กนง.คงดอกเบี้ยตามคาด
กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ในการประชุมวันที่ 18 ธ.ค. ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยเห็นว่าระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และรักษาเสถียรภาพในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่มีเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียดสำคัญของการประชุม
• เศรษฐกิจคาดว่าขยายตัวที่ 2.7% และ 2.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ จากแรงหนุนการบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าที่ปีนี้ทำได้ดีกว่าที่คาด จากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในปีหน้า
• เงินเฟ้อคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ จากหมวดพลังงานตามราคาน้ำมันในตลาดโลก คาดการณ์เงินเฟ้อระยะกลางอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3%
• ด้านสินเชื่อโดยรวมยังคงอยู่ในทิศทางชะลอลงโดยคณะกรรมการฯ ได้เน้นย้า ถึงการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปเนื่องจากจะกระทบกิจกรรมเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ที่มา : BOT, KResearch, NESDC และธนาคารกสิกรไทย
แถลงการณ์ของกนง. ในการประชุมครั้งนี้ สะท้อนถึงมุมมองต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่มีมากขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น ซึ่งกนง. คงจะติดตามพัฒนาการของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงิน รวมถึงผลของมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ของภาครัฐที่อาจช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้กับกลุ่มเปราะบางได้บ้างและพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ หลังจากผลการประชุมกนง. ออกมา ค่าเงินบาทและตลาดหุ้นไทยตอบรับผันผวน โดยค่าเงินบาทแกว่งอยู่ในกรอบ 34.25-34.27 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ ตลาดหุ้น SET Index ปิดบวกเล็กน้อย และตลาดการเงินยังคงคาดการณ์ ธปท. ลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 1.75% ณ สิ้นปี 2568
ดัชนีที่เกี่ยวข้อง
SET : 1,398.95 จุด (+0.24%)
มุมมองการลงทุน
K WEALTH ยังคงมีมุมมองเป็นกลาง ต่อตลาดหุ้นไทย คาดว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยลง 2 คร้ังในปีหน้า สู่ระดับ 1.75% เช่นเดียวกับที่ตลาดคาดการณ์ในปัจจุบัน จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง นโยบายการค้าสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนของประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งจีนและยุโรปยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ขณะที่เงินเฟ้อยังคงขยายตัวต่ำต่อเนื่องและการปล่อยสินเชื่อสู่ภาคเอกชนอ่อนแอ ในปีหน้ายังมีเหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามคือการคัดเลือกผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ซึ่งอาจจะเริ่มชัดเจนในไตรมาส 2
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนจาก
1) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2568 จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่จะช่วยหนุนภาคการบริโภค
2) แนวโน้มนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย หนุนเศรษฐกิจ
3) ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทย ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น คาดว่าจะเติบโตประมาณ 12% Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง
ตลาดคาดดอกเบี้ยไทยจะอยู่ที่ 1.75% ณ สิ้นปี 2568
เฟด ลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด แต่ปีหน้าอาจหั่นดอกเบี้ยน้อยลง
เฟดมีมติ 11-1 เสียงลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 4.25-4.5% ตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่ Dot plot ชี้ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในปีหน้า สู่ระดับ 3.75-4.0% ลดลงจากเดิมเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ชี้ว่าจะลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง เนื่องจากคาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% จากเดิมที่ 2.1% ในปี 2568
โดยพาวเวลล์ ประธานเฟด ระบุว่า ต้องเห็นเงินเฟ้อมีพัฒนาการในการชะลอลงมากกว่านี้ ก่อนตัดสินใจจะขยับดอกเบี้ยลงเพิ่มเติม โดยยังปรับเพิ่มค่ามัธยฐานของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะคงที่ในระยะยาวอีกครั้งเป็น 3% จาก 2.9% จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดี เกี่ยวกับการค้า การย้ายถิ่นฐาน และภาษีอากร ที่เพิ่มความไม่แน่นอนต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ
สิ่งที่น่าประหลาดใจให้กับตลาด คือ การคาดการณ์ของเฟดเกี่ยวกับนโยบายในอนาคต ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีหน้า แต่เฟดกลับคาดการณ์ว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง ในปี 2568 และเฟดไม่เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% จนถึงปี 2570 (เดิมคือ 2569)
หลังผลการประชุม ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าแรง 1% ทะลุระดับ 108 สูงสุดตั้งแต่ ก.ย. 2565 และบอนด์ยีลด์ 2 ปี และ 10 ปี ที่เพิ่มขึ้นกว่า 10bps ซึ่งทำให้ตลาดมองว่าเฟดอาจจะลดดอกเบี้ยไม่ถึง 2 ครั้งในปีหน้า
คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ
ที่มา : Bloomberg
Dot plot เดือน ธ.ค.
ที่มา : Bloomberg
ดัชนีที่เกี่ยวข้อง
Dow Jones : 42,326.87 (-2.58%)
S&P500 : 5,872.16 (2.95%)
Nasdaq : 19,380.87 (3.62%)
มุมมองการลงทุน
ผลการประชุมเฟดโดยรวมมีท่าทีที่ hawkish มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น และดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
อย่างไรก็ตาม เฟดกังวลเรื่องความเสี่ยงเรื่องของเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะที่มีความกังวลเรื่องตลาดแรงงานน้อยลง มีการปรับการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯโดยยังคงแข็งแกร่ง และเฟดจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังคงต้องรอติดตามการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของ Trump หลังดำรงตำแหน่ง ว่าจะออกมาตามที่หาเสียงผลการประชุมเฟดโดยรวมมีท่าทีที่ hawkish มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น และดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
ไว้มากแค่ไหน จะทำให้เกิด Fiscal Deficit ขนาดไหน จากนโยบายลดภาษี Corporate tax และ Income tax
ตลาดช่วงก่อนปรับตัวขึ้นจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและกระแส AI สะท้อนผ่านมูลค่าที่ตึงตัว ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวม มี upside จำกัด K WEALTH จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ให้เน้น selective ในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย protectionism จากการที่เน้นตลาดภายในประเทศ พร้อมทั้งมีมูลค่าที่น่าสนใจ
คำแนะนำการลงทุนกองทุนสหรัฐฯ
o นักลงทุนที่ถืออยู่ : แนะนำถือต่อ หรือหากมีกำไรในกองทุน K-USA , K-USXNDQ หรือ KUS500X มากกว่า 10% แนะนำขายทำกำไรบางส่วน
o นักลงทุนใหม่ : หากต้องการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ สามารถทยอยลงทุนได้ แนะนำเลือกลงทุนใน กองทุนที่ทาง K WEALTH แนะนำ อย่าง K-HIT , K-GSELECT ที่เน้นกระจายการลงทุนในหุ้นสหรัฐและหุ้นคุณภาพดีทั่วโลก
คำแนะนำการลงทุนกองทุนหุ้นไทย
o ผู้ที่ลงทุนกองทุนไทย ได้แก่ K-STAR ,K-STEQ , K-VALUE เป็นต้น สามารถถือลงทุนต่อได้ หรือหากมีกำไรแนะนำขายทำกำไรบางส่วนโดยมีสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำไม่เกิน 15% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
o สำหรับผู้ที่ยังไม่มีกองทุนหุ้นไทย แนะนำรอประเมินสถานการณ์ และพิจารณาการลงทุนในกองทุนอื่นที่แนะนำ เช่น K-VIETNAM, K-WEALTHPLUS FUND, K-GHEALTH เป็นต้น
คำแนะนำการลงทุนกองทุนตราสารหนี้
หลังจากที่กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลงในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา มองว่ายังมีโอกาสที่ กนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยได้เพิ่มเติมในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ซึ่งจะทำให้การลงทุนในตราสารหนี้จะได้ประโยชน์จากราคาที่ปรับขึ้นทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยมีแนวโน้มผันผวนน้อยกว่าสหรัฐฯ แนะนำกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ไทยมากกว่าตราสารหนี้โลก เนื่องจากมีความผันผวนที่น้อยกว่า
o ผู้ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่ K-SFPLUS , K-FIXED , K-FIXEDPLUS เป็นต้น สามารถทยอยลงทุนเพิ่มได้
o สำหรับผู้ที่ยังไม่มีกองทุน แนะนำทยอยสะสม ในกองทุน K-SFPLUS , K-FIXED , K-FIXEDPLUS
o กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
o กองทุน K-SFPLUS (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
o กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ เหมาะกับการลงทุน 1-1.5 ปี
o กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้ เหมาะกับการลงทุน 1-1.5 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg , ศูนย์วิจัยกสิกร , ธนาคารกสิกรไทย ,RYT9