โบนัสออกแล้ว เอาเงินไปทำอะไรดี!

โบนัส(ใกล้)ออกแล้ว จะนำเงินก้อนไปทำอะไรให้คุ้มค่ากับเรามากที่สุด

โบนัสออกแล้ว เอาเงินไปทำอะไรดี!

• การได้โบนัส ถือเป็นเรื่องพิเศษ แต่การเก็บให้โบนัสอยู่กับตัว หรือ ใช้ประโยชน์ได้ เป็นเรื่องไม่ง่าย


• เงินโบนัสได้มาปีละครั้ง โดยจัดสรรให้ตัวเอง หรือเปย์ให้คนที่รักอย่างคุ้มค่า ดีกว่าปล่อยให้เงินหมดไปโดยไม่จัดการ ทำให้ต้องทนเสียใจ และรอลุ้นโบนัสก้อนใหม่ไปอีก 1 ปี




เพิ่งได้รับเงินโบนัสมา หลายๆคน อาจจะมีแผนในการใช้เงินก้อนนี้แล้ว แต่อีกหลายคน ยังไม่รู้ว่าจะใช้เงินก้อนนี้กับเรื่องอะไร ซึ่งถ้าลืมจัดการก็ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย วันนี้ ลองมาดูวิธีจัดการเงินให้คุ้มค่า บทความนี้ลองรวบรวมทางเลือกในการตัดสินใจเปย์เงินโบนัสเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด



4 วิธีเปย์เงินโบนัสให้คุ้มค่า


1.เปย์ให้ตัวเอง หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้เงินโบนัสมาก็เปย์ให้ตัวเองก่อนเพื่อเป็นกำลังใจหรือให้รางวัลตนเอง เช่น สิ่งของที่อยากได้ เสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง แต่จะแค่เปย์อย่างเดียวก็จะดูจะไม่คุ้มค่า ลองดูว่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ได้ Point เยอะ ก็คืออีกความคุ้มค่า เช่น บัตรเครดิตกสิกรไทย Passion ที่ได้ Point X2 สำหรับค่าใช้จ่ายทุกๆ 25 บาท นอกจาก Point ที่ได้มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าเงินโบนัสระหว่างรอเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากบิลบัตรเครดิต สูงสุด 45 วัน ด้วยการกันเงินตามมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อในเงินฝาก K-eSavings ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์ 5 เท่า หรือกองทุนพักเงิน เช่น กองทุน K-SF-A(A) ซึ่งการเปย์ให้ตัวเองถึงจะเป็นการให้รางวัลตนเอง ก็ไม่ควรเกิน 20% ของโบนัส เพื่อแบ่งไปใช้ประโยชน์เรื่องอื่นบ้าง


2.เตรียมไว้เปย์ค่าใช้จ่าย Extra ที่รู้ ระหว่างปี ไม่ว่าจะเป็น ค่าเทอมลูก ค่าส่วนกลางคอนโด เบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ เป็นการกันค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วง 1 ปี ก่อนที่จะได้รอลุ้นรับโบนัสปีหน้า และไม่ถอนออกไปเปย์เรื่องอื่นโดยไม่จำเป็น แนะนำให้พักเงินใน กองทุน K-SF-A(A) มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ถอนเงินได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการ หรือ กองทุน Term Fund ที่มีอายุ 6-12 เดือน เพื่อให้เงินก้อนนี้ยังสำรองอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อเตรียมเปย์ค่าใช้จ่าย Extra


3.เลือกเปย์ทั้งทีให้ได้ 2 เด้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีด้วย มี 2 หลักการด้วยกัน เช่น

3.1 เปย์ให้คนที่รัก ไม่ได้หมายถึงการซื้อของให้คนที่รักอย่างกระเป๋า หรือ รองเท้าแบรนด์เนมเท่านั้น แต่อยากให้เงินโบนัสสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับคนในครอบครัว ด้วยการเปย์ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต / สุขภาพ เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินกับครอบครัว และยังได้ลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันที่ชำระอีกด้วย

3.2 เก็บไว้เปย์หลังเกษียณ ได้เด้งสองเป็นโบนัสพิเศษด้วยเงินคืนภาษี เป็นการเปย์เงินสำหรับการเกษียณให้กับ กองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง กองทุน RMF หรือ ประกันบำนาญ ก็มีเงื่อนไขในการขาย หลังอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี (นับวันชนวัน) ซึ่งจะทำให้เหมาะกับลักษณะของลูกค้าและการใช้เงินเมื่อเกษียณอายุ ระหว่างทางการออมยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม


4.ไม่รู้จะเปย์อะไร แต่อยากเก็บให้อยู่และงอกเงย จะทำให้คุ้มค่ามากขึ้น เมื่อไปลงทุนในทางเลือกที่มีลักษณะช่วยสร้างวินัยหรือช่วยให้เราไม่ถอนเงินก้อนนี้ออกมาง่ายๆ เช่น

o หากระยะเวลาลงทุน 1-3 ปีขึ้นไป เลือกลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว อย่าง K-FIXEDPLUS

o หากระยะเวลาลงทุน 3 ปีขึ้นไป เลือกลงทุนกองทุนผสม เพื่อให้ผลตอบแทนคาดหวังสูงขึ้นได้ สอดคล้องกับความเสี่ยงของกองทุนอย่างกองทุนกลุ่ม Wealth Plus (WP) ที่ความเสี่ยงต่ำสุดในกลุ่มอย่างกองทุน WP-LIGHT ไปจนความเสี่ยงสูงสุดในกลุ่มนี้อย่าง กองทุน WP-ULTIMATE

o หากระยะเวลาลงทุนนานกว่า 3 ปี ก็มีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีเงินคืนแน่นอนตามสัญญา หรือประกันชีวิตแบบผสมผสาน อย่างประกันควบการลงทุน Unit Linked ที่เลือกจำนวนปีจ่ายเบี้ย ปรับเพิ่มลดทุนประกันระหว่างทางได้ทำให้เกิดความยืดหยุ่นเมื่อสถานะครอบครัว รวมถึงปรับสัดส่วนการลงทุนได้ด้วย


หากเพิ่งได้โบนัสมา แล้วยังไม่รู้จะนำไปทำอะไร นอกจากการทิ้งไว้เฉยๆ เป็นเรื่องเสียโอกาส ทั้งๆที่รู้ว่า มีเรื่องต้องเปย์เงินในอนาคต ยังมีโอกาสเปย์เงินกับเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจสูง ทำไมไม่ตัดสินใจตั้งแต่วันนี้ เพื่อจัดการเงินโบนัสนี้ หรือ การจัดการเงินโบนัสนี้เป็นจุดเริ่มต้น และหลังจากนั้นให้ระบบทำให้อัตโนมัติ เช่น การตัดบัญชีเพื่อซื้อกองทุนอัตโนมัติเป็นรายเดือน จะทำให้ตัดสินใจทำครั้งเดียว มีผลต่อตัวเราไปเรื่อยๆ และเงินก้อนนี้ยังคงอยู่กับเราจนกว่าจะมีแผนใช้เงิน


คำเตือน : ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

• บลจ.กสิกรไทย, เมืองไทยประกันชีวิต


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
Back to top