต่ำสุดที่ 2.44% ก่อนปิดที่ระดับ 2.49%

ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปดัชนี Stoxx50 ปิดลบ -0.25% เมื่อคืนที่ผ่านมา เนื่องจากหุ้นขนาดใหญ่ อาทิ ASML, LVMH, Hermes เผชิญแรงเทขาย


มุมมองการลงทุนโดยรวม


เรายังคงมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นยุโรป โดยหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นมานับตั้งแต่ต้นปี มาจากปัจจัย 1. ภาคการท่องเที่ยวยุโรปที่ฟื้นตัวขึ้นหลังนานาชาติยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อาทิ สินค้าแบรนด์เนม 2. การกลับมาเปิดประเทศของจีนมีแนวโน้มหนุนความต้องการสินค้าของยุโรปมากขึ้น อาทิ ยานยนต์ 3. หุ้นยุโรปที่มูลค่าถูกมีแรงกลับเข้าซื้อหลังเผชิญแรงกดดันในปีก่อนหน้า

แต่สถานการณ์สงครามในยูเครนที่ยังคงสร้างความไม่แน่นอนต่อราคาพลังงานในอนาคต ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นมาสู่ระดับ 3.5% นับเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ มีโอกาสทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจในยูโรโซนชะลอลง และหากค่าเงินยูโรแข็งค่าต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้บริษัทจดทะเบียนที่มีสัดส่วนรายได้ในต่างประเทศสูงซึ่งมีจำนวนมากในดัชนี STOXX 50

คำแนะนำการลงทุน


ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนและรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3

สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
Bloomberg

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer สุกฤษฎิ์ กิตติธนโสภณ
Back to top