ประเด็นร้อน : ECB ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 5 ปี

• ธนาคารกลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 5 ปี และมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งในปีนี้


• การปรับลดดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลงช่วยเพิ่มกำไรของธุรกิจ อีกทั้งยังส่งผลให้ราคาหุ้น เช่น หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นได้


• ผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำทยอยลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป เช่น K-EUROPE-A(D) หรือกองทุนลดหย่อนภาษี เช่น KEURMF ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางแนะนำกองทุนผสม K-WPBALANCED หรือ K-WPSPEEDUP ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำที่สามารถลงทุนได้ 1-1.5 ปีขึ้นไป แนะนำกองทุนตราสารหนี้ K-FIXEDPLUS-A




6 มิ.ย. 67 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 โดยปรับลง 0.25%ต่อปี แม้ประมาณการเงินเฟ้อจะยังสูงกว่าระดับเป้าหมายก็ตาม


ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ถือเป็นธนาคารกลางหลักของโลกเช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) การลดดอกเบี้ยลงครั้งนี้ของ ECB ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งในปี 67 ที่ผ่านมา มีธนาคารกลางอย่างน้อย 2 แห่ง ที่มีการลดดอกเบี้ยมาแล้ว เช่น ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) และธนาคารกลางจีน (BOC) ที่ลดดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อ 21 มี.ค. และ 5 มิ.ย. ตามลำดับ รวมถึงตลาดยังมองว่า ECB มีโอกาสลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. 67 นี้


หากดอกเบี้ยโลกเข้าสู่ขาลง ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสินทรัพย์การลงทุนอย่างกองทุนหุ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อราคาและดอกเบี้ยของตราสารหนี้ ทางเลือกเก็บเงินอย่างเงินฝากธนาคาร รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมเงินของคนทำธุรกิจ และคนกู้ซื้อบ้าน/คอนโด อีกด้วย



ทำไม ECB ลดดอกเบี้ย

ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (deposit facility) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 4.00% มาที่ 3.75% เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ย main refinancing operations และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (marginal lending facility) ซึ่งลดลงมาที่ 4.25% และ 4.50% ตามลำดับ


แถลงการณ์ของที่ประชุม เปิดเผยว่าด้วยความเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อและผลของการใช้นโยบายการเงินตึงตัว ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปรับระดับการใช้นโยบายการเงินให้ผ่อนคลาย หลังมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่า 9 เดือน โดย ECB คาดการณ์ว่า


• ดัชนี CPI ที่ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อ ปี 2567 อยู่ที่ 2.5% จากก่อนหน้าคาดไว้ที่ 2.3% และปี 2568 อยู่ที่ 2.2%

• เพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 2567 มาที่ 0.9% และปี 2568 คาดไว้ที่ 1.4%



ดอกเบี้ยลง ส่งผลอย่างไร

จากข้อมูลสิ้นวันที่ 6 มิ.ย. 67 หลังการประชุม ECB พบว่า

• กองทุนหลักของ K-EUROPE-A(D) หรือ Allianz Europe Equity Growth มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.04%เทียบกับวันก่อนหน้า

• กองทุนหลักของ K-EUX หรือ iShares Core EURO STOXX 50 UCITS ETF มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.66%เทียบกับวันก่อนหน้า

• กองทุนหลักของ K-EUSMALL หรือ Invesco Continental European Small Cap Equity Fund มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.26%เทียบกับวันก่อนหน้า


ซึ่งการที่ดอกเบี้ยลดลง ย่อมส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ ทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงธุรกิจมีกำไรมากขึ้น ทำให้หุ้นมีความน่าสนใจมากขึ้นราคาจึงปรับตัวขึ้น ซึ่งด้วยเหตุผลเดียวกันผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกู้ยืมเงินจากในประเทศที่มีการลดดอกเบี้ย จึงได้รับประโยชน์จากต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำลงเช่นกัน ซึ่งหากธนาคารกลางแห่งประเทศไทยมีการปรับลดดอกเบี้ยลงตาม ECB ผู้ประกอบธุรกิจในไทย ผู้ที่มีภาระผ่อนหนี้บ้าน รวมถึงผู้ที่กำลังจะคิดกู้ซื้อบ้าน/รถยนต์ในอนาคต ก็จะได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยลงเช่นกัน


สำหรับผู้ฝากเงินหรือเน้นลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีกำหนดอายุโครงการ (Term Fund) การเลือกล็อคเงินในเงินฝากประจำระยะยาว หรือ Term Fund ระยะยาว ที่ให้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูงกว่าทางเลือกระยะสั้น และเป็นการล็อคผลตอบแทนก่อนที่ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนกำลังจะปรับตัวลง ถือเป็นทางเลือกที่ควรพิจารณาสำหรับผู้ที่ชื่นชอบทางเลือกเหล่านี้และเป็นเงินที่ตั้งใจฝากหรือลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว


ส่วนกองทุนตราสารหนี้แบบที่ซื้อขายได้ทุกวันทำการ เช่น กองทุน K-FIXEDPLUS-A ที่มักมีการปรับตัวขึ้นได้แรง ภายในระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงที่ตลาดมีการลดดอกเบี้ย ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มผลตอบแทนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างกองทุนหุ้น โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของ K WEALTH “3 ข้อดี จังหวะนี้ต้องมีกองตราสารหนี้ติดพอร์ต


โดยการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นอกจากปัจจัยภายในประเทศแล้ว อาจรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งจะมีการประชุมครั้งถัดไป เช่น วันที่ 11-12 มิ.ย. 30-31 ก.ค. และ 17-18 ก.ย.67 โดยตลาดคาดว่า FED อาจมีการลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ย. 67



คำแนะนำการลงทุน

คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB จะหนุนเศรษฐกิจยุโรปในช่วงหลังจากนี้ และจะส่งผลต่อไปยังการปรับประมาณการ EPS ซึ่งเริ่มมีสัญญาณการทยอยฟื้นตัวในช่วงก่อนหน้านี้ ในส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะทรงตัวหรือทยอยปรับตัวลง เนื่องจากผลของการใช้นโยบายการเงินตึงตัวและราคาพลังงานปรับตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน K WEALTH จึงยังมีมุมมองค่อนข้างเป็นบวก (Slightly Positive) ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป


• ผู้ถือกองทุนหุ้นยุโรป เช่น K-EUROPE-A(D) K-EUX K-EUSMALL

o สามารถถือลงทุนต่อได้ หากกองทุนหุ้นยุโรปยังมีสัดส่วนการลงทุนไม่เกิน 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด

o หากมีสัดส่วนการลงทุนเกิน 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำทยอยขายทำกำไรเพื่อลดสัดส่วนลง และนำเงินไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่นของ K WEALTH เช่น K-VIETNAM K-GHEALTH หรือหากกองทุนหุ้นยุโรปที่ถือมีกำไรเกิน 10% แนะนำพิจารณาขายทำกำไรบางส่วน และนำเงินที่ขายคืนดังกล่าวไปลงทุนในกองทุนหุ้นแนะนำของ K WEALTH

o สำหรับผู้ที่ถือกองทุน KEURMF เพื่อลดหย่อนภาษี ก็ยังคงสามารถถือลงทุนต่อได้ แต่หากมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นยุโรปเกิน 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือต้องการย้ายเงินไปลงทุนกองทุนอื่น แนะนำพิจารณาสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปกองทุนกลุ่ม RMF ด้วยกัน เช่น KVIETNAMRMF หรือ KGHRMF


• ผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่ม

o หากรับความเสี่ยงได้สูง และยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นยุโรปเกิน 30%ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำทยอยเข้าลงทุนกองทุน K-EUROPE-A(D) (หรือ K-VIETNAM) รวมถึงเป็นจังหวะทยอยสะสมกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง KEURMF หรือ KVIETNAMRMF (หรือ K-VIETNAM-SSF)

o หากรับความเสี่ยงได้ปานกลาง แนะนำทยอยลงทุนกองทุนผสม K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP

o หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ และสามารถลงทุนได้ 1-1.5 ปีขึ้นไป แนะนำลงทุนกองทุนตราสารหนี้ K-FIXEDPLUS-A


ขอบคุณข้อมูลจาก KAsset

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
Back to top