กนง. มีมติ 6-1 เสียง คงดอกเบี้ยตามคาด
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยกรรมการ 1 ท่าน เห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและบรรเทาภาระลูกหนี้
คณะกรรมการมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ แม้แรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อจากนี้จะชะลอตัวลงบ้าง หลังขยายตัวดีในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกสินค้าและภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยการส่งออกสินค้าบางกลุ่มยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง
ธปท. จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยงส่งผลต่อทิศทางนโยบายการเงิน
ธปท. ยังคงคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2567 ไว้ที่ 2.6% แต่แม้จะคงแนวโน้มการเติบโตในระดับเดียวกับการประชุมครั้งก่อน แต่มี 3 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามในระยะต่อจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางนโยบายการเงิน ดังนี้
1. การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส โดย ธปท. กำลังติดตามว่าการลดลงเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวหรือเป็นผลจากปัจจัยอื่นที่มีนัยยะ
2. การลงทุนภาครัฐที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าหลังมีรัฐบาลใหม่
3. พัฒนาการคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อเริ่มหมดอายุ อาจทำให้ลูกหนี้ NPL เพิ่มขึ้น กดดันการปล่อยสินเชื่อ และจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย
การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้เป็นไปตามคาดการณ์ โดย กนง. มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงทิศทางการประชุม Fed โดยเฉพาะในเดือน ก.ย.
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายทั้งการฟื้นตัวของภาคส่งออกที่โดนกดดันด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการบริโภคภายใน เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงพัฒนาการคุณภาพสินเชื่อและระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง ซึ่งยังต้องติดตามทิศทางปัจจัยเหล่านี้หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และทิศทางตัวเลขเศรษฐกิจ K WEALTH จึงมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย
คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นไทย
• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นไทย มีดังนี้
o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นไทย แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น
o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นไทย แนะนำถือลงทุนต่อ
สำหรับกองทุนแนะนำอื่น มีดังนี้
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o มีความสนใจกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กนง., KAsset, Prachachat
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM และ K-GINFRA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด