เปิดโพยลดหย่อนภาษี เลือกอะไรบ้างถึงจะคุ้ม

ใกล้ถึงสิ้นปี หลายคนคงเริ่มวางแผนการยื่นภาษีกันแล้ว หนึ่งในวิธีที่จะช่วยประหยัดภาษีได้คือ การลดหย่อนภาษี ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและบิดามารดา การลงทุนเพื่อการออม เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น บทคว

• การเลือกผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี ควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ ระดับความเสี่ยงที่รับได้ ระยะเวลาในการลงทุน เป้าหมายในอนาคต


• กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีตัวใหม่ที่เพิ่งออกในปี 2566 โดยสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท แยกต่างหากจากกองทุนประเภท SSF/RMF




ใกล้ถึงสิ้นปี หลายคนคงเริ่มวางแผนการยื่นภาษีกันแล้ว ซึ่งนอกจากการใช้ค่าลดหย่อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและบิดามารดา ยังสามารถใช้เงินลงทุนในกองทุนรวมและค่าเบี้ยประกันชีวิตมาเป็นค่าลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม SSF หรือ RMF โดยเฉพาะในปีนี้ มีกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) มาเป็นค่าลดหย่อนตัวใหม่ ที่ให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท แยกต่างหากจากกองทุนประเภท SSF/RMF ซึ่งกองทุนรวม TESG นี้ เน้นลงทุนในหุ้น ESG ไทย และ/หรือตราสารหนี้ ESG ไทย ของบริษัทที่เน้นเรื่องความยั่งยืน


ก่อนจะไปดูว่าโพยผลิตภัณฑ์แนะนำในปีนี้เป็นอย่างไร ขอแนะนำเคล็ดลับเบื้องต้นในการเลือกผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น กองทุนรวมหรือประกันที่เหมาะสม โดยอาจพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น


• วัตถุประสงค์ เช่น ความต้องการด้านความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ การลงทุนเพื่อการออม การวางแผนเกษียณ

• ระดับความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากรับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนในกองทุนหุ้น หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมผสม หรือถ้ารับความเสี่ยงไม่ได้เลย แบบประกันชีวิตและสุขภาพก็สามารถตอบโจทย์ได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขระบุชัดเจนในสัญญากรมธรรม์

• ระยะเวลาและเงื่อนไขการลงทุนต่อเนื่อง เช่น หากต้องการความยืดหยุ่นเลือกใช้สิทธิลดหย่อนในบางปี อาจเลือกเป็นกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือหากต้องการลงทุนต่อเนื่อง อาจเลือกเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นต้น


สำหรับการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีในสิ้นปีนี้ เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดแล้ว และตลาดมองว่า มีโอกาสที่ Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า ทำให้ทั้งตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัว และตลาดพันธบัตรมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น จึงเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน ทั้งกองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมหุ้น เนื่องจากมีโอกาสรับผลตอบแทนสูงในระยะยาวและได้ทั้งเงินคืนภาษี



กองทุนลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจในปี 2566

สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีในปี 2566 มีหลายกองทุนที่น่าสนใจ ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่รับได้และเป้าหมายการลงทุน เช่น


กลุ่มความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ

• กองทุนรวมตราสารหนี้ จังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าลงทุน จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักทั่วโลกเข้าสู่ระดับสูงสุดของวัฎจักร ส่งผลให้กองทุนรวมตราสารหนี้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยสูง และกองทุนรวมตราสารหนี้ยังเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสููง ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย


กองทุนแนะนำ

o ตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ K-SF-SSF, KSFRMF

o ตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว ได้แก่ FIXEDPLUS-SSF, KFIRMF

o ตราสารหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ KGBRMF


กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง

• กองทุนรวมผสม สำหรับผู้ที่พอรับความเสี่ยงได้บ้าง และอยากได้กองทุนที่มีครบทั้งตราสารหนี้ และหุ้น ในจังหวะนี้ที่เป็นโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 2ประเภท จากสัญญาณใกล้สิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น


กองทุนแนะนำ: K-GINCOME-SSF, KGINCOMERMF, WPBALANCEDRMF, WPULTIMATERMF


กลุ่มความเสี่ยงสูง

• กองทุนหุ้นไทย ในปีนี้ดัชนีหุ้นไทยย่อตัวลงมาทำให้ระดับราคามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น แม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากการค้าโลกที่ชะลอลง และภาคการท่องเที่ยวที่ยังโตต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ การที่ระดับดัชนีย่อลงมาจึงมองเป็นโอกาสในการลงทุน


กองทุนแนะนำ: K-TNZ-ThaiESG, K-STAR-SSF, KSTARRMF, KS50RMF .


• กองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากต้องลงทุนในระยะยาวจึงมีโอกาสที่พอร์ตการลงทุนจะเติบโตได้สูง นอกจากนี้คาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังมีโอกาสเติบโตได้ดีในปี 2567 จึงเป็นโอกาสดีในการสะสมหุ้นสหรัฐฯ


กองทุนแนะนำ: K-USA-SSF, KUSARMF


• กองทุนตามธีมการลงทุน เช่น กลุ่ม Global Sustainable Fund ที่มีขนาดมูลค่าที่เติบโตกว่า 56% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากการตื่นตัวของกระแสรักษ์โลก ทำให้ธุรกิจที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนบคิด ESG จึงยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก


กองทุนแนะนำ: K-CHANGE-SSF, KCHANGERMF, KPLANETRMF


• กองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยี เทคโนโลยียังคงเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต


กองทุนแนะนำ: KGTECHRMF



แบบประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจในปี 2566

แบบประกันที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้หลายรูปแบบ โดยสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพรวมกัน 100,000 บาท และเบี้ยประกันแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 200,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น


• แบบประกันสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิต และได้ผลตอบแทนที่แน่นอน แบบประกันสะสมทรัพย์ เป็นแบบประกันที่ได้รับความนิยม เนื่องจาก มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกัน ระยะเวลาคุ้มครองชีวิต การรับเงินคืนตามสัญญา และมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามเป้าหมายทางการเงินในอนาคต เช่น ระยะเวลาจ่ายเบี้ยสั้น คุ้มครอง 10 - 20 ปี การรับเงินคืนระหว่างสัญญาเป็นงวด หรือรับครั้งเดียวเมื่อครบสัญญา


แบบประกันแนะนำ: ประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3, ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ 315 มีเงินปันผล (Global)


• แบบประกันชีวิตตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหลักประกันให้กับครอบครัว ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกชำระเบี้ยได้หลายรูปแบบ เช่น ชำระเบี้ยระยะสั้น หรือ ชำระเบี้ยประกันเป็นงวดๆ ต่อเนื่องจนครบกำหนดสัญญา สำหรับรูปแบบความคุ้มครองของแบบประกันชีวิตตลอดชีพ จะจ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนครบกำหนดสัญญา แต่หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา จะได้รับเงินคืนตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์


แบบประกันแนะนำ: ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5, 99/9, 99/19


• แบบประกันบำนาญ (Annuity) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินหลังเกษียณหรือแหล่งรายได้หลังเกษียณที่แน่นอน โดยผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกชำระเบี้ยได้หลายรูปแบบ เช่น จ่ายเบี้ย 5-20ปี หรือ จ่ายเบี้ยจนถึงอายุ 60 เมื่อมีอายุถึงกำหนดเงื่อนไขตามสัญญา จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายงวด ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์


แบบประกันแนะนำ: A85/5 ประกันชีวิตเพื่อบำนาญแบบลดหย่อนได้


• แบบประกันสุขภาพ (Health Insurance) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหลักประกันด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ โดยปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลปรับตัวสูงขึ้นมาก การประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ การชำระเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องชำระเบี้ยประกันเป็นงวดๆ อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนดสัญญา โดยเบี้ยประกันสุขภาพจะปรับเพิ่มสูงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับการชำระเบี้ยประกันในช่วงหลังการเกษียณอายุไว้ด้วย เพื่อให้มีความคุ้มครองสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง


แบบประกันแนะนำ: Elite Health Plus, D Health Plus



คำแนะนำเพิ่มเติม

• ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน

• กระจายความเสี่ยงการลงทุน โดยลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์

• หากรับความเสี่ยงได้น้อย แบบประกันลดหย่อนภาษีเป็นอีกทางเลือกที่ได้ทั้งความคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนที่แน่นอนตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์



.

คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®
Back to top