โลกยุคแบ่งขั้วอำนาจ จุดเริ่มต้นการย้ายฐานผลิต
การแบ่งขั้วอำนาจมีรากฐานตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคที่สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตกลายเป็นขั้วอำนาจสองแห่งที่แข่งขันกันทั้งทางทหาร, การเศรษฐกิจ, และการเทคโนโลยี ก่อนที่โลกจะเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์เชื่อมโยงกันโดยไร้รอยต่อ จากนั้นจีนได้ก้าวขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจท้าทายขั้วเก่าอย่างสหรัฐฯ จนในที่สุดโลกก็เข้าสู่ยุคที่แบ่งขั้วอำนาจกันอีกรอบ
เมื่อเดือน เม.ย. 2022 นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีคลัง สหรัฐฯ ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยเรื่องการค้าเสรีและความมั่นคงโดยมีนัยยะถึงการย้ายฐานการผลิต (friend-shoring of supply chains) ไปยังประเทศที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ลดความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กับประเทศหุ้นส่วนการค้าลงได้
ในแง่นี้หมายถึงลดการพึ่งพาฐานการผลิตนจีนลง ซึ่งประเทศที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ก็หนีไม่พ้นประเทศพันธมิตรสหรัฐฯ เช่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย บราซิล ญี่ปุ่น และที่สำคัญก็คือ เวียดนาม
เวียดนามประเทศรับประโยชน์จากการย้ายฐานผลิตรอบนี้
เมื่อต้องหาประเทศทดแทนฐานการผลิตในจีน เวียดนามน่าจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ด้วยที่ตั้งแทบไม่ต้องขยับไปไหนไกล เส้นทางเดินเรือส่งออกสินค้าจึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงให้เสียเวลา ส่วนเรื่องแรงงานก็ไม่มีปัญหาทั้งในแง่อายุประชากรวัยทำงานที่ใช้คำว่ายังเหลือเฟือกับการเติบโตของอุตสาหกรรม ขณะที่ค่าแรงยังต่ำกว่าประเทศอื่น ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
การย้ายฐานผลิตมีอีกเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเวียดนามไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ปัจจุบันเวียดนามลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับต่างประเทศรวมแล้ว 16 ฉบับ รวมถึง CPTPP ที่ขยายขอบเขตการค้าเสรีครอบคลุมประเทศขนาดใหญ่ทั่วโลก
การย้ายฐานผลิตเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาระยะยาว แต่กำลังเกิดขึ้นแล้ว และจะดำเนินต่อไปในแบบที่คงไม่ย้อนกลับแล้ว
ทำไมถึงควรลงทุนเวียดนามผ่านกองทุน
ต้องยอมรับว่าการลงทุนหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจในระยะยาว ด้วยเทรนด์การเติบโตของเศรษฐกิจ การย้ายฐานการผลิต โครงสร้างประชากรที่เอื้ออำนวย แต่ขั้นตอนการลงทุนโดยตรงยังมีความยากลำบากทั้งในแง่แพลตฟอร์มซื้อขายที่ยังไม่แพร่หลาย ขั้นตอนการโอนเงินระหว่างประเทศที่ซับซ้อน รวมถึงการหาข้อมูลบริษัทที่ค่อนข้างยาก
กองทุนรวมที่บริหารโดย บลจ. มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่าทั้งจากบริษัทโดยตรงและบทวิเคราะห์จากสถาบันการเงินท้องถิ่น มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลข้อมูลเหล่านี้ และรวมทั้งจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำที่ไม่สูง อยู่ในระดับที่เปิดให้นักลงทุนทุกคนเข้าถึงการลงทุนหุ้นเวียดนามได้ง่ายมาก
สถานการณ์ตลาดหุ้นเวียดนามในตอนนี้น่าลงทุนหรือไม่?
ปัญหาอสังหาฯ เริ่มคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลออกกฎหมายบรรเทาความเสี่ยงการผิดชำระหนี้โดยยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ลดความเข้มงวดการออกตราสารหนี้ชุดใหม่เพื่อให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น ด้าน NPL Ratio รวมยังต่ำกว่า 3% ที่กำหนดโดยธนาคารกลางเวียดนาม
ระยะสั้นตลาดยังผันผวนหลังปรับตัวขึ้นมาก่อนหน้านี้รับความคาดหวังเศรษฐกิจฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี 2023 แต่คาดว่ารัฐบาลเวียดนามยังคงใช้มาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง หลังคาดว่าปี 2023 เศรษฐกิจจะโตต่ำกว่าเป้า 6-6.5% ที่ตั้งไว้ รวมถึงนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา
คำแนะนำการลงทุนตลาดหุ้นเวียดนาม
ในแง่มูลค่าตลาดหุ้นเวียดนามมีระดับ P/E Ratio อยู่ที่ 14.62 เท่า (ณ วันที่ 20 พ.ย. 2023) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ 17.85 เท่า ขณะที่กำไรต่อหุ้นยังเติบโตเด่นกว่าตลาดหุ้นประเทศอื่น จึงตอบได้ว่าตลาดหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองลงทุนระยะยาว
K WEALTH มีมุมมอง Slightly Positive ต่อการลงทุนตลาดหุ้นเวียดนาม โดยแนะนำให้มีสัดส่วนลงทุนไม่เกิน 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด ผ่านกองทุน K-VIETNAM
• สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม แนะนำทยอยสะสม
• สำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม แนะนำถือลงทุนต่อหรือทยอยสะสม
ช่วงนี้ใกล้สิ้นปีแล้ว สำหรับใครที่กำลังหากองทุนลดหย่อนภาษีที่ได้ลงทุนระยะยาวกับตลาดหุ้นเวียดนาม อย่าลืมกองทุน K-VIETNAM-SSF และ KVIETNAMRMF จาก บลจ. กสิกรไทย และที่สำคัญไม่ว่าการลงทุนจะน่าสนใจแค่ไหนก็ตาม นักลงทุนควรจัดสัดส่วนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้