หุ้นไทยถูกเทขายต่อเนื่อง กังวลเศรษฐกิจไทยโตต่ำ
หุ้นไทยปรับตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีโดยตั้งแต่วันที่ 4-23 ม.ค. 67 ปรับตัวลงมา -5.44% จากปัจจัยกดดัน fund outflow หรือเงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทย ได้แก่
• ผลประกอบการไตรมาส 4/66 ที่กำลังจะทยอยออกมาคาดว่าจะอ่อนแอ สะท้อนเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้ากว่าคาด
• ความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล่าช้าและความไม่แน่นอนของโครงการ Digital Wallet
• ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีน และการที่ Fed อาจคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดเคยคาด
• กระแสข่าวบนโลกโซเชียลเมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่มีข่าวว่ากระทรวงการคลังมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 66 จะโตเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่แบงค์ชาติคาดไว้ตั้งแต่ต้นปีที่แล้วว่าจะโต 3.6% ซึ่งแม้ไม่ใช่ข่าวที่ได้รับการยืนยัน แต่ทำให้วันที่ 23 ม.ค. หุ้นไทย –0.98% เทียบกับวันก่อนหน้า
ปัจจัยสนับสนุนหุ้นไทยในปีนี้
แม้หุ้นไทยยังไม่มีปัจจัยหนุนในระยะสั้น แต่ภาพรวมในปี 67 ยังคงมีปัจจัยบวก ดังนี้
• ปัจจัยภายในประเทศ :
o เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังมีโอกาสขยายตัวจากการท่องเที่ยวและการบริโภคที่โตได้ต่อเนื่อง การส่งออกที่จะกลับมาเร่งตัวขึ้น รวมทั้งแรงสนับสนุนการลงทุนภาครัฐและเอกชนหลังประกาศใช้งบประมาณในไตรมาส 2/67
o ด้านเสถียรภาพภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ระดับที่เหมาะสมร้อยละ 1%ต่อปี ขยายตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ ด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้บัญชีเดินสะพัดในปี 67 มีแนวโน้มกลับมาเกินดุล 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็น 1.8% ของ GDP
• ปัจจัยภายนอกประเทศ : โอกาสการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของประเทศแกนหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แม้ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะปรับลดเท่าไร อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยจะส่งผลดีต่อมุมมองการลงทุนในหุ้นที่ดีขึ้น โดย บลจ.กสิกรไทย มอง SET Index จะสามารถปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,500 -1,570 จุดได้ในปีนี้ (ณ วันที่ 23 ม.ค. 67 ปิดที่ระดับ 1,356.54 จุด)
มุมมองการลงทุนต่อตลาดหุ้นไทยในปีนี้
แม้หุ้นไทยยังมีปัจจัยกดดันมาจากความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐที่ทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนไหลออกต่อเนื่อง แต่ K WEALTH ยังคงมีมุมมอง Neutral หรือมีมุมมองเป็นกลาง เนื่องจากมองว่า
• มูลค่าหุ้นซื้อขายในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ได้สะท้อนความกังวลจากปัจจัยส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นในปี 66 ไปแล้ว
• อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว จะช่วยลดแรงกดดันในเชิง Valuation
• ปัจจัยสนับสนุนหุ้นไทยมาจากภาคการท่องเที่ยวที่มีการขยายตัวสูงและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ
คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นไทย
นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนกลุ่มหุ้นไทย เช่น กองทุน K-VALUE , K-STAR-A(A), K-STEQ-A(A) สามารถถือลงทุนได้ และหาจังหวะในการทยอยสะสมในช่วงที่จังหวะตลาดย่อตัว แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 30%ของเงินลงทุน
• สำหรับผู้ที่มีสัดส่วนกองทุนหุ้นไทย มากกว่า 30%ของเงินลงทุน แนะนำพิจารณา ขาย/ทยอยลดสัดส่วน โดยนำเงินค่าขายคืนไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น เช่น K-HIT-A(A) , K-CHANGE-A(A) ซึ่ง K WEALTH มีมุมมองค่อนข้างบวกมากกว่ากองทุนหุ้นไทย
• ผู้ที่ยังไม่มีกองทุนหุ้นไทยหรือมีสัดส่วนไม่ถึง 30% ของเงินลงทุน
o หากต้องการลงทุนกองทุนหุ้นไทย แนะนำกองทุน K-VALUE ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด และ K-STAR ที่เน้นหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว และมีการจับจังหวะซื้อขายทำกำไร
o หากไม่ได้เฉพาะเจาะจงการลงทุนในหุ้นไทยเท่านั้น แนะนำลงทุนกองทุนหุ้นต่างประเทศ เช่น K-HIT-A(A) , K-CHANGE-A(A) • นักลงทุนที่กังวลหรือรับความเสี่ยงได้น้อย หากไม่ต้องการลงทุนในกองทุนหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ แนะนำให้นำเงินไปลงทุนกองทุน K-SF ที่เหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน กองทุน K-SFPLUS ที่เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน หรือกองทุน K-FIXED ที่เหมาะกับการลงทุน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนหุ้น แต่ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยมักสูงกว่าเงินฝากทั่วไป
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”