Fed คงดอกเบี้ยท่ามกลางแรงกดดันจากทรัมป์ ย้ำมองตัวเลขเศรษฐกิจเป็นหลัก
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในเดือนมกราคม 2025 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ตลาดการเงินจับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการประชุมครั้งแรกภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นสมัยที่สอง สาระสำคัญของประชุมครั้งนี้คือ Fed เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25-4.50% ท่ามกลางแรงกดดันจากภาครัฐให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งสัญญาณว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการลดดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้
นาย Jerome Powell กลับเลือกใช้แนวทาง "Wait and See" หรือรอดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ โดยแถลงการณ์ของ Fed ในรอบนี้มีการเปลี่ยนแปลง 2 จุดที่สะท้อนถึงความระมัดระวังเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ดังนี้
Source: Wall Street Journal as of 30 Jan 2025
- ข้อความเกี่ยวกับ "เงินเฟ้อมีความคืบหน้า" ถูกตัดออก
ในเดือนธันวาคม 2024 Fed ยังมีการกล่าวถึง "ความคืบหน้า" ของการลดลงของเงินเฟ้อ แต่แถลงการณ์เดือนมกราคม 2025 ได้ลบข้อความนี้ออกไป และแทนที่ด้วยประโยค "เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง"
- การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนว่า Fed ต้องการความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางของเงินเฟ้อก่อนที่จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย
- Fed ย้ำว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง
- แถลงการณ์ระบุว่าอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 4.1-4.2% ซึ่ง Powell เน้นว่า "ยังไม่ถึงจุดที่ต้องมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม"
- หมายความว่า Fed ยังไม่เห็นความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้
การตัดสินใจของ Fed ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าคณะกรรมการต้องการเห็นหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของเงินเฟ้อก่อนที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของรัฐบาลทรัมป์ที่ต้องการลดดอกเบี้ยโดยเร็ว แม้การคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่แถลงการณ์ของ Fed และคำพูดของ Powell กลับออกมาในลักษณะที่ “Hawkish” มากกว่าที่คาดไว้ เพราะความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการประชุมเดือนธันวาคม 2024 และการประชุมในครั้งนี้ คือแนวโน้มที่ Fed ส่งสัญญาณมีความเข้มงวดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุมเดือนธันวาคม Fed ยังมีการพูดถึงโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะลดลงและมีความเป็นไปได้ที่อาจลดดอกเบี้ยในปี 2025 แต่หลังจากผ่านไปหนึ่งเดือน คำพูดเหล่านี้กลับหายไปจากแถลงการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Fed ต้องการความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของเงินเฟ้อก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของ Fed ในปี 2025
- อัตราเงินเฟ้อและเป้าหมายของ Fed
Source: Bloomberg of 31 Jan 2025
อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหลักที่ Fed ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบาย ข้อมูลล่าสุดระบุว่า อัตราเงินเฟ้อโดยรวม (PCE Price Index) เพิ่มขึ้น 2.4% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของ Fed อยู่ที่ 2.8% YoY
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจากระดับสูงสุดในปี 2023 แต่ก็ยังสูงกว่าเป้าหมายของ Fed ที่ 2% โดย Powell ได้เน้นย้ำว่า Fed ต้องการความมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
หากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงในอัตราที่เหมาะสม Fed อาจเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในกลางปี 2025 แต่หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีศุลกากรของรัฐบาลทรัมป์ หรือปัจจัยอื่นๆ Fed อาจต้องเลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไป
Source: Bloomberg of 10 Jan 2025
ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง โดยตัวเลขอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.1-4.2% ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับที่ Fed มองว่าเป็นสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดย Powell ระบุว่าตลาดแรงงานยังคงมีเสถียรภาพ และยังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจนของการชะลอตัวที่จำเป็นต้องกระตุ้นด้วยการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม หากอัตราการว่างงานเริ่มเพิ่มขึ้น หรือข้อมูลการจ้างงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว Fed อาจเผชิญแรงกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
![](/th/kwealth/PublishingImages/a652-t3-hyb-investment-view-post-fed-meeting-kgth/04.png)
Source: Bloomberg of 31 Jan 2025
ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโตที่ชะลอลง โดย GDP ไตรมาส 4 ปี 2024 เติบโตที่ 2.3% ลดลงจาก 3.0% ในสองไตรมาสก่อนหน้า แม้การบริโภคภาคเอกชนจะยังคงแข็งแกร่ง แต่การลงทุนภาคธุรกิจกลับลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเริ่มส่งผลกระทบต่อการเติบโต
ถ้าหากเศรษฐกิจ เริ่มส่งสัญญาณเติบโตชะลอตัวลง Fed อาจตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
- ผลกระทบจากนโยบายภาษีศุลกากรของทรัมป์
![](/th/kwealth/PublishingImages/a652-t3-hyb-investment-view-post-fed-meeting-kgth/05.jpg)
Source: X of 2 Feb 2025
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 รัฐบาลทรัมป์ได้ประกาศขึ้นภาษีศุลกากร 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา และ 10% สำหรับสินค้าจากจีน ซึ่งอาจมีผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนี้
- หากราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ Fed อาจต้องชะลอการลดดอกเบี้ยออกไป
- หากภาษีศุลกากรทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด Fed อาจต้องลดดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนด
- แรงกดดันทางการเมืองจากรัฐบาลทรัมป์
![](/th/kwealth/PublishingImages/a652-t3-hyb-investment-view-post-fed-meeting-kgth/06.jpg)
Source: Yahoo Finance of 29 Jan 2025
ประธานาธิบดีทรัมป์ต้องการให้ Fed ลดดอกเบี้ยโดยเร็วเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและลดต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ เขาโจมตี Powell อย่างต่อเนื่องผ่านโซเชียลมีเดียและการแถลงข่าว โดยกล่าวว่า "Powell และ Fed กำลังทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว"
ในขณะที่ Powell ยังคงยืนยันความเป็นอิสระของ Fed โดยย้ำว่า "Fed จะไม่ปล่อยให้แรงกดดันทางการเมืองมากำหนดนโยบาย" ทำให้ความกดดันทางการเมืองอาจเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น
ตลาดคาดการณ์ Fed ปี 2025 อย่างไร ?
ในเดือนธ.ค. 2024 ตลาดเคยคาดการณ์ว่า Fed อาจเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2025 แต่จากแถลงการณ์ล่าสุด คาดว่าการลดดอกเบี้ยอาจถูกเลื่อนออกไปเป็นกลางปี 2025 แทน
JPMorgan Asset Management คาดว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้ โดยการลดครั้งแรกอาจเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน และอีกครั้งในเดือนธันวาคม หากเงินเฟ้อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หากภาษีศุลกากรของรัฐบาลทรัมป์ทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ Fed อาจต้องชะลอการลดดอกเบี้ยออกไปเป็นไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปี 2025 หรืออาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2026
ลงทุนอะไรดีต่อจากนี้
ในปี 2025 ตลาดการลงทุนเผชิญกับความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งจากมุมมองเชิงมหภาคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงซับซ้อน
โดยทาง K WEATH แนะนำว่าให้จัดพอร์ตลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core-Satellite โดยสัดส่วนที่แนะนำจะเป็น Core 70% และ Satellite 30% ของพอร์ตการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนในส่วนของ Satellite ไม่ควรกระจุกในกองใดกองหนึ่งมากเกินไป เพื่อไม่ให้พอร์ตการลงทุนมีความผันผวนเกินไป
- Core Portfolio พอร์ตหลักถือลงทุนระยะยาว ควรเน้นลงทุนในกองทุนที่มีความมั่นคงสูง มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี และสามารถรับมือกับความผันผวนของตลาดได้ในทุกสภาวะ เช่น กองทุนผสม K-WealthPLUS Series ที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง J.P Morgan Asset Management และนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้
- Satellite Portfolio เป็นการมองหาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตได้ดีในช่วงสั้น ตามภาวะตลาด
- สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก เราแนะนำกองทุนตราสารหนี้ไทย อย่างกอง K-FIXED-A และ K-FIXEDPLUS-A แม้ Fed จะมีการลดดอกเบี้ยช้าลง แต่ภาพรวมโลกยังเป็นเทรนดอกเบี้ยขาลงอยู่ โดยเฉพาะฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ไม่ได้มีความกังวลทางด้านเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจไทยที่ไม่ได้แข็งแกร่งเท่ากับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ง่ายกว่า ซึ่งเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ไทย
- สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้มาก เราแนะนำกองทุน K-USA-A(A) และ K-HIT-A(A) ที่เป็นกองทุนเน้นลงทุนในกลุ่ม Mid-Small Cap ซึ่งได้ประโยชน์จากการดำเนินนโยบายการเมืองในทิศทางส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐฯ อย่างการลด Corporate Tax และ Deregulation รวมถึงมี Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ
- K-USA-A(A) กองทุนเน้นการลงทุนเพื่อคว้าโอกาสในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงเปิดกว้างสำหรับการลงทุนหุ้นทุกกลุ่ม อีกทั้งเป็นกองทุน Active ซึ่งค้นหาบริษัทที่น่าสนใจ เหมาะกับสภาวะตลาดในช่วงที่มูลค่าโดยรวมค่อนข้างสูง
- K-HIT-A(A) กองทุนมีการประจายตัวลงทุนในหุ้นกว่า 150-200 ตัวและสามารถทำผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ดีมาก เน้น Theme การลงทุน Megatrend รวมถึงการทำ stock selection ซึ่งเหมาะกับสภาวะตลาดปัจจุบันที่ความผันผวนค่อนข้างสูง