ทำไมใครๆ ก็บอกว่า ญี่ปุ่นน่าสนใจลงทุนตอนนี้

การบริโภคภายในจึงเติบโตแกร่ง ด้านส่งออกกลับมาฟื้นตัว ส่วน BoJ ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย และยังมี TSE Reform ที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างธุรกิจ ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจึงปรับตัวขึ้นโดดเด่นและยังมีความน่าสนใจในปี 2024 กองทุนรวม K-JPX-A(A) รับโอกาสลงทุ

• เงินเฟ้อในญี่ปุ่นทำให้มีการปรับเพิ่มค่าจ้าง บริโภคภายในจึงเติบโตแกร่ง ด้านส่งออกกลับมาฟื้นตัว ส่วน BoJ ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย และยังมี TSE Reform ที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างธุรกิจ ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจึงปรับตัวขึ้นโดดเด่นและยังมีความน่าสนใจในปี 2024


• กองทุนรวม K-JPX-A(A) ลงทุนผ่านกองทุนหลัก NEXT FUNDS TOPIX Exchange Traded Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบาย Passive ทำผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนี TOPIX รับโอกาสลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปี 2024 โดยมีสัดส่วนทั้งกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ที่รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมโลกฟื้นตัว และกลุ่มที่ได้อานิสงส์จากบริโภคภายในทั้งค้าส่ง เทคโนโลยีและสื่อสาร และธนาคาร




เป็นที่พูดถึงการมากขึ้นสำหรับการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังปรับตัวขึ้นทำผลตอบแทนโดดเด่นตั้งแต่ปลายปี 2023 ต่อเนื่องมาถึงปี 2024 แล้วจะเดินหน้าขึ้นไปต่อหรือไม่? มีปัจจัยอะไรหนุนอีก? จะลงทุนหรือไม่ลงทุน? มาร่วมหาคำตอบกัน!!!



เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้น เงินเฟ้อลด ส่งออกกลับมา

ปีที่แล้วประเทศญี่ปุ่นเผชิญเงินเฟ้อสูงเช่นเดียวกับทั่วโลก แต่ดูจะไม่สร้างปัญหาแต่กลับเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากแม้เงินเฟ้อที่ขึ้นมาส่วนหนึ่งเป็นไปตามแนวโน้มทั่วโลก แต่อีกส่วนมาจากการบริโภคภายในที่ขยายตัวหลังกลับมาเปิดเมืองเต็มที่ และด้วยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นแรงในรอบหลายปีเป็นเหตุให้มีการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงถึง 2% หลังแทบไม่เพิ่มเลยตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา


โดยปีนี้คาดว่าค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5% จากปีที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อทยอยลดลงต่อเนื่อง หนุนกำลังซื้อยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปีก่อน ข้อมูลเดือน ม.ค. สะท้อนแนวโน้มที่แข็งแกร่งนี้ผ่านดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคเพิ่มมาที่ 38 จุด จากเดือนก่อนที่ 37.2 จุด


ด้านการส่งออกพลิกสู่แดนบวกชัดเจนตั้งแต่เดือน ก.ย. 2023 มีเพียงเดือน พ.ย. เพียงเดือนเดียวที่ตัวเลขส่งออกหดตัว 0.2% (YoY) หลังอุตสาหกรรมโลกกลับมาเพิ่มสต๊อกสินค้า และล่าสุดเดือน ธ.ค. กลับมาขยายตัว 9.8% (YoY)



BoJ ไม่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้

ด้วยเงินเฟ้อที่ลดลง ทำให้ BoJ ไม่ต้องเร่งใช้นโยบายการเงินตึงตัว มติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% และยังคงใช้นโยบาย Yield Curve Control พันธบัตรอายุ 10 ปี ไว้ที่ระดับประมาณ 0%


พร้อมปรับลดคาดการณ์ดัชนี Core CPI (ไม่รวมราคาอาหารสด) ปี 2024 จาก 2.8% มาที่ 2.4% และปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP จาก 1.0% มาที่ 1.2%


ด้านผู้ว่าฯ BoJ เผยว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป และโอกาสที่เงินเฟ้อจะกลับมาที่ระดับเป้าหมาย 2% มีสูงขึ้น พร้อมไม่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ทำให้ตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต้องรอถึงการประชุมเดือน เม.ย. เป็นต้นไป ช่วยลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น



TSE Reform การปรับโครงสร้างธุรกิจ อาจเป็นปัจจัยใหม่หนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น

นับเป็นเวลานานที่ทุกคนต่างรู้ว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีบริษัทที่ดีมากมาย มีเงินสดจำนวนมาก แต่การเติบโตไม่โดดเด่น เหตุจากการทำธุรกิจที่รัดกุม ไม่มีแผนธุรกิจที่เน้นการเติบโต ทำให้เมื่อต้นปี 2023 ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE) เรียกร้องให้บริษัทหันมาทำแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจคำนึงเรื่องการเติบโต ต้นทุนการเงิน อัตราส่วนการเงิน รวมถึงให้มีการจ่ายปันผลและซื้อหุ้นคืนมากขึ้น


ล่าสุดเดือน ธ.ค. มีบริษัทเปิดเผยแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจแล้ว 49% ของบริษัททั้งหมด ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุน สะท้อนผ่านผลตอบแทนราคาหุ้นของบริษัทที่เปิดเผยแผนปรับโครงสร้างธุรกิจทำผลตอบแทนทั้งปี 2023 สูงกว่าบริษัทที่ยังไม่เปิดเผยแผนประมาณ 10%


หากแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจมีความคืบหน้าและใช้อย่างจริงจัง จะส่งผลดีระยะสั้นในแง่การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ส่วนระยะยาวจะทำให้มีอัตราการเติบโตที่โดดเด่นมีปัจจัยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น



กองทุน K-JPX-A(A) ตอบโจทย์คว้าโอกาสลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่กำลังโดดเด่น

ที่ผ่านมาตลาดหุ้นญี่ปุ่นรับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว ตามด้วยการส่งออกเข้ามาเป็นอีกปัจจัยหนุน ต่อจากนี้คาดว่าเศรษฐกิจภายในยังคงแข็งแกร่ง ส่วนเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยยังไม่สร้างแรงกดดันหนักๆ อย่างที่ประเทศอื่นโดนกันเมื่อปีที่แล้ว และยังมี TSE Reform มาเป็นอีกปัจจัยหนุนในปีนี้


กองทุนรวม K-JPX-A(A) ลงทุนผ่านกองทุนหลัก NEXT FUNDS TOPIX Exchange Traded Fund ที่มีนโยบายลงทุนสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี TOPIX ของญี่ปุ่น พูดง่ายๆ คือเป็นกองทุน Passive ของดัชนี TOPIX


ข้อมูล ณ วันที่ 29 ธ.ค. 23 กองทุนหลักเน้นสัดส่วนลงทุนหลักในอุตสาหกรรม ELECTRIC APPLIANCES (เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) 17.1%, TRANSPORTATION EQUIPMENT (ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์) 8.0%, INFORMATION & COMMUNICATION (เทคโนโลยีและการสื่อสาร) 7.5%, WHOLESALE TRADE (จำหน่ายสินค้า) 6.8%, BANKS (ธนาคาร) 6.7% และอื่นๆ 51.3%


จะเห็นว่าทุกอุตสาหกรรมหลักในกองทุนหลักมีโอกาสรับอานิสงส์จากการบริโภคภายในที่ฟื้นตัวแกร่ง การส่งออกพลิกกลับมาขยายตัว


ซึ่งมีบริษัทเด่นอันเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น Toyota ผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำ, Sony บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าและเกมส์อันโด่งดังอย่าง PS5, Sumitomo บริษัทเครื่องจักรที่วอร์เรน บัฟเฟต เข้าลงทุน


จาก Factsheet เดือน ธ.ค. กองทุนทำผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 25.96%, 6 เดือนย้อนหลัง 4.42% และ 3 เดือนย้อนหลัง 2.01%


พลาดไม่ได้แล้วสำหรับโอกาสลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นรับปัจจัยหนุนเด่นไปกับกองทุน K-JPX-A(A) ที่สำคัญอย่าลืมแบ่งสัดส่วนในพอร์ต กระจายความเสี่ยงให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้


.

คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer วีรพล บางแวก
Back to top