อัปเดตข่าว/สถานการณ์
หลังการประชุมประจำปีที่ Jackson hole นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed กล่าวว่า "แม้ว่าเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุด ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ดี แต่ก็ยังคงอยู่สูงเกินไป โดยเราเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหากมีความเหมาะสมและจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง จนกว่าเรามีความมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงอย่างยั่งยืนไปสู่เป้าหมายที่เรากำหนดไว้"
แต่ประธาน Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด ระบุเพียงว่าในการประชุมเดือน ก.ย. Fed จะตัดสินใจอย่างระมัดระวังว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หรือจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง โดยยังต้องติดตามข้อมูลเศรษฐกิจต่อไป
ในการประชุม ประธานธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลกเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ แม้อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน
นักลงทุนมองมีโอกาสสูงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.
CME FedWatch Tool ซึ่งสะท้อนมุมมองการปรับอัตราดอกเบี้ยของนักลงทุน ชี้ว่านักลงทุนมอง Fed มีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ที่ 80.5% ส่วนการประชุมเดือน พ.ย. นักลงทุนมองว่า Fed มีโอกาส 49.0% ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ระดับ 5.50-5.75% และมีโอกาส 9.4% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ 5.75-6.00%
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอบรับในเชิงบวกหลังการประชุมดังกล่าว โดยปิดวันทำการที่ 29 ส.ค. 66 ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 0.63% ดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 0.84% และดัชนี Dow Jones ปรับตัวขึ้น 0.62% ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลงเล็กน้อยมาที่ระดับ 4.189%
มุมมองและคำแนะนำการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ในระยะสั้นด้วยท่าทีของประธาน Fed ที่อาจปรับขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง รวมถึงการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยลดลง อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ที่ปรับตัวลงช้ากว่าที่คาดกันไว้ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง สร้างความไม่แน่นอนต่อทั้งทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยแนะนำลงทุนในบริษัทกลุ่ม Healthcare ที่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
คำแนะนำการลงทุน
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ซึ่งลงทุนในบริษัท Healthcare ซึ่งทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
o ต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เน้นการลงทุนสินทรัพย์ประเทศไทย และรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น
o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o แต่หากต้องการลงทุนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น
และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”