รายได้ที่ต้องยื่นภาษีและฐานภาษี 2567
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ในรอบปีภาษี (1 มกราคม - 31 ธันวาคม) “ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี” แบ่งเป็นสำหรับคนโสดและคนที่สมรสแล้ว และ ต้องทราบประเภทของเงินได้ก่อนยื่นภาษีด้วย
ประเภทของเงินได้พึงประเมินแบ่งเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 40(1) เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา 40(2) รับจ้างทำงาน ค่านายหน้า 40(3) ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล 40(5) ค่าเช่าบ้าน/คอนโด หรือทรัพย์สินอื่น 40(6) วิชาชีพอิสระที่กำหนดไว้ เช่น แพทย์ นักบัญชี นักกฎหมาย วิศวกร ฯลฯ 40(7) รับเหมาก่อสร้าง และ 40(8) รายได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 อ้างอิงตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ขายของออนไลน์ ดารานักแสดง ฯลฯ
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นภาษี
คนโสด
|
ประเภทเงินได้
|
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
|
รายได้ทั้งปี |
มีเฉพาะ 40(1) เช่น เงินเดือน โบนัส
| 10,000 บาทขึ้นไป
| 120,000 บาทขึ้นไป
|
มีเงินได้ประเภทอื่นด้วย
| 5,000 บาทขึ้นไป
| 60,000 บาทขึ้นไป
|
คนที่สมรสแล้ว |
ประเภทเงินได้
| รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
|
รายได้ทั้งปี
|
มีเฉพาะ 40(1) เช่น เงินเดือน โบนัส
| รวมกัน 18,333 บาทขึ้นไป
| รวมกัน 220,000 บาทขึ้นไป
|
มีเงินได้ประเภทอื่นด้วย
| รวมกัน 10,000 บาทขึ้นไป
| รวมกัน 120,000 บาทขึ้นไป
|
จากตารางจะเห็นว่า บางคนแม้รายได้ยังไม่ถึงเกณ์ฑเสียภาษี แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีทุกปี ในช่วง ม.ค.-มี.ค. ของปีถัดไป
รายได้เท่าไหร่ที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี ใช้อะไรลดหย่อนได้บ้าง
บุคคลที่มีเงินได้สุทธิต่อปีมากกว่า 150,000 บาท ต้องเสียภาษี หรือสำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ที่มีจ่ายเงินประกันสังคม คือ คนที่มีรายได้ทั้งปีมากกว่า 319,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 26,583 บาท ต้องเสียภาษี โดยมีรายละเอียดดังนี้
เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
- รายได้รวม 319,000 บาท
- หัก ค่าใช้จ่ายตามกฎหมายสำหรับเงินได้ 40(1) (100,000) บาท
- หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000) บาท
- หัก เงินสะสมประกันสังคม (9,000) บาท
- เหลือ เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่นำมาหักจากเงินได้ทั้งปีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในปีนั้นๆ โดยอาจมีมาตรการพิเศษ เช่น โครงการที่ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น
- Easy e-Receipt สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567
- เที่ยวเมืองรอง 2567 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับ 55 จังหวัดเมืองรอง (ที่มีการประกาศ)ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ ค่าแพ็คเกจทัวร์ ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567
- สำหรับรายละเอียดรายการลดหย่อน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความของ K WEALTH “รวมรายการสิทธิค่าหักลดหย่อนภาษี ปี 2567 ที่คุณต้องรู้
สำหรับคนที่มีรายได้มากกว่า 319,000 บาท เมื่อคำนวณเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่มีแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายได้ โดยนำ “เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี” ที่เป็นอัตราภาษีก้าวหน้า ตามตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567
แบ่งตามฐานภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิ (บาท)
|
อัตราภาษี (%)
|
0-150,000
| ได้รับยกเว้น
|
150,001-300,000
| 5
|
300,001-500,000
| 10
|
500,001-750,000
| 15
|
750,001-1,000,000
| 20
|
1,000,001-2,000,000
| 25
|
2,000,001-5,000,000
| 30
|
5,000,001 ขึ้นไป
| 35
|
เช่น เงินได้สุทธิ 600,000 บาท ภาษีเงินได้ = [(300,000 – 150,000) x 5%] + [(500,000 – 300,000) x 10%] + [(600,000 – 500,000) x 15%] = 37,500 บาท
หากคำนวณภาษีของตนเองแล้วพบว่าต้องเสียภาษีในจำนวนที่สูงกว่าที่คาดไว้ และอยากหาวิธีลดหย่อนเพื่อประหยัดภาษีพร้อมวางแผนการจัดการการเงินไปด้วยเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด K WEALTH ขอแนะนำ 3 กลุ่มทางเลือกลดหย่อนภาษี ดังนี้
- เลือกประกันชีวิต
- คนโสด ใช้เป็นความคุ้มครองดูแลค่ารักษาพยาบาลของตัวเอง ด้วยเบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท และแนบคู่กับประกันชีวิตแบบตลอดชีพเพื่อความคุ้มครองสุขภาพที่ต่อเนื่อง 75,000 บาท
- คนมีห่วง เลือกสร้างแผนมรดกให้คนข้างหลัง ด้วยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 100,000 บาท
- ใช้ประกันชีวิตวางแผนออมเงินเป้าหมายเพื่อการเกษียณ 100,000 บาท
- เลือกกองทุนลดหย่อนภาษี/ประกันบำนาญ
- กองทุน SSF สูงสุด 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 200,000 บาท (ถือครอง 10 ปี นับวันชนวัน)
- กองทุน RMF สูงสุด 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 500,000 บาท (ซื้อลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และอย่างน้อย 5 ปี จึงจะมีสิทธิขาย)
- ประกันแบบบำนาญ (ระบุว่า บำนาญลดหย่อนภาษีได้) สูงสุด 15% ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 200,000 บาท โดย SSF + RMF + ประกันบำนาญ + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯลฯ รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- เลือกกองทุน Thai ESG
- กองทุน Thai ESG สูงสุด 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 300,000 บาท (ถือครอง 5 ปี นับวันชนวัน)
วิธีการนี้จะช่วยให้เราประหยัดภาษีไปพร้อมๆกับการบริหารความเสี่ยงและการสร้างเงินออมไว้ใช้ในอนาคต ศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความของ K WEALTH “ลดหย่อนภาษีเต็ม Max เลือกอย่างไรให้คุ้มค่า ” หรือหากยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีแบบไหนดี แนะนำศึกษาข้อมูลเพิ่มได้จากบทความของ K WEALTH “รวบตึงสิ่งต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 2567 พร้อมโพยกองทุน ”
ขั้นตอนการขอคืนภาษี 2567
หากคำนวณแล้วพบว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินกว่าฐานภาษีของตนเอง ก็อาจสามารถขอคืนภาษีได้ เช่น คนฐานภาษี 5%-10% สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยที่ถูกหัก 15% ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดย
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเอกสารประกอบ
- นำรายได้จากดอกเบี้ยยื่นเป็นรายได้ส่วนเพิ่มจากรายได้อื่น พร้อมระบุภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายไป
- เลือกวิธีรับเงินคืนผ่านโอนเข้าบัญชีหรือเช็ค
- ติดตามสถานะการขอคืนภาษีผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการยื่นภาษี 2567
รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ทั้งจากรายได้เงินเดือน ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา เงินลงทุนกองทุน SSF/RMF/ThaiESG เบี้ยประกัน เงินบริจาค
- เอกสารอื่นๆ ประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี
สถานที่สำหรับการยื่นภาษี
- ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-Filing ของ กรมสรรพากร
https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
- ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยต้องทำการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้
- หรือหากไม่สะดวกยื่นออนไลน์ ก็สามารถยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ทั้งนี้ ในช่วงก่อนสิ้นปีเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เราจะรวบรวมเอกสารสำคัญและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร รวมถึงหากพบว่ามีค่าลดหย่อนใดที่ยังไม่เต็มสิทธิก็ยังมีเวลาให้ใช้สิทธิเพิ่มได้ทันภายในสิ้นปี เพื่อเตรียมพร้อมยื่นภาษีก่อนไปเคาน์ดาวน์ ซึ่งโดยปกติทางกรมสรรพากรจะมีการเปิดระบบให้สามารถยื่นภาษีได้ในช่วงประมาณเดือน ม.ค. - มี.ค. ของปีหน้า หากเรายื่นภาษีเร็ว ก็จะได้รับเงินคืนจากภาษีที่หักไว้เกินได้เร็ว เพราะหากยื่นภาษีใกล้ๆ วันก่อนปิดระบบ ก็อาจจะต้องรอคิวในการขอคืนภาษีนานหน่อย รวมทั้งมีโอกาสอาจหลงลืม ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนด เสี่ยงต่อการถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากกรมสรรพากรได้