อัปเดตข่าว/สถานการณ์
วันที่ 2 ส.ค. 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จาก 2.00% ไปที่ 2.25% เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว ป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากสภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน รักษาเงินเฟ้อในระยะยาวให้อยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน โดย กนง. มองว่ามีโอกาสที่เงินเฟ้อในระยะถัดไปยังมีความเสี่ยงด้านสูง และสร้าง Policy Space เพื่อสร้างขีดความสามารถในนโยบายการเงินรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง หากกรณีเศรษฐกิจชะลอตัวและจำเป็นต้องใช้เครื่องมือด้านนโยบายการเงินในส่วนของการลดอัตราดอกเบี้ย
นัยยะจากการประชุม กนง. ครั้งนี้
เอกสารแถลงผลการประชุม กนง. ได้มีการตัดประโยค “การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ” ออกไป และเน้นในเรื่องของการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก นับเป็นครั้งแรกที่ กนง. ส่งสัญญาณว่าใกล้จบรอบวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว
ขณะเดียวกัน กนง. มองว่า “เศรษฐกิจไทยกาลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ” ซึ่งแตกต่างและแนวโน้มเชิงบวกลดลงจากประชุมครั้งก่อนที่ระบุว่า “เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้”
นอกจากนี้ กนง. มีความกังวลในคุณภาพสินเชื่ออาจด้อยลง จากความสามารถในการชาระหนี้ของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า โดยได้ตัดข้อความ “ความสามารถในการชาระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” ที่มีอยู่ในการแถลงการประชุมครั้งก่อนออกไป
ด้านเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งตามเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวได้ช้า แต่คาดว่าจะปรับดีขึ้นในระยะข้างหน้าสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ทั้งจากภาคการส่งออกสินค้าที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด รวมถึงสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ในแง่อัตราเงินเฟ้อพบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงจากราคาในหมวดพลังงาน มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า แต่ประเมินว่าจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงแต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต โดยมีความเสี่ยงด้านสูงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับเพิ่มขึ้นหากปรากฎการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเล็กน้อยโดยยังคงเป็นประเด็นการเมืองที่มีอิทธิพลต่อ sentiment นักลงทุนในตลาดหุ้น ดัชนี SET ปรับตัวลงในวันที่ 2 ส.ค. 2566 ที่ -0.37% และเปิดตลาดในแดนลบต่อในวันที่ 3 ส.ค. 2566 ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ในวันที่ 2 ส.ค. อยู่ที่ระดับ 2.60% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับวันที่ 31 ก.ค. สะท้อนการรับข่าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว
มุมมองการลงทุนตราสารหนี้ไทย
ยังคงมีมุมมอง Positive ต่อตราสารหนี้ไทย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายโลกและไทยใกล้ถึงระดับสูงสุดของวัฏจักรแล้ว แม้ Fed จำเป็นต้องคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง แต่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้น่าจะจำกัดมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน ตามการปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย
คำแนะนำการลงทุน
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนและรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี ส่วนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”