-
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงหนักเมื่อวันศุกร์ 21 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา โดยดัชนี Dow Jones ปรับตัวลง 1.69%, S&P 500 ปรับตัวลง 1.71% และดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวลง 2.20% จากตัวเลขเศรษฐกิจที่เปิดเผยออกมาอ่อนแอกว่าที่คาดไว้
-
ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งหนุนด้วยตลาดแรงงานที่ร้อนแรง K WEALTH ยังมีมุมมอง Slightly Positive ต่อการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเน้นไปยังกองทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายของสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ และกองทุนหุ้นสหรัฐฯ กลุ่ม Mid-Small Cap ที่มูลค่าเหมาะสมและมีการเติบโตดี
ตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอ กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วง
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงหนักเมื่อวันศุกร์ 21 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา โดยดัชนี Dow Jones ปรับตัวลง 1.69%, S&P 500 ปรับตัวลง 1.71% และดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวลง 2.20% ด้วยปัจจัยกดดันดังนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก University of Michigan เดือน ก.พ. ลดลงสู่ระดับ 64.7 จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่ พ.ย. 2023 สะท้อนความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ
- ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ม.ค. ลดลง 4.9% (MoM) จากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
- ดัชนี S&P Global Services PMI เดือน ก.พ. ลดลงสู่ 49.7 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ 52.9 จุด แสดงถึงการลดลงและหดตัวของภาคบริการเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองปี
- การประกาศนโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประธานาธิบดีทรัมป์ โดยจะขึ้นภาษีไปที่ระดับ 25% สำหรับารนำเข้ารถยนต์ และอาจขยายไปสู่เซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงกดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
มุมมองการลงทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ ทำให้เกิดการเทขายจากนักลงทุนที่เก็งกำไรระยะสั้น แต่ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งซึ่งหนุนด้วยตลาดแรงงานที่การจ้างงานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและอัตราการว่างงานที่ต่ำ ขณะที่นโยบายการค้าที่เข้มงวดขึ้นในยุคประธานาธิบดีทรัมป์ค่อนข้างเป็นไปตามคาดการณ์ของนักลงทุน จึงอาจสร้างแรงกดดันได้เพียงในระยะสั้น
ส่วนผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อในช่วงครึ่งแรงของปีนี้ และอาจทำให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยช้าลงกว่าที่คาด ซึ่ง Fed ได้ส่งสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่การประชุมเดือน ธ.ค. และตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงทั่วโลกได้รับข่าวดังกล่าวไปแล้วบางส่วน
จากปัจจัยทั้งหมด K WEALTH ยังมีมุมมอง Slightly Positive ต่อการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเน้นไปยังกองทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายของสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ และกองทุนหุ้นสหรัฐฯ กลุ่ม Mid-Small Cap ที่มูลค่าเหมาะสมและมีการเติบโตดี
คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ดังนี้
ผู้ที่ถือกองทุนที่มีสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำถือลงทุนต่อ ทยอยสะสมเพิ่ม
ผู้ที่ถือกองทุนที่ไม่มีสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำทยอยสะสม
โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้
-
ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-USA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พร้อมรับทุกโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
-
สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
- หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
- กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
- กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
-
หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
- กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
- กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg