ประเด็นร้อน: ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงดอกเบี้ย เผชิญความไม่แน่นอนการเมือง

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ตามที่คาดการณ์ ท่ามกลางภาวะการเมืองภายในประเทศที่ไม่เสถียร ประกอบกับปัจจัยด้านเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้น และปัจจัยเสี่ยงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

• ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ตามที่คาดการณ์ ท่ามกลางภาวะการเมืองภายในประเทศที่ไม่เสถียร ประกอบกับปัจจัยด้านเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้น และปัจจัยเสี่ยงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ


• K WEALTH มีมุมมอง Slightly Negative ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น จึงแนะนำให้ขายทำกำไรในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงนี้ และแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Global Defensive เช่น กลุ่ม Healthcare และ Infrastructure ที่มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว





BoJ คงดอกเบี้ย การเมืองไม่แน่นอน เงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าระยะยาว

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ตามที่คาดการณ์ ท่ามกลางภาวะการเมืองภายในประเทศที่ไม่เสถียร หลังจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ของญี่ปุ่นประสบผลการเลือกตั้งที่แย่ที่สุดในรอบ 15 ปี สูญเสียที่นั่งในสภาใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยปัจจัยดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า เพิ่มความระมัดระวังในตลาดการเงินและทำให้นักลงทุนต้องเฝ้าระวังความผันผวนอย่างใกล้ชิด


นอกจากนี้ด้วยอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่เปิดเผยมาในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 2.5% (YoY) สูงกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ซึ่งในระยะหลังเริ่มมีแรงกดดันเพิ่มจากเงินเยนที่กลับมาอ่อนค่าซึ่งอาจส่งให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้านำเข้า BOJ ต้องพิจารณาทิศทางนโยบายการเงินอย่างรอบคอบ



ดัชนีที่เกี่ยวข้อง

หลังมีการเปิดเผยผลการประชุมธนาคารญี่ปุ่น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงเล็กน้อย ดังนี้

• TOPIX -0.26% (31 Oct, 11.00 am)

• Nikkei 225 -0.80% (31 Oct, 11.00 am)



มุมมองการลงทุน

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับแรงกกดันจากการเมืองที่ไม่แน่นอน สภาพเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว และทิศทางนโยบายการเงินที่ตึงตัว K WEALTH มีมุมมอง Slightly Negative ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น จึงแนะนำให้ขายทำกำไรในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงนี้ และแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Global Defensive เช่น กลุ่ม Healthcare และ Infrastructure ที่มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว



โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้

• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน

o หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่

 กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ

 กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้


• หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ

o กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน

o กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM, K-GINFRA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหรือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด



ผู้เขียน

K WEALTH
Back to top