เสียงสะท้อนจากคนวัยทำงาน
"ทำงานมาหลายปี แต่เงินเก็บยังน้อย แถมต้องดูแลทั้งตัวเองและพ่อแม่"
"ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เลี้ยงลูก ดูแลพ่อแม่ จะแบ่งเงินอย่างไรดี?"
นี่คือความกังวลที่สะท้อนจากคนวัยทำงานที่ต้องแบกรับภาระดูแลครอบครัว โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพ่อแม่ที่เริ่มมีปัญหา
หลายคนอาจคิดว่า ตนเองหรือพ่อแม่ "มีสวัสดิการภาครัฐหรือที่ทำงานอยู่แล้ว ทำไมต้องมีประกันสุขภาพ?" แต่ความจริงที่มักถูกมองข้าม คือ
• เมื่อพ่อแม่เกษียณ สวัสดิการจากที่ทำงานจะหมดไป
• การรักษาที่โรงพยาบาลรัฐอาจใช้เวลานาน และส่งผลกระทบต่องาน ทำให้ต้องลางานทั้งวัน
• ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนสูงขึ้นทุกปี และประมาณการค่าใช้จ่ายยาก
ทำไมต้องวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่วันนี้
• ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6-8% ต่อปี
• 70% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเกิดขึ้นในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป
• 1 ใน 3 ของคนวัยทำงานมีภาระต้องดูแลพ่อแม่ที่มีปัญหาสุขภาพ
D Health Plus ประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์คนทำงาน
1. ความคุ้มครองที่ครอบคลุม
• วงเงินค่ารักษาสูงถึง 5 ล้านบาทต่อครั้ง
• นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล
• ไม่ต้องสำรองจ่าย ใช้บริการได้ทันทีเมื่อเข้ารักษา
2. ความยืดหยุ่นสำหรับทุกงบประมาณ
• มีให้เลือกถึง 3 แผน ทั้งความรับผิดชอบส่วนแรกที่คุ้มครองค่าใช้จ่าย เฉพาะส่วนที่เกิน 100,000 บาท หรือ 30,000 บาท (ค่าใช้จ่ายส่วนแรก อาจเลือกเบิกจากสวัสดิการที่มี หรือเลือกชำระเอง) หรือเลือกความคุ้มครองตั้งแต่บาทแรก
• ประหยัดค่าเบี้ยประกันเมื่อมีสวัสดิการอื่นร่วม
• กำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยของประกันชีวิตแบบตลอดชีพที่เป็นสัญญาหลักได้ทั้งแบบ 5 ปี 9 ปี หรือ 19 ปี ระยะเวลาที่เหลือชำระเฉพาะส่วนของเบี้ยประกันสุขภาพ หรือเลือกแบบชำระถึงอายุ 99 ปี เพื่อให้ค่าเบี้ยประกันชีวิตรายปี เหมาะสมกับรายได้
3. การดูแลระยะยาว
• สัญญาหลักคุ้มครองชีวิตถึงอายุ 99 ปี
• เมื่อเกษียณสามารถปรับเพิ่มความคุ้มครองได้ เช่น จากแบบที่มีความรับผิดชอบส่วนแรก 30,000 บาท เป็นแบบที่มีความคุ้มครองตั้งแต่บาทแรก โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพใหม่
• ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพไปได้เรื่อยๆ มั่นใจในความต่อเนื่อง
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
กรณีทำประกันสุขภาพให้พ่อแม่
• ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ได้รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
• เงื่อนไข พ่อแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และผู้มีเงินได้ (ลูก) มีชื่อเป็นผู้ชำระเบี้ย
กรณีทำประกันสุขภาพให้ตัวเอง
• ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริง สูงสุด 25,000 บาท
• เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
แนวทางเลือกแผนประกัน
แผนสำหรับพ่อแม่
แนะนำเลือกแผนคุ้มครองตั้งแต่บาทแรก เพื่อให้ครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นกรณีเจ็บป่วย นอกจากนี้ ประกันสุขภาพยังให้ความสะดวกสบายในการเข้ารักษา โดยรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลที่เราสะดวก เช่น โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางกรณีที่ต้องการความเชี่ยวชาญในการรักษาเป็นพิเศษ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน
ตัวอย่าง ผู้เอาประกันภัย เพศหญิง อายุ 60 ปี
กรณีเน้นความคุ้มครองสุขภาพ เลือกทำทุนประกันชีวิตที่ต่ำได้
• ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 ทุนประกัน 100,000 บาท เบี้ยประกันปีละ 4,635 บาท
• สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ D Health Plus แผน Max คุ้มครองตั้งแต่บาทแรก เบี้ยประกันปีแรก 55,537 บาท
• เบี้ยประกันปีแรกรวม 60,172 บาทต่อปี
แผนสำหรับคนวัยทำงาน
แนะนำเลือกแผนที่มีความรับผิดชอบส่วนแรก 30,000 บาท หรือ 100,000 บาท โดยเบิกจากสวัสดิการที่ตัวเองมีไปก่อนซึ่งจะช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกัน แต่ยังได้รับความคุ้มครองสูง เมื่อค่ารักษาเกินความรับผิดชอบส่วนแรก ประกันจะดูแลค่ารักษาส่วนเกินให้
ตัวอย่าง ผู้เอาประกันภัย เพศหญิง อายุ 35 ปี
1. กรณีเน้นความคุ้มครองสุขภาพ เลือกทำทุนประกันชีวิตที่ต่ำได้
• ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 ทุนประกัน 100,000 บาท เบี้ยประกันปีละ 2,044 บาท
• สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ D Health Plus แผน Plus 2 คุ้มครองส่วนที่เกิน 30,000 บาทแรก เบี้ยประกันปีแรก 13,633 บาท
• เบี้ยประกันปีแรกรวม 15,677 บาทต่อปี
2. กรณีเน้นสร้างมรดกและคุ้มครองสุขภาพ เลือกทำทุนประกันชีวิตที่สูงได้
• ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 ทุนประกัน 1,000,000 บาท เบี้ยประกันปีละ 18,440 บาท
• สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ D Health Plus แผน Plus 2 คุ้มครองส่วนที่เกิน 30,000 บาทแรก เบี้ยประกันปีแรก 13,633 บาท
• เบี้ยประกันปีแรกรวม 32,073 บาทต่อปี
การวางแผนประกันสุขภาพที่ดีช่วยสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว อีกทั้งยังช่วยประหยัดภาษี และมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ นับเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่าสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของตนเอง หรือพ่อแม่ที่สูงอายุก็ตาม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต
.