GDP จีน ไตรมาส 3/2566 ขยายตัวแกร่งกว่าคาด
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผยตัวเลข GDP ไตรมาส 3/2566 ขยายตัว 4.9% (YoY) เพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.6% (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า GDP ขยายตัว 1.3% (QoQ) เพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.9% (QoQ) โดยเป็นผลจากที่รัฐบาลจีนใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ช่วยให้เศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพ ทำให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของปีนี้ได้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ เดือน ก.ย. แข็งแกร่งไม่แพ้กัน
• ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เพิ่มขึ้น 4.5% (YoY) มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.3% (YoY)
• ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ปรับตัวขึ้น 5.5% (YoY) สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.9% (YoY)
• การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 3.1% (YoY) ต่ำกว่าคาดการณ์เพียงเล็กน้อยที่ 3.2% (YoY) แต่โดยรวมยังอยู่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว
• ภาคอสังหาฯ ยังซบเซา ตัวเลขการลงทุนอสังหาฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ลดลง 9.1% (YoY) อย่างไรก็ตามนักลงทุนรับข่าวความกังวลในภาคอสังหาฯ ไปแล้วตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา
• อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ลดลงมาที่ 5% จากเดือน ส.ค. ที่ 5.2%
มุมมองเศรษฐกิจจีน
ตัวเลข GDP และตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังต้องติดตามภาคอสังหาฯ ที่สะท้อนผ่านการลงทุนภาคอสังหาฯ ซึ่งยังหดตัว อย่างไรก็ตามตลอดไตรมาส 3 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนทยอยออกมาตรการเพื่อหนุนเศรษฐกิจมากขึ้น
ล่าสุดธนาคารกลางจีนแม้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ไว้ตามคาดที่ 2.5% แต่ได้เพิ่มสภาพคล่องเข้าระบบเพิ่มเติมเป็นเงินสูงถึง 2.89 แสนล้านหยวน สูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2020 สะท้อนว่าทางการจีนมีความพยายามหนุนเศรษฐกิจและควบคุมความเสี่ยงให้จำกัดวงไม่ลุกลามไปทั่วระบบเศรษฐกิจ
มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นจีน
เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งทางการจีนทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนการปรับลดคาดการณ์กำไรบริษัทในตลาดหุ้นจีนเริ่มชะลอลง ประกอบกับระดับ Valuation (อัตราส่วน P/E) ลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต จึงมี Downside risk ต่ำลง และได้รับข่าวความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ไปบางส่วนแล้ว
อย่างไรก็ตาม K WEALTH ยังคงติตตามสถานการณ์ภาคอสังหาฯ จีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ไม่เกิดการลุกลามหรือมีปัญหาใหญ่ แต่ก็ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจจีนไปได้อีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนยังเน้นนโยบายแบบสมดุล จึงทำให้เศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ทยอยฟื้นตัวตามลำดับ K WEALTH จึงยังคงมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นจีน
คำแนะนำการลงทุน
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o สำหรับนักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นจีน แนะนำถือเพื่อรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนการลงทุน แนะนำรอประเมินสถานการณ์มาตรการกระตุ้นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
o หากมองหาโอกาสการลงทุนในประเทศเวียดนาม ที่กำลังเติบโตด้วยเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM
o ต้องการกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เน้นการลงทุนสินทรัพย์ประเทศไทย และรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น
o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o แต่หากต้องการลงทุนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น
และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”