ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนแรงตั้งแต่ต้นปี ที่ปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นจากความคาดหวังของ Trend AI ปรับตัวลงแรงหลังผลประกอบการไตรมาส 2 ของหลายบริษัท ฯ เทคยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ออกมาน่าผิดหวัง แต่หลังจากที่ Fed มีการลดดอกเบี้ยในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาก็ส่งให้ตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ทำให้หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่าตลาดจะไปต่อได้อีกด้วยปัจจัยอะไรนอกจากการลดดอกเบี้ย ดังนั้นในบทความนี้จึงพาอยากพาทุกท่านไปดูแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ที่อาจจะเป็นอีกปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้
แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3 และปี 2025
อ้างอิงข้อมูลจาก Factset ช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมาเห็นการเติบโตในเชิง YoY ของหุ้นใน S&P 500 และนักวิเคราะห์ยังคงคาดกำไรไตรมาส 3 ของหุ้นใน S&P 500 จะยังเติบโตต่อเนื่องในระดับ 4.6% YoY และจะเติบโตแข็งแกร่งในระดับ 15.0% YoY ในไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ทั้งปี คาดการณ์กำไรของปี 2024 มีแนวโน้มเติบโตระดับ 10% และสำหรับปี 2025 นักวิเคราะห์คาดหวังกำไรสูงถึง 15.2% YoY ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะส่งผลบวกโดยตรงกับแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน
แม้ว่าอัตราส่วน Forward P/E ดัชนี S&P 500 ปัจจุบันที่ 21.4 เท่า จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ 19.5 เท่า มูลค่าการซื้อขายนี้อาจสะท้อนความมั่นใจด้านการเติบโตของกำไรและนักลงทุนยินยอมที่จะจ่าย premium ในส่วนของแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีการคาดการณ์ราคาเป้าหมายโดยนักวิเคราะห์ว่าดัชนี S&P 500 ในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ 6,280.17 จุด สูงกว่าปัจจุบัน (กันยายน 67) ที่ 5,713.64 จุดอยู่ราว 10% หนุนโดยกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยี และ Communication Services ประมาณการนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์อยู่ในตลาดมาอย่างยาวนาน
ทำไมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถึงน่าสนใจในระยะยาว
ภาพในปี 2024 ที่ผ่านมาอาจจะเป็นภาพที่แตกต่างจากปี 2023 ทบทวนกันเร็ว ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2023 คือผลประกอบการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเติบโต เพียงแต่เป็นไปตามคาด ทำให้ไม่มีปัจจัยหนุนใหม่เข้ามา ตลาดจึงให้ความสนใจกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น จึงเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ภาพในปี 2024 คือกระแส AI โดยเฉพาะ Generative AI (GenAI) อย่าง ChatGPT ที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากทั่วโลก ส่งผลดีไปถึงอุตสาหกรรมชิปที่ต้องใช้เพื่อประมวลผล AI นอกจากนั้น AI ยังถูกนำไปใช้เป็นเบื้องหลังอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ลดต้นทุนการใช้แรงงานหลายตำแหน่งในบริษัทและโรงงาน ปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้นและเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทำให้ตลาดคาดการณ์ถึงการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่อยู่ในระดับสูงในช่วงปีที่ผ่านมา แม้จะมี noise เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่เรียกกันว่าเป็นเหตุการณ์ Black Monday ตัวเลขตลาดแรงงานที่ทำให้ตลาดกลับมามีความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผลประกอบการของหุ้นกลุ่ม Tech หลายตัวที่ออกมาน่าผิดหวัง แต่เวลาผ่านไปมีปัจจัยบวกเข้ามาไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐส่วนใหญ่ทีแสดงให้เห็นถึงโอกาสการเกิด recession ที่ค่อนข้างน้อย กอปรกับการลดดอกเบี้ยของ Fed เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ตลาด S&P 500 ฟื้นตัวกลับมาทำ All Time High อีกครั้ง จะเห็นว่าและตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ในระยะสั้นมีความผันผวนจากหลากหลายปัจจัย แต่ก็ยังเดินหน้าปรับตัวขึ้นมาถึงทุกวันนี้ ทำให้เห็นว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความน่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ดังนั้นหากสหรัฐฯ ผ่านพ้นแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงแล้ว หากตลาดหุ้นปรับตัวลงมาอาจเป็นโอกาสในการทยอยสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาวในสหรัฐฯ
KUS500XRMF และ KUSXNDQRMF กองทุนตอบโจทย์ลงทุนสหรัฐฯ เพื่อการลงทุนระยะยาว
ช่วงนี้เป็นฤดูกาลซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ซึ่งกองทุน RMF เป็นกองทุนที่มีเงื่อนไขลงทุนระยะยาว สหรัฐฯ จึงอาจตอบโจทย์เรื่องนี้ให้ทุกคนได้ด้วยกองทุน KUS500XRMF และ KUSXNDQRMF
กองทุน KUS500XRMF และ KUSXNDQRMF เป็นกองทุนที่มีความแตกต่างกันที่ดัชนีที่ไปลงทุน ที่เป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน อย่างกองทุน KUS500XRMF ลงทุนในกองทุนหลัก iShares Core S&P 500 ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE Arca) มีนโยบายลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา หมายความถึงความเสี่ยงที่จะมีความผันผวนที่ต่ำกว่าหากเทียบกับกองทุน KUSXNDQRMF ที่ลงทุนในกองทุนหลัก Invesco NASDAQ 100 ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq และมีนโยบายลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Nasdaq-100 (ดัชนีอ้างอิง) ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการเงิน และมีมูลค่าตามราคาตลาดสูงสุดจำนวน 100 บริษัท ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ หมายความถึงความเสี่ยงที่อาจสูงกว่า
ความเหมือนกันของทั้ง 2 กองทุนคือกองทุนหลักลงทุนแบบ Passive คือพยายามสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีทั้ง S&P500 และ NASDAQ ซึ่งมีการเติบโตที่ดีในระยะยาว
กองทุน KUS500XRMF มีหุ้น Top 5 ที่เข้าไปลงทุนคือ Microsoft, NVIDIA, Amazon, Meta, Mastercard และกอง KUSXNDQRMF ตัวอย่างหุ้น Top 5 ที่กองทุนเข้าไปลงทุน เช่น Apple, NVIDIA, Microsoft, Broadcom, Amazon จะเห็นว่ามีความคล้ายกันบางส่วนแต่ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด
ถ้าหากใครสนใจโอกาสลดหย่อนภาษีไปพร้อมกับการลงทุนระยะยาว อย่าลืมลองมาดูกองทุน KUS500XRMF หรือ KUSXNDQRMF ตามความเหมาะสมในการลดหย่อนภาษีและความเสี่ยงที่รับได้ และยังมีกองทุน K-USA ที่เป็นกองทุนรวมสำหรับนักลงทุนที่สนใจการลงทุนหุ้นเติบโตสหรัฐฯ