จากภาวะสังคมและการทำงานในปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น พักผ่อนน้อยลง รับประทานไม่เป็นเวลา หรือแม้แต้ความเครียดจากงานหรือการใช้ชีวิต ส่งผลให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพฤติกรรมการทำงานในลักษณะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเพียงพอ รวมถึงพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก
โรคร้ายที่คนรุ่นใหม่ควรระมัดระวัง
โรคร้ายที่คนรุ่นใหม่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมากเนื่องจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น
1.โรคออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง ตาแห้ง ปวดศีรษะ และรู้สึกอ่อนเพลีย สาเหตุหลักมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะทำงานที่ไม่พอดี การนั่งหลังค่อมห่อไหล่ และการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า และนอนไม่หลับได้
วิธีการรักษา มีหลายวิธี เช่น การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัด การนวดแผนไทย และการฝังเข็ม
ค่ารักษา อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและสถานพยาบาลที่เลือกใช้ โดยทั่วไปการรักษาด้วยการออกกำลังกายและการปรับสภาพแวดล้อมจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การฝังเข็มหรือการทำกายภาพบำบัด
2.โรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร เกิดจาการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาส่งผลให้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งสามารถระคายเคืองและทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ การใช้ยาแก้ปวดกลุ่มนอนสเตอรอยด์เป็นเวลานาน การดื่มแอลกอฮอล์จัด ความเครียด และกรดในกระเพาะอาหารสูงเกินไป ก็เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนกระเพาะ และมีเลือดออกจากกระเพาะอาหาร
การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบมีหลายวิธีและค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามสถานพยาบาลและวิธีการรักษา โดยทั่วไปการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบอาจรวมถึงการใช้ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะ (ในกรณีที่มีการติดเชื้อ Helicobacter pylori) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและการใช้ชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาจเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 ถึง 5,000 บาทสำหรับการรักษาเบื้องต้น แต่หากต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร ค่าใช้จ่ายอาจสูงขึ้นถึงครั้งละ 14,000 ถึง 40,000 บาท
3.โรคหัวใจ
สาเหตุ โรคหัวใจเป็นภาวะที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือดหัวใจ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
อาการของโรคหัวใจอาจรวมถึงเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย ใจสั่น และบวมที่ขา
การเลือกอาหารที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาหารที่แนะนำเพื่อป้องกันการเป็นโรคหัวใจได้แก่
1. ปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
2. ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เช่น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กีวี และแอปเปิ้ล ซึ่งมีเส้นใยอาหารและวิตามินสูง
3. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล
4. ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม บร็อกโคลี่ ที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงหัวใจ
5. น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง ที่ควรใช้ในปริมาณน้อย
การรับประทานอาหารเหล่านี้ควบคู่กับการออกกำลังกายและการลดความเครียดจะช่วยให้หัวใจแข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่ายในการรักษา สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการรักษาและโรงพยาบาลที่เลือกใช้ โดยทั่วไปแล้ว
• การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 - 200,000 บาท
• การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพองมีค่าใช้จ่ายประมาณ 110,000 – 768,000 บาท
• การผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 590,000 - 800,000 บาท
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจของแต่ละโรงพยาบาล
4.โรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราเป็นประจำ
อาการของโรคนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของการอุดตันหรือการแตกของหลอดเลือดในสมอง โดยอาการที่พบได้แก่ อ่อนแรง เดินเซ หรือเคลื่อนไหวลำบาก พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว และเจ็บหัว
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คือ การรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มสุรา นอกจากนี้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้เป็นอย่างดี
ค่ารักษาโรคหลอดเลือดสมองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่ต้องรับการรักษา
หากเป็นการรักษาในระยะสั้น ค่าใช้จ่ายอาจอยู่ระหว่าง 110,000 - 800,000 บาท แต่หากต้องรับการรักษาระยะยาว ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึงปีละ 2-3 ล้านบาทต่อคน
ป้องกันความเสี่ยงจากโรคภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยการปรับพฤติกรรมและดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลสุขภาพสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
การดูแลค่าใช้จ่ายสุขภาพมีทางเลือกอะไรบ้าง
สวัสดิการจากประกันสังคม
ประกันสังคมในประเทศไทยมีการคุ้มครองผู้ประกันตนในกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปและโรคร้ายแรงหลายประเภท เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังมีการคุ้มครองโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบเรื้อรัง อีกด้วย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และขั้นตอนการใช้สิทธิ สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม หรือโทรสายด่วน 1506
การทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง
การทำประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
อาจเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่มักไม่ให้ความสำคัญ เพราะมีความเชื่อเรื่องของสุขภาพที่ยังแข็งแรงและสิทธิในการเบิกจ่ายจากที่ทำงาน หรือสวัสดิการจากรัฐ แต่ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงจะเป็นการปิดความเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและโรคร้ายแรงในส่วนที่สวัสดิการหรือประกันสังคมไม่ครอบคลุม
การเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับคนรุ่นใหม่
ประกันสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่มักจะเน้นความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเข้าใจง่าย เพื่อให้สามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น
ประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Plus จากเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาลทั่วไปและโรคร้ายแรง โดยมีจุดเด่นที่
• การเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 5 ล้านบาทต่อครั้ง
• สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การนอนห้องเดี่ยวมาตรฐานหรือการเลือกกำหนดความรับผิดส่วนแรกเพื่อลดค่าเบี้ยประกันภัย
• สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับการคลอดบุตรและการดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การตรวจสุขภาพและการฉีดวัคซีน
• สามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุ 11-90 ปี และคุ้มครองยาวนานถึงอายุ 99 ปี
• สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
สำหรับคนที่มีประกันสังคมหรือมีสวัสดิการจากที่ทำงานอยู่แล้ว สามารถเลือกแผนที่มีความรับผิดส่วนแรก โดยเบิกจากสวัสดิการที่มีก่อนซึ่งจะช่วยให้จ่ายค่าเบี้ยถูกลง
นอกจากนี้ยังมีประกันโรคร้ายแรงจากเมืองไทยประกันชีวิตอีกหลายแผนให้เลือกตามความต้องการของคุณ โดยครอบคลุมโรคร้ายแรงหลายประเภท เช่น มะเร็ง หัวใจ อัมพฤกษ์ และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงการคุ้มครองสำหรับการผ่าตัดและการรักษาในระหว่างการเจ็บป่วย
คุณสามารถเลือกแผนที่เหมาะสมกับงบประมาณและความต้องการของคุณได้ และเบี้ยประกันสุขภาพยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
การมีประกันสุขภาพไม่เพียงแต่ช่วยในยามเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนสุขภาพในระยะยาวช่วยให้คนรุ่นใหม่มีความมั่นคงทางการเงินและสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ การออกกำลังกายและรับประทานที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงไปนานๆ และการตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้เราสามารถติดตามสุขภาพของตนเองได้อย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพได้แต่เนิ่นๆ และรักษาได้ทันท่วงที
คำเตือน : โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
• เมืองไทยประกันชีวิต