ประเด็นร้อน: จับตาเลือกตั้งไต้หวัน มุ่งสู่ความกลมเกลียว หรือขัดแย้ง

• 13 ม.ค. 67 ไต้หวันจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งมีอยู่ 3 พรรคที่มีคะแนนความนิยมที่สูสีกันมาก แต่มีจุดยืนความสัมพันธ์กับจีนที่แตกต่างกัน จึงถือเป็นการชี้ชะตาว่าจะนำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างไต้หวัน-จีนหรือไม่


• ผู้ที่ลงทุนในกองทุนหุ้นจีน หากมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน แนะนำพิจารณาหาจังหวะในขายเพื่อลดสัดส่วนลง และนำเงินไปลงทุนกองทุนอื่น เช่น K-HIT, K-CHANGE-A(A), K-GHEALTH





ความขัดแย้งระหว่าง ไต้หวัน-จีน ที่ผ่านมา

จีนมีจุดยืนว่าไต้หวันคือส่วนหนึ่งของจีน ต้องการรวมไต้หวันเข้าไปเป็นนโยบายจีนเดียว ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 85%ของไต้หวัน ต้องการระบบการปกครองความเป็นอยู่แบบเดิม อีกทั้งไต้หวันมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ โดยเห็นได้ชัดเจนจากการมีผู้นำทางการเมืองในสภาคองเกรสไปเยือนไต้หวัน รวมทั้งการประกาศจุดยืนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่าจะส่งกองทัพสหรัฐฯ ไปป้องกันไต้หวัน หากถูกจีนรุกราน


โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทางการจีนได้เพิ่มแรงกดดันทางทหารต่อไต้หวัน ด้วยการส่งเครื่องบินรบและเรือรบไปลาดตระเวนรอบเกาะไต้หวันอยู่บ่อยๆ อีกทั้งยังมีการซ้อมรบครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง เพื่อตอบโต้การพบกันของผู้นำไต้หวันและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสหรัฐฯ จึงมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการเปิดศึกสงครามระหว่างไต้หวัน-จีน หลังจากนี้ เนื่องจากพรรคการเมืองที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ละพรรค มีจุดยืนความสัมพันธ์กับจีนแตกต่างกัน



ความสัมพันธ์กับจีนที่ไม่แน่นอน จาก 3 พรรค ที่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่

• พรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) มีสถิติครองตำแหน่งประธานาธิบดีมาอย่างยาวนานหลายสมัย จุดยืน คือ เน้นประนีประยอม โดยมีนโยบาย 3 ไม่ คือ (1) ไม่ใช่การรวมเป็นหนึ่ง (2) ไม่เป็นเอกราช และ (3) ไม่เผชิญหน้าทางการทหาร โดยคงความสัมพันธ์แบบเดิม คือ คลุมเครือกับจีน ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนไต้หวันส่วนใหญ่พอใจกับความสัมพันธ์แบบนี้


• พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) เคยชิงตำแหน่งจากพรรคก๊กมินตั๋งและยังดำรงตำแหน่ง 2 สมัยล่าสุด จุดยืน คือ มีนโยบายที่แข็งกร้าวต่อจีนต้องการแยกเอกราชไต้หวันออกจากจีนเพื่อเป็นอธิปไตย หากพรรคนี้ได้รับตำแหน่งจะมีโอกาสการเกิดสงครามระหว่างไต้หวัน-จีน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากผลสำรวจมีประชาชนไต้หวันถึง 15% ที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้


• พรรคประชาชนไต้หวัน (TPP) พรรคการเมืองใหม่ที่ได้รับคะแนนนิยมสูง จุดยืน คือ เน้นประนีประนอม และประเมินว่าการอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนจะช่วยแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ เนื่องจากไต้หวันมีการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง ที่ผ่านมาจีนมักใช้เครื่องมือด้านเศรษฐกิจต่อรองกับไต้หวัน เช่น การพบร่องรอยยาฆ่าแมลงบนผลไม้และร่องรอยเชื้อโคโรน่าไวรัสบนบรรจุภัณฑ์ปลาแช่แข็งบางประเภท โดยมีกำหนดสรุปผลการสอบสวนวันที่ 12 ม.ค. 67 หรือ 1 วันก่อนที่ไต้หวันจะเลือกตั้งประธานาธิบดี



ท่าทีล่าสุดของจีนต่อไต้หวัน

เมื่อวันเสาร์ที่ 30 ธ.ค. 66 ไต้หวันมีการจัดดีเบตก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี เปิดโอกาสให้บรรดาผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์หลักอย่างประเด็นความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมีความคิดเห็นดุเดือดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย


ส่วนทางผู้นำจีน ได้ใช้โอกาสวันปีใหม่ออกมาส่งสัญญาณประกาศชัดเจนว่า การรวมไต้หวันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นหมายถึงพร้อมที่จะใช้อำนาจทางทหารด้วยความแข็งกร้าวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ทำให้ความกังวลด้านสงครามภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างไต้หวัน-จีน สร้างแรงกดดันต่อการลงทุนตลาดหุ้นจีนในระยะสั้น



คำแนะนำการลงทุน

• นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน เช่น กองทุน K-CHINA, K-CHX และ K-CCTV ทีม K WEALTH ยังมีมุมมอง Neutral หรือเป็นกลางต่อการลงทุนตลาดหุ้นจีน โดยสามารถถือต่อได้ แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน

o หากมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน และขาดทุนมากกว่า 10% แนะนำรอจังหวะที่กองทุนปรับตัวขึ้นเพื่อทยอยขายออกบางส่วน แต่หากขาดทุนน้อยกว่า 10% แนะนำพิจารณาทยอยขายบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจีนลงให้น้อยกว่า 30% โดยนำเงินค่าขายคืนไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น เช่น K-PLAN3, K-HIT, K-CHANGE-A(A), K-GHEALTH

o หากยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน แนะนำให้รอติดตามผลการเลือกตั้งและติดตามสถานการณ์เพื่อหาโอกาสเข้าลงทุนในอนาคต


• นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย เช่น K-ASIA K-ASIAX ฯลฯ ที่ ณ 30 พ.ย. 66 มีสัดส่วนการลงทุนในไต้หวัน 17%-19% และจีน 7%-34% ทีม K WEALTH มีมุมมอง Slightly Positive หรือค่อนข้างเป็นบวก สามารถถือและทยอยลงทุนเพิ่มได้ แต่ก็ไม่ควรมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นกลุ่มนี้เกิน 30%ของเงินลงทุน


• สำหรับนักลงทุนที่กังวลหรือรับความเสี่ยงได้น้อย แนะนำให้เข้าลงทุนกองทุน K-SF ที่เหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน กองทุน K-SFPLUS ที่เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน หรือกองทุน K-FIXED ที่เหมาะกับการลงทุน 1 ปีขึ้นไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก BBC, PPTV

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT™
Back to top