ประเด็นร้อน: ตามคาด Fed ขึ้นดอก 0.25% พร้อมเปิดทางอาจขึ้นต่ออีก ก.ย. นี้

ดอกเบี้ยสหรัฐฯพุ่งสูงสุดในรอบ 22 ปี หลัง FED ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง อีก 0.25%และยังมีแนวโน้มที่จะขึ้นต่ออีกในเดือน ก.ย.

• ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ไปที่ระดับ 5.25%-5.50% ตามตลาดคาด นับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 11 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565


• Fed ยังคงท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ไม่ต่างจากการประชุมเมื่อเดือน มิ.ย. และเปิดช่องถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหากมีความจำเป็น




อัปเดตข่าว/สถานการณ์



ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ไปที่ระดับ 5.25%-5.50% ตามตลาดคาด นับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 11 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565


Fed ยังคงท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ไม่ต่างจากการประชุมเมื่อเดือน มิ.ย. และเปิดช่องถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหากมีความจำเป็น โดยนาย Powell ประธาน Fed เผยในการแถลงข่าวหลังการประชุมว่า “มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.ย. หากข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าวสนับสนุนให้ดำเนินการเช่นนั้น และในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. หากการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับจุดยืนด้านนโยบายของ Fed” ทำให้ตลาดยังไม่มั่นใจว่า Fed จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงหรือไม่ โดยมุมมองตลาดที่สะท้อนผ่าน CME FedWatch Tool ยังให้โอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ที่ 20-30%


ในแถลงการณ์ของ Fed ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยัง Resilient และไม่ได้มองว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การจ้างงานมีความแข็งแกร่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และอัตราว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านระบบธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่น ทำให้ Fed ปรับมุมมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ แต่จะเป็นการชะลอตัวมากกว่า ทำให้ Fed เน้นไปที่การลดอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายโดยไม่ทำให้สูญเสียการจ้างงานมากเกินไป



ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว


ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนระหว่างวันทำการเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นไปตามคาด ขณะเดียวกันมีแรงหนุนจากผลประกอบการบางบริษัทที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ ส่งให้ดัชนี Nasdaq -0.12% ดัชนี S&P 500 -0.02% และดัชนี Dow Jones ปรับตัวขึ้นเป็นบวกที่ +0.23%



มุมมองการลงทุนต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ


นักลงทุนในตลาดรับมุมมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง หนุนด้วยตลาดแรงงานที่ร้อนแรง อย่างไรก็ตามระดับ Valuation ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยทั้งดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ซึ่งนำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่รับกระแส AI ในทางกลับกันยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีระดับมูลค่าน่าสนใจ เช่น Health Care ซึ่งมีรายได้และกำไรสม่ำเสมอและ Online Platform ที่เริ่มฟื้นตัวอีกครั้งในปีนี้



มุมมองการลงทุนตราสารหนี้


แม้ Fed จะส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงนานจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลงมาถึงระดับค่าเฉลี่ย 2% ทำให้อาจไม่ได้รับประโยชน์จาก Capital Gain อย่างไรก็ตามด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจในการลงทุนเพื่อรับ Yield ที่ปรับตัวขึ้นสูงตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย



คำแนะนำการลงทุน


• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แต่มีความระมัดระวังทั้งความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก ทิศทางอัตราดอกเบี้ย และระดับ Valuation ที่สูงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH


• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนและรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี ส่วนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี


• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer วีรพล บางแวก
Back to top