การลงทุน หมายถึง การนำเงินที่เก็บออมไว้ไปใช้วิธีการต่างๆ เพื่อคาดหวังผลตอบแทนในอนาคต ผลตอบแทนนี้ อาจมาในรูปแบบของเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือมูลค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ในยุคปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น เงินเฟ้อที่คืบคลาน การออมเงินอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การลงทุนจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการทำให้เงินของเรา "งอกเงย" ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น การเริ่มต้นลงทุนนั้นไม่ยาก ปัจจุบันมีช่องทางการลงทุนที่หลากหลาย เหมาะกับนักลงทุนทุกระดับนักลงทุนมือใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจประเภทของการลงทุน ความเสี่ยง ผลตอบแทน และเลือกประเภทการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง
STEP1: ทำความเข้าใจในสินทรัพย์การลงทุนแต่ละประเภท
ในยุคปัจจุบันการออมเงินอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การลงทุนจึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญ ช่วยให้เงินของเราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความหลากหลายแต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ และเลือกประเภทการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้
1.การลงทุนในตราสารหนี้ หมายถึง การให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาล บริษัท หรือองค์กรต่างๆ โดยแลกกับดอกเบี้ย ตราสารหนี้ที่นิยมลงทุน เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ความเสี่ยง: การลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้าง เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทน: การลงทุนในตราสารหนี้มีโอกาสให้ผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำเช่นกัน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคง
2.การลงทุนในหุ้น หมายถึง การซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนจะเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของบริษัท และมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลจากกำไรของบริษัท
ความเสี่ยง: การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงสูง ราคาหุ้นอาจผันผวนขึ้นลงตามผลประกอบการของบริษัท สภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ นักลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมด
ผลตอบแทน: การลงทุนในหุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุน
3.การลงทุนในอนุพันธ์ หมายถึง การลงทุนในสัญญาที่อ้างอิงกับราคาของสินทรัพย์อื่น เช่น หุ้น ตราสารหนี้ ดัชนี ฯลฯ
ความเสี่ยง: การลงทุนในอนุพันธ์มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมด เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการลงทุน
ผลตอบแทน: การลงทุนในอนุพันธ์มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
4.การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี หมายถึง การซื้อสกุลเงินดิจิตอล ตัวอย่างคริปโตเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์ อีเธอร์เรียม
ความเสี่ยง: การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากราคาคริปโตเคอร์เรนซีมีความผันผวนสูง
ผลตอบแทน: สูงมากเช่นกัน ในปัจจุบันจะเป็นการลงทุนเพื่อนการเก็งกำไรจากราคาส่วนต่างในการซื้อและขาย
กองทุนรวม เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากกองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลายประเภท การกระจายการลงทุนไปในหลายสินทรัพย์ ครอบคลุมสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้น กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ เป็นต้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
STEP2: การตั้งเป้าหมายการลงทุน
นักลงทุนแต่ละคนล้วนมีจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน บางคนมุ่งมั่นสู่ความมั่นคงในระยะยาว บางคนแสวงหาผลตอบแทนเร่งด่วน การเลือกเส้นทางที่ถูกต้องเปรียบเสมือนการเลือกกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมจะนำพาให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลงทุนระยะสั้น: มุ่งเน้นสภาพคล่องและผลตอบแทนเหนือเงินฝาก การลงทุนระยะสั้น มักมี ระยะเวลา 1-3 เดือน ไปจนถึง 1-3 ปี เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องสูงหรือพักเงินไว้เพื่อนำไปลงทุนต่อในอนาคตเป้าหมายหลักคือ ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก สินทรัพย์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะสั้น ได้แก่ 1.กองทุนรวมตลาดเงิน: มีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการพักเงินระยะสั้น 2.กองทุนรวมตราสารหนี้: มีความเสี่ยงปานกลาง ให้ผลตอบแทนมากกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้บ้าง 3.สลากออมทรัพย์: มีความเสี่ยงต่ำ รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักลงทุนบางกลุ่มที่มุ่งหวังทำกำไรจากความผันผวนของตลาดผ่านกลยุทธ์การจับจังหวะการลงทุน ซึ่งมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนต้องมีความรู้ ความชำนาญ ติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด และมีสภาพการเงินที่พร้อมรับความผันผวน การลงทุนระยะยาว: มุ่งสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและเติบโต การลงทุนระยะยาว มักมี ระยะเวลา มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มุ่งสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและเติบโตในระยะยาว สินทรัพย์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว ได้แก่
1.หุ้นกู้: มีความเสี่ยงปานกลาง ให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้บ้าง
2.หุ้น: มีความเสี่ยงสูง แต่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูง มีระยะเวลาลงทุนยาว และมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หุ้น
3.กองทุนรวมหุ้น: กระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในหุ้นหลายตัว เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาหรือความรู้ในการวิเคราะห์หุ้นด้วยตนเอง 4.กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์: ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์
การลงทุนระยะยาวช่วยลดความผันผวนของตลาดในระยะสั้น นักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การเลือกกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมเปรียบเสมือนการเลือกเข็มทิศนำทางช่วยให้นักลงทุนมุ่งหน้าสู่เป้าหมายบรรลุความสำเร็จทางการเงินสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต
STEP3: อย่าลืมการบริหารความเสี่ยง
ลงทุนควรประเมินระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้โดยพิจารณาจากเป้าหมาย ระยะเวลา สภาพการเงิน และความอดทนต่อความผันผวน กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงช่วยให้นักลงทุนลดโอกาสเผชิญกับอุปสรรคบนเส้นทางการลงทุนกลยุทธ์เหล่านี้ได้แก่
• กระจายความเสี่ยง: ลงทุนใน สินทรัพย์หลากหลายประเภท ช่วยลดความเสี่ยงจากสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง
• ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ: ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์
• ศึกษาข้อมูล: ทำความเข้าใจ ลักษณะ ความเสี่ยง ผลตอบแทน ของสินทรัพย์ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ตรวจสอบพอร์ตการลงทุนอยู่เสมอ: เมื่อลงทุนแล้ว ต้องตรวจสอบความก้าวหน้าของพอร์ตทุกเดือนหรือทุกไตรมาส เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและสถานภาพการลงทุนอยู่เสมอ
การยอมรับความเสี่ยงและกลยุทธ์ลดความเสี่ยงเปรียบเสมือนเกราะป้องกันช่วยให้นักลงทุนมุ่งมั่นสู่เป้าหมายทางการเงินบรรลุความสำเร็จสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต
กลยุทธ์กระจายการลงทุน
การกระจายความเสี่ยงคือการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอให้เหลือน้อยที่สุด โดยการลดผลกระทบของการลงทุนใดๆ ต่อผลตอบแทน เนื่องจากหากการลงทุนหนึ่งมีประสิทธิภาพไม่ดี ความสูญเสียสามารถชดเชยด้วยกำไรจากการลงทุนอื่นๆ ได้ การกระจายพอร์ตการลงทุนทำให้มีผลตอบแทนที่น่าประทับใจพร้อมทั้งลดความเสี่ยงได้อีกด้วย ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกันช่วยให้แน่ใจว่าการลงทุนไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัท อุตสาหกรรม หรือภาคส่วนใดๆ มากเกินไป ช่วยปกป้องพอร์ตโฟลิโอจากความผันผวนของตลาดอย่างกะทันหันหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอื่น ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อผลตอบแทนจากการลงทุน
ที่มา: Kasset
จากภาพจะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบกระจ่ายการลงทุน Diversified ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.9% อาจจะไม่ได้สูงมากแต่ก็ยังมากกว่าสินทรัพย์หลายๆประเภท และหากมองความผันผวนในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนแบบกระจายตัว มีความผันผวนค่อนข้างต่ำ จึงสรุปได้ว่าการลงทุนแบบกระจายตัวให้ผลตอบแทนที่ดีและช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนได้ด้วย
กลยุทธ์การลงทุนแบบต่อเนื่อง
DCA ย่อมาจาก Dollar-Cost Averaging หรือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้นไปที่การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน โดยไม่คำนึงถึงราคาของสินทรัพย์ลงทุนในปัจจุบัน กลยุทธ์นี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา สร้างวินัยการลงทุน และสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่างการทำ DCA ผ่านกองทุนรวม K-WPULTIMATE ซึ่งเป็นกอทุนที่มีการลุงทุนแบบ Diversified สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 70 - 100% และตราสารหนี้ 0 – 30% เป็นการลงทุนย้อนหลัง 1 ปีจนถึงปันจุบัน ตามตัวอย่างด้านล่างนี้
จากตัวอย่างจะเห็นว่า หากนำเงิน 5,000 บาท มาลงทุนแบบ DCA ในกองทุน WP-ULTIMATE ทุกเดือน ตั้งแต่ต้นปี 2023 - ปัจจุบัน จำนวนเงินลงทุนรวม 60,000 บาท ได้หน่วยลงทุนทั้งสิ้น 6,688 หน่วย ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 8.985 บาทต่อหน่วย โดยปัจจุบัน ณ 13 มิ.ย. 24 มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.6787 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมาเป็น 64,731 บาท ได้กำไร 4,731 บาท หรือคิดเป็น 7.89% ซึ่งผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าการลงทุนด้วยเงินก้อน 60,000 บาทเพียงครั้งเดียวในช่วงต้นปี 2024
จะเห็นได้ว่าการลงทุนด้วยเงินก้อนเดียวในบางจัวหวะจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น ในวันที่ 2 ส.ค. 23 ที่ราคาต่อหน่วย 8.86 บาทต่อหน่วย และลงทุนจำนวนเงิน 60,000 บาท จะได้จำนวนหน่วยทั้งสิ้น 6,772 หน่วย และจากราคาปัจจับัน ณ 13 มิ.ย. 24 มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.6787 บาทต่อหน่วย มูลค่าในปัจจุบันจะอยู่ที่ 65,544 บาท หรือคิดเป็นกำไร 9.24% ซึ่งจะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนแบบ DCA และได้ผลตอบแทนสูงกว่า
ช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้นการ DCA จะช่วยซื้อหน่วยในราคาเฉลี่ย แต่ผลตอบแทนโดยรวมอาจน้อยกว่าการลงทุนแบบก้อนเดีย แต่ต้อง อาศัยการจับจังหวะ ซึ่งมีความเสี่ยงหากซื้อผิดจังหวะอาจขาดทุนได้ ในทางกลับกัน ช่วงตลาดขาลง การลงทุนแบบ DCA อาจจะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินก้อนเพียงครั้งเดียว เพราะไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าหน่วยลงทุนในอนาคตจะเป็นเท่าไร ซื้อตอนไหนจะได้ราคาเท่าไร และคงไม่มีใครสามารถจับจังหวะการลงทุนได้ถูกต้องทุกครั้ง
การ DCA เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสร้างวินัยการลงทุน และ ลดความเสี่ยง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะตลาด ส่วนการลงทุนแบบก้อนเดียวเหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์และมั่นใจในการจับจังหวะตลาด หวังผลตอบแทนสูง แต่ต้องยอมรับความเสี่ยง สำหรับนักลงทุนทั่วไปการทยอยลงทุนแบบ DCA ในกองทุนผสมทุกเดือน ถือเป็นวิธีที่ดีเพราะช่วยกระจายความเสี่ยง และ สร้างวินัยการลงทุนในระยะยาว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Kasset, Kwealth