อัปเดตข่าว/สถานการณ์
Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.25 – 5.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ส่งผลให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 5.25% นับตั้งแต่เริ่มวัฏจักรปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. 2565 ขณะเดียวกันจะยังคงแผนปรับลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ไว้เช่นเดิม
แถลงการณ์ของ Fed มองกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น
ถ้อยแถลงหลังการประชุม Fed ได้ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น (expanding at a solid pace จากเดิมใช้คาว่า “moderate”) ขณะที่มองการจ้างงานยังคงมีความแข็งแกร่งแม้จะชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา (“have slowed in recent months but remain strong” จากเดิมใช้คาว่า “robust”) และอัตราว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่า ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวขึ้น
โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ Fed มีคาดการณ์ดังนี้
- ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP สู่ระดับ 2.1% ในปีนี้ (จากเดิมคาดการณ์ที่ 1.0%) และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.5% ในปี 2567 และเท่ากันที่ 1.8% ในปี 2568 และ 2569 ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 1.8%
- ปรับลดคาดการณ์อัตราว่างงานสู่ระดับ 3.8% ในปีนี้ และอยู่ที่ 4.1% ทั้งในปี 2567 และ 2568 ส่วนในปี 2569 อยู่ที่ระดับ 4.0% ขณะที่อัตราว่างงานระยะยาวอยู่ที่ 4.0%
- คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 3.7% ในปีนี้ และอยู่ที่ 2.6% ในปี 2567 และ 2.3% ในปี 2568 ส่วนในปี 2569 อยู่ที่ระดับ 2.0%
Dot plot ล่าสุดบ่งชี้ Fed อาจปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 1 ครั้ง ในปีนี้
คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการ Fed (Dot Plot) ล่าสุด มีการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้ และส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง สู่ระดับ 5.1% ในช่วงสิ้นปี 2567 ก่อนที่จะลดลงสู่ระดับ 3.9% และ 2.9% ในช่วงสิ้นปี 2558 และ 2569 ตามลำดับ พร้อมทั้งคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ระดับ 2.5%
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
แม้ Fed จะคงดอกเบี้ยตามคาด และคาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น แต่ตลาดกังวลต่อการที่ Fed ยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ โดยดัชนี Nasdaq ปรับตัวลงเทียบกับวันก่อนหน้า -1.53% ดัชนี S&P 500 -0.94% และ ดัชนี Dow Jones -0.22% (20 ก.ย. 2566)
Fed Fund Futures จาก CME FedWatch Tool สะท้อนว่านักลงทุนคาดมีความเป็นไปได้ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25 – 5.50% ในการประชุมเดือน พ.ย. นี้ ที่ 71.6% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปที่ระดับ 5.50 – 5.75% ประมาณ 28.4%
มุมมองและคำแนะนำการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ
นักลงทุนยังคาดว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมเดือน พ.ย. นี้ หลังทั้งตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง แต่จากถ้อยแถลงและ Dot Plot ยังสะท้อนว่ามีโอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อยู่ ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่งมากพอรับกับสภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงในปัจจุบันได้ แต่ในอนาคตยังต้องติดตามผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้อย่างรวดเร็วและคงไว้ในระดับสูงต่อสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจึงมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนในสหรัฐฯ
คำแนะนำการลงทุน
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ซึ่งลงทุนในบริษัท Healthcare ซึ่งทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
o ต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เน้นการลงทุนสินทรัพย์ประเทศไทย และรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น
o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o แต่หากต้องการลงทุนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”