ประเด็นร้อน: อัปเดตสถานการณ์ลงทุน หลังจงจื่อ ธนาคารเงาจีน ไปไม่รอด ยื่นล้มละลาย

กดฟัง
หยุด

• บริษัทจงจื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งเป็น Shadow Banking ใหญ่อันดับ 9 ของจีน ประกาศล้มละลายเมื่อ 5 ม.ค. 67


• ประเด็นดังกล่าวตลาดรับรู้มาสักระยะแล้ว จึงส่งผลกระทบในวงจำกัด K WEALTH มีมุมมอง Neutral หรือเป็นกลางต่อการลงทุนตลาดหุ้นจีน โดยสามารถถือต่อได้ หากยังลงทุนไม่เกิน 30%ของเงินลงทุน




5 ม.ค. 67 ศาลในกรุงปักกิ่งประกาศการล้มละลายของ บริษัท จงจื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัททรัสต์ ซึ่งเป็น Shadow Banking รายใหญ่ของจีน หลังมีหนี้สิน 4.2-4.6 แสนล้านหยวน


Shadow Banking คืออะไร

Shadow Banking “ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์” ที่ให้บริการโดยตรงแก่ประชาชนทั่วไป แต่เป็นบริษัทที่ระดมเงินฝาก เงินลงทุน แล้วนำไปลงทุนต่อ หรือปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่เข้าถึงสินเชื่อยาก มีประวัติการกู้ไม่ดี ซึ่งรูปแบบคล้ายกับธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ หรือถูกควบคุมมากเท่ากับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป



สาเหตุของการล้มละลาย

ก่อนหน้านี้ จงจื่อ และ จงหรง บริษัทในเครือ ได้ระดมเงินจากนักลงทุนรายย่อย เพื่อออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินผลตอบแทนสูง แล้วนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก รวมถึง China Evergrande บริษัทอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่ที่ล้มละลายไปแล้ว ทำให้ปลายปีที่ผ่านมา จงหรง ขาดสภาพคล่อง มีการผิดนัดชำระหนี้กับนักลงทุน และกระทบกับ จงจื่อ ซึ่งเป็นบริษัทแม่จนนำไปสู่การตัดสินใจยื่นล้มละลายต่อศาลในกรุงปักกิ่ง



มุมมองการลงทุน

ทีมผู้จัดการกองทุน KAsset มองประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ตลาดรับรู้มาสักระยะแล้วตั้งแต่ จงหรง ผิดนัดชำระหนี้ รวมถึง ลูกค้าที่ลงทุนกับจงจื่อ ไม่ใช่ประชาชนทั่วไป แต่เป็นลูกค้า High Net Worth ที่แบ่งเงินมาลงทุนใน Wealth Management Product และไม่ใช่เงินที่ลงทุนผ่านระบบธนาคารทั่วไป ทำให้โอกาสเกิดเป็นปัญหาลุกลามอยู่ระดับจำกัด


ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 67 ยังขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ จีน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ภาคธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามแนะนำให้ผู้ลงทุนจับตา 3 ประเด็นความเสี่ยง ได้แก่ 1.ปัญหาภาคอสังหาฯ 2.ระบบธนาคารเงา 3.หนี้รัฐบาลท้องถิ่น อย่างใกล้ชิด โดยหากมีประเด็นสำคัญส่งผลต่อเงินลงทุนทีมงาน K WEALTH จะมีการอัปเดตให้ผู้ลงทุนทราบโดยเร็ว



คำแนะนำ

• การลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย เช่น กองทุน K-ASIA K-ASIAX มีมุมมอง Slightly Positive หรือมีมุมมองค่อนข้างเป็นบวก สามารถถือและทยอยลงทุนเพิ่มได้ แต่ก็ไม่ควรมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นกลุ่มนี้เกิน 30%ของเงินลงทุน การลงทุนในกองทุนหุ้นจีน เช่น กองทุน K-CHINA, K-CHX และ K-CCTV ยังมีมุมมอง Neutral หรือเป็นกลางต่อการลงทุนตลาดหุ้นจีน โดยสามารถถือต่อได้ แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน

o หากมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน และขาดทุนมากกว่า 10% แนะนำรอจังหวะที่กองทุนปรับตัวขึ้นเพื่อทยอยขายออกบางส่วน แต่หากขาดทุนน้อยกว่า 10% แนะนำพิจารณาทยอยขายบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจีนลงให้น้อยกว่า 30% โดยนำเงินค่าขายคืนไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น เช่น K-PLAN3, K-HIT, K-CHANGE-A(A), K-GHEALTH

o หากยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน แนะนำให้รอติดตามผลการเลือกตั้งและติดตามสถานการณ์เพื่อหาโอกาสเข้าลงทุนในอนาคต


• การลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย เช่น กองทุน K-ASIA K-ASIAX มีมุมมอง Slightly Positive หรือมีมุมมองค่อนข้างเป็นบวก สามารถถือและทยอยลงทุนเพิ่มได้ แต่ก็ไม่ควรมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นกลุ่มนี้เกิน 30%ของเงินลงทุน


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”


คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT™
Back to top