K WEALTH / บทความ / Wealth Management / เจาะลึกภาวะวิกฤตฟองสบู่แตก ศึกษาประวัติศาสตร์ รู้จักสัญญาณเตือนและกลยุทธ์ผ่านพ้นวิกฤติ
24 เมษายน 2567
4 นาที

เจาะลึกภาวะวิกฤตฟองสบู่แตก ศึกษาประวัติศาสตร์ รู้จักสัญญาณเตือนและกลยุทธ์ผ่านพ้นวิกฤติ


​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“

• เศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดขึ้นเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และประเมินมูลค่าที่แท้จริงไม่ได้ หรือไม่สามารถประเมินได้ ซึ่งเมื่อฟองสบู่แตก จะทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว


• ฟองสบู่มีได้แบบพอเหมาะ ต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ภาพรวมเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ ในภาวะอัตราดอกเบี้ย และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้ปัจจุบันโอกาสที่จะเกิดฟองสบู่ เป็นไปได้ยาก


• กลยุทธ์ลงทุนในช่วงฟองสบู่ การจัดสัดส่วนการลงทุน การปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) และการใช้เทคนิค DCA เพื่อให้ต้นทุนของการลงทุนเฉลี่ย จะเป็นอีกตัวช่วยที่เพิ่มโอกาสทำกำไร




ปัจจุบันปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไม่ทัน โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจเกิดฟองสบู่ แล้วจะมีกลยุทธ์การลงทุนอะไรเพื่อรับมือกับภาวะฟองสบู่ได้บ้าง บทความนี้สรุปมาให้แล้ว



คำจำกัดความของ เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดจากภาวะราคาของสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเก็งกำไร หรือ จากอารมณ์ของนักลงทุนที่อยากได้สินค้าหรือสินทรัพย์การลงทุน โดยไม่สะท้อนความต้องการซื้อ-ขายที่แท้จริง เสมือนฟองสบู่ที่ค่อยขยายตัวโตขึ้นไปเรื่อยๆ 


ทำไมนักลงทุนต้องเข้าใจภาวะฟองสบู่ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่ไม่สะท้อนความต้องการซื้อ-ขาย หรือไม่มีสาเหตุของการขึ้น-ลงของราคา เสมือนก่อสร้างบ้าน ที่ไม่มีเสาเข็ม ที่ลงน้ำหนักของบ้านอย่างดี ช่วงแรกๆของการลงทุน อาจจะยังได้กำไร และเร็ว แต่เมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก ราคาก็จะปรับตัวลดลงมาอย่างรวดเร็ว นอกจากจะทำให้ขาดทุนอย่างรวดเร็วแล้ว บางคนขายขาดทุนก็ยังขายไม่ได้ จนราคาติด Floor ก็ยังขายไม่ได้ ดังนั้น การเข้าใจภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ จะช่วยให้พอจะประเมินสถานการณ์การลงทุน และกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนได้



ตัวอย่างของเศรษฐกิจฟองสบู่ในไทย

​ตัวอย่างของไทย ต้องย้อนกลับไปปี 2540 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือจะเรียกได้ว่า ฟองสบู่ยุคอสังหาริมทรัพย์บูม เนื่องจากในยุคนั้น มีอัตราเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ในระดับ 2 หลัก ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงมาก นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ควรจะพอใจกับการฝากเงิน หรือไม่อยากกู้เงินเพราะดอกเบี้ยสูง กลับกลายเป็นธุรกิจอสังหาฯ ได้รับความนิยม และซื้อง่ายขายคล่อง จนทำให้นักลงทุนหลายคนใช้วิธีนี้ในการเก็งกำไรอสังหาฯ ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศ ไหลเข้ามาเก็งกำไรด้วย ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ ติดลมบน ถือเป็นยุคทองของคนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 40 มีการลดค่าเงินบาท ทำให้เงินกู้ที่มีสกุลเงินตราต่างประเทศ เงินต้นปรับเพิ่มเป็นเท่าตัว เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่า จนทำให้มีการเรียกหนี้คืนอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะฟองสบู่อสังหาฯแตก ราคาอสังหาฯ ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว บทเรียนที่ได้รับ คือ ไม่ควรกู้มาลงทุนผิดวัตถุประสงค์ มีนักลงทุนจำนวนมาก ใช้วงเงิน OD เงินกู้ระยะสั้น เพื่อมาซื้อที่ดิน ที่เป็นสินทรัพย์ระยะยาว ทำให้เมื่อถูกเรียกหนี้คืน และค่าเงินบาทอ่อนอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้คืนหนี้ทำได้ยาก


ตัวอย่างเศรษฐกิจฟองสบู่ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2551 หรือ ค.ศ. 2008 มีการปล่อยสินเชื่อบ้าน โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ซื้อบ้านจริง และยังมีการออกตราสารลงทุนที่ผูกกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ทำให้มีความต้องการลงทุนอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยบ้าน และเพิ่มความรุนแรงของฟองสบู่ที่แตกออกมา นั่นเป็นยุคฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่แตกอีกครั้งนึงในสหรัฐฯ บทเรียนในครั้งนั้น ทำให้นักลงทุนรู้จักความเสี่ยงของอนุพันธ์ หรือ ความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เร่งปฏิกิริยาให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้น



5 ระยะของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่* :

ระยะที่ 1 : การเข้ามาแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ และเป็นความคาดหวังของตลาด (Displacement) เช่น ในยุค Dot Com Crisis พบว่า ตลาดหุ้นคาดหวังว่า อินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ ทำให้นักลงทุนคาดว่า มีอินเตอร์เน็ตแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ในยุคฟองสบู่อสังหาฯในสหรัฐฯ ปี 2000 หรือ ในไทย ตลาดจะคาดหวังว่า อสังหาริมทรัพย์ราคามีแต่ขึ้น แม้กระทั่งเหตุการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ EV ที่คาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการรถยนต์ แต่ก็มาสะดุดหลังจากยอดขายรถยนต์ EV ในจีน ไม่สูงเท่าปีก่อน และยังต้องลดราคา หรือแม้กระทั่ง ราคาคริปโทฯ ที่เคยขึ้นแรงๆ และเชื่อว่าจะเป็นสกุลเงินใหม่ของโลกที่น่าจับตามอง หลังจากนั้น เริ่มมีบางสกุลของคริปโทฯที่กลไกราคา ไม่อยู่ภาวะสมดุล จนราคาลดลงอย่างรวดเร็ว


ระยะที่ 2 : ช่วง(ราคา)ตลาดเจริญสุดๆ (Boom) กล่าวคือ ราคาสินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะมีข่าวดีหรือร้ายในตลาดการลงทุน นอกจากนี้ก็มีทั้งข่าวจริงและไม่จริง หากราคาสินทรัพย์มีแต่ขึ้นอย่างเดียว อันนี้ก็เป็นสัญญาณเตือนภาวะฟองสบู่ได้


ระยะที่ 3 : อยู่ในจุดที่มีความสุข สนุกสนานกับการลงทุน (Euphoria) ราคาสินทรัพย์ที่ขึ้นมาสูงแล้ว ก็ยังเชื่อว่าจะสูงได้อีก และมองแต่ในมุมบวกว่า จะซื้อถูกขายแพงไปได้เรื่อยๆ ทำให้อยู่ในจุดที่มีความสุข สนุกกับทุกการลงทุน


ระยะที่ 4 : ระยะทำกำไร (Profit-Taking) เริ่มมีกลุ่มคนที่ไม่เชื่อว่าราคาสะท้อนความต้องการซื้อ-ขายที่แท้จริง แล้วเริ่มทยอยขายทำกำไรออกมา ก็จะเริ่มเห็นการแกว่งตัวของราคา​


ระยะที่ 5 : ระยะตื่นตระหนก (Panic) เมื่อฟองสบู่แตกแล้ว จะไม่กลับมาขยายตัวเป็นฟองสบู่ได้อีก ตัวชี้วัดของฟองสบู่แตก คือ ราคาสินทรัพย์จะปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว จนนักลงทุนตื่นตระหนกและพากันขายเพื่อถอนทุนคืน



ฟองสบู่เศรษฐกิจ ดีหรือไม่ดีอย่างไร

​การมีฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ สะท้อนผ่าน อัตราเงินเฟ้อ หรือ ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีน้อยๆถือว่า ดี ปกติธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะมีตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายประมาณ 2% ต่อปี แต่ถ้ามีมากเกินไป เช่น 4-5% เริ่มอันตราย จะกระทบกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้เหมือนเดิม ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่เติบโตหรือเติบโตได้แบบไม่ยั่งยืน ดังนั้น ฟองสบู่เศรษฐกิจมีบ้าง แปลว่า ขยายตัว แต่ไม่มากเกินไป ทำให้มีโอกาสฟองสบู่แตก ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ลดลงอย่างรวด



กลยุทธ์การลงทุนรับมือกับทุกสภาวะเศรษฐกิจ

1.การจัดสัดส่วนการลงทุน ไม่ควรลงทุนเพียงสินทรัพย์เดียว เพื่อลดความผันผวนของราคาสินทรัพย์ เช่น เทคนิค Core&Sattellite โดย Core คือ สัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) 80% ของเงินลงทุนทั้งหมด เช่น กองทุน K-WeathPlus-Series กองทุนผสมต่างๆ เป็นต้น และ Sattelite คือ สัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด ลงทุนเป็นธีม (Theme) เช่น ธีมหุ้นกลุ่มสุขภาพ (K-GHEALTH) ธีมหุ้นกลุ่มธีมที่เป็นกระแสนิยม (K-HIT) ธีมหุ้นประเทศเวียดนาม (K-VIETNAM) ธีมหุ้นประเทศญี่ปุ่น (K-JPX) เป็นต้น 


2.การปรับสัดส่วนการลงทุน Rebalance Port เป็นการขายสินทรัพย์ที่ราคาสูง เพื่อมาถัวเฉลี่ยในสินทรัพย์ที่ราคาถูก เป็นการลดความเสี่ยงด้วยการทำกำไรบางส่วนมาก่อนแล้วมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ราคาถูก 


3.ลงทุนแบบ DCA ที่เป็นการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยบริหารต้นทุนให้ได้ราคาถัวเฉลี่ย โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพหรือมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี 


จาก 3 เทคนิคนี้ ช่วยให้การลงทุนได้ทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าจะมีภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่หรือไม่ ก็สามารถลงทุนได้ นั่นคือ กองทุน K-WeatlhPlus-Series ที่จะช่วยจัดสัดส่วนการลงทุนให้คุณตามระดับความเสี่ยง ระหว่างทางที่ลงทุนมีการปรับสัดส่วนการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญในการบริหารพอร์ตกองทุนผสมอย่าง JP Morgan Asset Management และ สามารถเลือกใช้บริการ K-Saving Plan เพื่อใช้เทคนิค Dollar Cost Averaging (DCA)


ในการลงทุนให้ได้ราคาต้นทุนถัวเฉลี่ย ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ นักลงทุนหลายคนอาจจะกังวลว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือถ้าเกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ตลาด เลือกลงทุนในกองทุนผสม และเทคนิคการเข้าลงทุนแบบ DCA จะช่วยให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดียามตลาดไม่แน่นอนได้



ขอขอบคุณ : บทความ 5 ระยะฟองสบู่ *https://www.blockdit.com/posts/621a35d513b4a3d7007364eb

บทความโดย K WEALTH Trainer สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!