ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ เอกสารสำคัญในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียนรู้ความสำคัญ ประโยชน์ วิธีการจัดการ การตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมคำแนะนำสำหรับการยื่นภาษีอย่างมั่นใจและถูกต้อง

50 ทวิ คืออะไร ใช้ทำอะไร? ไขทุกข้อสงสัยใบทวิ 50 เตรียมความพร้อมยื่นภาษีแบบมั่นใจ

ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ เอกสารสำคัญในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียนรู้ความสำคัญ ประโยชน์ วิธีการจัดการ การตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมคำแนะนำสำหรับการยื่นภาษีอย่างมั่นใจและถูกต้อง

  • ใบทวิ 50 เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องมีสำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือฟรีแลนซ์ เพราะเป็นหลักฐานยืนยันการหักภาษี ณ ที่จ่าย และเป็นตัวช่วยสำคัญในการขอคืนภาษีกรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง
  • ใบทวิ 50 นอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีแล้ว ยังช่วยในการวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพิจารณาลงทุนในกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีต่างๆ เช่น กองทุน RMF และ Thai ESG รวมถึงประกันบำนาญ ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ซึ่งผู้มีเงินได้ควรวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับรายได้และเป้าหมายทางการเงินของตนเอง

ในช่วงต้นปีซึ่งเป็นเทศกาลของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลายคนคงเริ่มรวบรวมเอกสารสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมในการยื่นภาษี โดยเฉพาะใบหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "ใบทวิ 50" ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้มีรายได้ทั้งพนักงานประจำและฟรีแลนซ์จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี K WEALTH จึงได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับใบทวิ 50 มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกัน


ใบทวิ 50 คืออะไร และสำคัญอย่างไร

ใบทวิ 50 คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้จ่ายเงินได้ เช่น นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ออกให้กับผู้รับเงินได้เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายเงินได้และหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วหรือไม่ โดยเอกสารนี้จะระบุรายละเอียดสำคัญต่างๆ เช่น จำนวนเงินที่จ่าย ภาษีที่หักและนำส่งไว้ และข้อมูลของทั้งผู้จ่ายและผู้รับเงินได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการคำนวณภาษีและวางแผนการลดหย่อนภาษีในอนาคต


ได้รับใบทวิ 50 เมื่อไร

สำหรับพนักงานประจำ นายจ้างมีหน้าที่ต้องออกใบทวิ 50 ให้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป


สำหรับฟรีแลนซ์หรือผู้รับจ้างอิสระ จะได้รับใบทวิ 50 ทันทีที่มีการจ่ายเงินและหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือในทางปฏิบัติผู้จ่ายเงินได้อาจรวบรวมและออกใบทวิ 50 ในช่วงต้นปีถัดไป โดยอาจออกให้ใบเดียว หรือแยกตามจำนวนครั้งที่จ่ายเงินได้


กรณีพนักงานประจำมีการเปลี่ยนงานระหว่างปี ผู้มีเงินได้ควรขอใบทวิ 50 จากนายจ้างเดิมทันทีที่ลาออก เพื่อป้องกันปัญหาการติดตามเอกสารในภายหลัง


การตรวจสอบความถูกต้องของใบทวิ 50

K WEALTH แนะนำให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในใบทวิ 50 ทันทีที่ได้รับ โดยให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้


  • ชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของทั้งผู้จ่ายและผู้รับเงินได้ (กรณีผู้รับเงินบุคคลธรรมดา คือ เลขประจำตัวประชาชนไทย)
  • ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย เช่น 40(1) 40(2) ฯลฯ
  • จำนวนเงินที่จ่าย
  • จำนวนภาษีที่หักและนำส่งสรรพากรไว้
  • วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร
  • ลายมือชื่อผู้มีอำนาจและตราประทับ (ถ้ามี)

กรณีใบทวิ 50 สูญหาย ต้องทำอย่างไร

หากเกิดกรณีใบทวิ 50 สูญหาย สามารถดำเนินการได้ดังนี้


  1. ติดต่อผู้จ่ายเงินได้เพื่อขอออกใบแทน
  2. แจ้งความประสงค์ขอคัดสำเนาใบทวิ 50 พร้อมให้ประทับตรารับรองสำเนาถูกต้อง
  3. กรณีบริษัทเลิกกิจการสามารถติดต่อกรมสรรพากรเพื่อขอตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย

การใช้ประโยชน์จากใบทวิ 50 เพื่อการวางแผนภาษี

ใบทวิ 50 นอกจากจะเป็นหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ยังเป็นเอกสารสำคัญที่รับรองรายได้อย่างเป็นทางการจากผู้จ่ายเงิน ซึ่งจะเป็นตัวตั้งต้นในการคำนวณภาระภาษีของผู้มีเงินได้ โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีได้ดังนี้


  1. การคำนวณภาระภาษีล่วงหน้า
    • ใช้ยอดเงินได้จากใบทวิ 50 เป็นฐานในการคำนวณภาษี
    • หักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งขึ้นกับประเภทเงินได้พึงประเมิน
    • กรณีพนักงานประจำ ใช้ยอดเงินที่ถูกหักเงินสมทบประกันสังคมและเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากใบทวิ 50 เป็นส่วนหนึ่งของค่าลดหย่อน
    • หักค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น เลี้ยงดูบุตร อุปการะบิดามารดา เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยบ้าน เงินบริจาค
    • วางแผนการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  2. การพิจารณาเพดานการลงทุนในกองทุนรวมหรือประกันเพื่อลดหย่อนภาษี
    • กองทุน RMF ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
    • กองทุน Thai ESG ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท โดยไม่รวมกับค่าลดหย่อนในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ
    • ประกันบำนาญ นำค่าเบี้ยประกันบำนาญมาลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท
    • ประกันชีวิต นำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
    • ประกันสุขภาพ นำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  3. การประเมินสถานะภาษี
    • เปรียบเทียบภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายกับภาระภาษีที่ต้องจ่ายจริง หลังจากใช้สิทธิค่าลดหย่อนต่างๆ รวมถึงกองทุนและประกันเพื่อลดหย่อนภาษีแล้ว
    • วางแผนการชำระภาษีเพิ่มเติมกรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง หรือขอคืนภาษีกรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง
    • ประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีต่างๆ

สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำ ได้แก่

กองทุน RMF
  • กองทุน KWPBALRMF* กองทุนรวมผสม ลงทุนในหุ้น 15-45% และลงทุนในตราสารหนี้ 55-85%
  • กองทุน KWPULTIRMF* กองทุนรวมผสม ลงทุนในหุ้น 70-100% และลงทุนในตราสารหนี้ 0-30% กองทุน Thai ESG
  • กองทุน K-ESGSI-ThaiESG* กองทุนรวมตราสารหนี้ ลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลเพื่อความยั่งยืนอย่างพันธบัตรรัฐบาลไม่น้อยกว่า 80% ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้อื่น เช่น เงินฝาก หุ้นกู้
  • กองทุน K-BL30-ThaiESG* กองทุนรวมผสม ลงทุนในหุ้นเพื่อความยั่งยืนไม่เกิน 30% โดยเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มี SET ESG Rating อยู่ในระดับ AAA มากกว่า 50% ซึ่งมีโอกาสสร้างผลตอบแทนชนะดัชนีชี้วัดได้ในระยะยาว ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้

ประกันบำนาญ
  • ประกันบำนาญลดหย่อนได้ จ่ายสั้นปรับได้ 90/5 ที่จ่ายเบี้ยประกัน 5 ปี แต่รับเงินบำนาญยาวถึงอายุ 90 ปี โดยสามารถเลือกรับบำนาญเป็นเงินก้อนทั้งปีหรือทยอยรับบำนาญทุกเดือน และเลือกอายุเริ่มรับบำนาญได้ 55, 60, 65 ปี ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนอายุเริ่มรับบำนาญระหว่างทางได้

ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
  • ประกันชีวิต 80/8 Big Bonus ที่จ่ายเบี้ยประกัน 8 ปี แต่คุ้มครองยาวถึงอายุ 80 ปี โดยได้รับเงินคืน 12% ของทุนประกันเริ่มต้นทุกปี ตั้งแต่ปีที่ 1 - ครบอายุ 79 ปี และเมื่อครบสัญญารับเงินก้อน 800% ของทุนประกันเริ่มต้น
  • ประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Plus ที่คุ้มครองค่ารักษาเหมาจ่ายสูงสุด 5 ล้านบาทต่อครั้ง และมีแผนความรับผิดส่วนแรกซึ่งช่วยให้จ่ายเบี้ยถูกลง

ใบทวิ 50 เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้มีเงินได้ทุกคนต้องใส่ใจ ทั้งในแง่ของการเป็นหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำไปใช้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารทันทีที่ได้รับ พร้อมจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และใช้ประโยชน์จากเอกสารนี้ในการวางแผนการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีอย่างเหมาะสม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : • บลจ.กสิกรไทย


คำเตือน

กองทุน K-ESGSI-ThaiESG มีระดับความเสี่ยงที่ 3 (จากสูงสุด 8 ระดับ) กองทุน K-BL30-ThaiESG และ KWPBALRMF มีระดับความเสี่ยงที่ 5 (จากสูงสุด 8 ระดับ) ส่วนกองทุน KWPULTIRMF มีระดับความเสี่ยงที่ 6 (จากสูงสุด 8 ระดับ)

กองทุน K-ESGSI-ThaiESG และ K-BL30-ThaiESG สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ หากต้องการขายคืนหน่วยลงทุนจะได้รับเงินค่าขายคืน T+2 วันทำการ เช่น ขายคืนวันจันทร์ ได้รับเงินวันพุธ ส่วนกองทุน KWPBALRMF และ KWPULTIRMF สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ หากต้องการขายคืนหน่วยลงทุนจะได้รับเงินค่าขายคืน T+5 วันทำการ

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH สุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ CFP®

Back to top