อัปเดตตลาดลงทุนไตรมาส 1

ภาพรวมเศรษฐกิจ: การเปลี่ยนแปลงท่าทีของธนาคารกลางทั่วโลกจากนโยบายการเงินตึงตัวสู่การผ่อนคลาย พร้อมกับการคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การลงทุน: ดัชนีต่างๆปรับตัวขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ล

• ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 1/2567 แสดงสัญญาณฟื้นตัวจากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และสัญญาณการลดอัตราดอกเบี้ยช่วยสนับสนุนการคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียน ส่งผลให้หลายดัชนีปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์


• แนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2/2567 ตลาดอาจความผันผวนมากขึ้นจากการขายทำกำไร ภาวะเงินเฟ้อมีความเสี่ยงเร่งตัวขึ้นและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด




ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและไทยในไตรมาสที่ 1/2567

ในปีนี้ธนาคารกลางทั่วโลกเปลี่ยนท่าทีจากการใช้นโยบายการเงินตึงตัวสู่นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี ในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นแม้จะปรับดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.1% แต่ยังส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่เร่งตัวขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคม (US CPI %YoY เดือนม.ค. 3.1% , ก.พ. 3.2% , มี.ค. 3.5%) ส่งผลให้ Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยลงได้น้อยกว่า 3 ครั้งตามที่ได้สื่อสารไว้ ตารางที่ 1 : เงินเฟ้อทั่วไปของประเทศต่างๆ (CPI %YoY) ชะลอตัวลงจากปี 2566



ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 11 เมษายน 2567


ตารางที่ 2 : เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2567



ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 11 เมษายน 2567



ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น

ภาพรวมดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดชื้อภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่อง โดยเดือนมีนาคมขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.6 ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดชื้อภาคบริการขยายตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ


นอกจากนี้ การที่เงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจากปีก่อนหน้า และธนาคารกลางหลายแห่งส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีหุ้นในหลายตลาดปรับตัวขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี



ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 11 เมษายน 2567



ตารางที่ 3 : ความเคลื่อนไหวดัชนีต่างๆ ณ 31 มีนาคม 2567



ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 1 เมษายน 2567



ผลตอบแทนของดัชนีหลักและสินทรัพย์ทางเลือกในหลายตลาด ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

สหรัฐฯ : ได้รับปัจจัยหนุนจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้แก่ MSFT, NVDA, AMZN, GOOGL, META และการปรับประมาณการของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ดีขึ้น ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะระดับ 5,254.35 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 และให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี +10.16% ดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้นมาทำสถิติสุงสุดเป็นประวัติการณ์แตะระดับ 18,339.44 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 และให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี +9.11%


ยุโรป: ดัชนี STOXX 600 ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง ได้ปัจจัยหนุนจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น หนุนให้ ECB ปรับลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยดัชนีปรับตัวขึ้นมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ระดับ 512.67 จุด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567


ญี่ปุ่น: ดัชนี Nikkei 225 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้อีกครั้ง โดยดัชนีขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ระดับ 40,888.43 จุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 หลังทำสถิติสูงสุดเมื่อ 34 ปีก่อน แตะระดับ 38,915.87 จุด เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 (ค.ศ.1989) ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงขาขึ้นโดยได้แรงหนุนจากเงินเยนที่ถูก จากการอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ส่งออก และนักลงทุนทั่วโลก อีกทั้งการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แม้ว่า BOJ จะมีมติยุติดอกเบี้ยติดลบ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 0-0.1% พร้อมยุติการซื้อ ETF หุ้นและ J-REITs รวมถึงยุติมาตรการ Yield Curve Control แต่ยังคงเข้าซื้อพันธบัตร และเปิดช่องซื้อพันธบัตรระยะยาวหากมีความจำเป็น นอกจากนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นตอบรับมาตรการของตลาดหลักทรัพย์ Tokyo Stock Exchange (TSE) ที่กดดันให้บริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าองค์กร เช่น การเพิ่มการจ่ายปันผลเพื่อดึงดูดนักลงทุน การกำหนดให้บริษัทจดทะเบียน ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2025 เป็นต้นไป เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เป็นต้น


จีน: ตลาดหุ้นจีนยังคงเผชิญกับความท้าทาย ความมั่นใจในการใช้จ่ายของภาคประชาชนยังคงอ่อนแอสะท้อนผ่านตัวเลขยอดค้าปลีกที่ชะลอตัวลงจากช่วงปลายปีก่อน อย่างไรก็ตามการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐฯในช่วงที่ผ่านมาประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการส่งออกทั่วโลกส่งผลให้เศรษฐกิจจีนภาคการผลิตและการลงทุนอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว


เวียดนาม: ตลาดหุ้นเวียดนามยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจ โดย VN Index เพิ่มขึ้น 13.64% ตั้งแต่ต้นปี ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปีที่แล้ว นำโดยการบริโภคภายใน ภาคอุตสาหกรรม โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในอาเซียน จากต้นทุนค่าแรงที่ถูก การย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนามเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ นอกจากนี้ คาดว่าในปีหน้า (ปี 2568) เวียดนามจะได้เลื่อนชั้นจาก ตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) มาเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนของกองทุนทั่วโลกที่จะหลั่งไหลเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบัน รวมถึงกองทุนรวมและกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ถูกกำหนดให้ลงทุนได้ตั้งแต่ตลาด Emerging Market ขึ้นไปเท่านั้น


อินเดีย: ในปีที่แล้วตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวขึ้นมาโดดเด่น จากการคาดการณ์ว่าในระยะยาวเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มเติบโตสูงจากโครงสร้างประชากรที่สนับสนุนการบริโภคของภาคครัวเรือนรวมถึงการขยายตัวของเมือง และการลงทุนจากต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระยะสั้นตลาด Upside ยังมีไม่สูง จากระดับ valuation ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับในอดีตและภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อินเดียได้ออกมาเตือนนักลงทุนถึงระดับราคาที่ค่อนข้างสูงของหุ้นเล็กและกลางในตลาดหุ้นอินเดีย


ไทย: ตลาดหุ้นไทยมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า จากภาคการบริโภคภายในและความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐฯ โดยเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนมีนาคมอยู่ที่ -0.47% (YoY) ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีก ทำให้มีการใช้นโยบายส่งเสริมการค้า เช่น การแข่งขันปรับลดราคาสินค้าลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคาดตลาดหุ้นไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้จากอานิสงค์ของการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในช่วงครึ่งหลังของปี การเบิกจ่ายงบประมาณที่อยู่ระหว่างการพิจารณา และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดกว่าในปี 2568 นี้ ภาคการท่องเที่ยงของไทยจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงระดับปกติ


น้ำมัน: ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องในปีนี้ จากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบ โดยเฉพาะในตะวันออกกลางมีความตึงตัวมากขึ้น และการปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ของ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คาดเศรษฐกิจโลกในปี 2567 จะเติบโตได้ 2.9% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์เดิม ณ เดือนพฤศจิกายนปีก่อน ที่ 2.7% แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตลดลงจากปี 2566 ที่ 3.1% ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจนี้ ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันปรับเพิ่มขึ้นด้วย


ทองคำ: ราคาทองคำในปีนี้ ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยทองคำได้ปัจจัยหนุนหลายด้าน ทั้งจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อลดการพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์และการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐฯ การคาดการณ์ปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ (เมื่อดอกเบี้ยลดลง ทองคำจะมีความน่าสนใจมากกว่า สินทรัพย์ที่มีการจ่ายดอกเบี้ย เช่น เงินฝาก หรือพันธบัตร เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า สามารถสะสมได้ในระยะยาวและป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงเป็นหลุมหลบภัยหากเกิดความไม่สงบต่างๆ)



การลงทุนในไตรมาสที่ 2/2567 อาจเห็นความผันผวนมากขึ้นจากการขายทำกำไร ภาวะเงินเฟ้อมีความเสี่ยงเร่งตัวขึ้นและการปรับลดดอกเบี้ยที่ไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด

แม้ว่าหุ้นโลกยังได้แรงสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้นักวิเคราะห์มีโอกาสปรับคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนขึ้นในระยะข้างหน้า อีกทั้งธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ช่วยลดแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ระดับ Valuation หุ้นโลกที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับในอดีต อาจทำให้ตลาดมีความเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไร และมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้การปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักไม่เป็นไปตามที่คาด


แนะนำกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายภูมิภาค เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้


กองทุนแนะนำ : K-WealthPLUS Series กลุ่มกองทุนผสมที่กระจายความเสี่ยงในหลากหลายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น สินทรัพย์ทางเลือก เหมาะกับการลงทุนในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน นอกจากนี้กองทุนนี้ยังมีความโดดเด่นด้วยการพัฒนาโมเดลการลงทุนร่วมกับ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) เพื่อสร้างพอร์ตและปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับทุกภาวะตลาด(คลิกที่นี่)


นอกจากนี้ท่านสามารถติดตามกองทุนแนะนำอื่นๆของเราได้ที่(คลิกที่นี่)

นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายการลงทุน เป็นต้น


ที่มา :

https://www.kasikornbank.com/th/business/Foreign-Exchange-Market/Pages/market-perspective.aspx

https://www.oecd.org/economic-outlook/february-2024/



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®
Back to top