ทำเงินต่อกับ LTF อย่างไร? เมื่อครบกำหนดแต่ยังขาดทุน

เราย้ายเงินก้อนLTF ครบกำหนดทั้งหมด ไปซื้อ SSF และ RMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด และมีนโยบายลงทุนหุ้นไทย เราจะสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด 35% ของเงินลงทุนใหม่(กรณีผู้ซื้อมีรายได้ฐานภาษี 35%) โดยที่เราได้กำไรแบบไม่ต้องเสียอะไรเลย

• เราย้ายเงินก้อนLTF ครบกำหนดทั้งหมด ไปซื้อ SSF และ RMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด และมีนโยบายลงทุนหุ้นไทย เราจะสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด 35% ของเงินลงทุนใหม่(กรณีผู้ซื้อมีรายได้ฐานภาษี 35%) โดยที่เราได้กำไรแบบไม่ต้องเสียอะไรเลย


• หลายคนเลือกที่จะรอให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาก่อน เพื่อดันให้กองทุน LTF ที่ถืออยู่ปรับขึ้นตาม แล้วจะได้ไปซื้อ SSF RMF ได้อย่างสบายใจ แต่ก็มีอีกวิธีที่ทำให้เราไม่รู้สึกถึงความต่างในการย้าย LTF นั่นคือการขาย LTF แล้วซื้อ SSFและ/หรือ RMF ภายในวันเดียวกันด้วยเงินก้อนอื่น เช่นผ่านบัตรเครดิต แถมได้ประโยชน์ทางภาษีแบบเต็มๆ


• ขาดทุนอยู่ไม่กล้าย้าย แต่คำนวณปันผลเข้าไปแล้วหรือยัง หลายครั้งกองทุน LTF ที่เราถืออยู่ดูเหมือนติดลบเยอะ แต่จริงๆแล้วกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ราคา NAV ที่แสดงให้เราเห็น ยังไม่ได้รวมเงินปันผลที่ได้รับ



ปัจจุบันใครที่ซื้อ LTF ตั้งแต่ปี 2559 - 2560 ก็น่าจะเริ่มครบกำหนดกันไปแล้วตามเกณฑ์ต้องถือ LTF 7 ปีปฏิทิน แต่หลายคนก็ประสบปัญหา LTF ณ วันนี้ยังขาดทุนอยู่ จึงยังไม่อยากขายออก แต่อีกใจก็อยากที่จะเอาเงินก้อนนี้ไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดให้มันงอกเงยแบบเห็นผลทันที ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง วันนี้เรามีวิธีที่แค่ขยับเงินก้อนLTF นิดหน่อย ก็เหมือนได้ผลตอบแทนก้อนใหญ่ทันตาเห็น



ย้ายไป SSF และ RMF ประหยัดเงินทันทีสูงสุด 35%


โดยหากเราขาย LTF ที่ยังขาดทุนอยู่ แล้วไปซื้อ SSF และ RMF ทั้งก้อน เราสามารถนำ SSF และ RMF ทั้งก้อนไปลดหย่อนภาษีได้ทันที ตัวอย่างเช่น เคยซื้อกองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล-C ชนิด LTF หรือ KDLTF-C(L)เมื่อปี 2560 ณ จุดที่แพงที่สุดที่ราคา NAV หน่วยละ 21.8908 บาท/หน่วย โดยซื้อ LTF เต็มสิทธิ์ 500,000 บาท ถือ LTF ครบ 7 ปีปฏิทิน โดยราคา NAV ของกองทุน LTF กองนี้ ณ วันที่ 21 ก.ค. 66 อยู่ที่ 15.7496บาท/หน่วย มูลค่าปัจจุบันเหลืออยู่ที่ประมาณ 359,731.02 บาท‬ ขาดทุนอยู่ 28.05% ถ้าเราย้ายเงินก้อนนี้ไปซื้อ SSF และ RMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งหมด เราจะสามารถประหยัดภาษีได้ 125,906 บาทหรือ คิดเป็น 35% ของเงินลงทุนใน SSF และRMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด (กรณีผู้ซื้อมีรายได้ฐานภาษี 35%) โดยที่เราได้กำไรแบบไม่ต้องเสียอะไรเลย แค่ย้ายเงินและรับเงื่อนไข SSF RMF ได้เท่านั้น ซึ่งการที่เราลงทุนแล้วเหมือนได้กำไรทันที 35% แบบนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน


เงินลงทุนใน KDLTF-C(L) เมื่อ 7 ปี(ปฏิทิน)ที่แล้ว
500,000 บาท
ฐานภาษีเมื่อ 7 ปี(ปฏิทิน)ที่แล้ว
35%
LTF ทำให้ประหยัดภาษีได้
175,000 บาท
มูลค่ากองทุน KDLTF-C(L) ที่ถือยู่ในปัจจุบัน
359,731.02‬ บาท
ขาดทุนอยู่
-28.05%
ปันผลที่ได้รับตลอดการถือ KDLTF-C(L)
3.14 บาทต่อหน่วย
ผลขาดทุนรวมปันผลที่ได้รับ จะขาดทุน
-13.70%
ย้ายไปซื้อ SSF และ RMF ทั้งก้อนตามเงื่อนไข
359,731.02 บาท
ฐานภาษีปัจจุบัน
35%
ประหยัดภาษีได้
125,906 บาท
กำไรทันที
สูงสุด 35% ของเงินลงทุนก้อนใหม่
เคสนี้ รวมประหยัดภาษีทั้ง 2 รอบไปได้
300,906 บาท ( กำไร 60% ของเงินลงทุน5แสนบาท )


นอกจากนี้ หากใครที่ยังชอบกองทุนเดิมแล้วอยากถือต่อ หรือทำใจไม่ได้ที่จะขายทิ้ง ก็ใช้วิธีลงทุนกองทุนเดิมต่อได้ เช่นถือ KSET50LTF,KMSLTF อยู่ แล้วอยากได้สิทธิลดหย่อนภาษีใหม่ ก็มีกองทุนคู่แฝดให้ย้ายไปได้เช่น KS50RMF, KMSRMF ที่เหมือนย้ายเงินจากกระเป๋าซ้าย ไปกระเป๋าขวา นโยบายการลงทุนเหมือนเดิม แต่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเข้ามาเพิ่มเติม



กังวล LTF ติดลบอยู่ ไม่อยากย้าย


หลายคนเลือกที่จะรอให้ตลาดหุ้นไทยบ้านเราปรับตัวขึ้นมาก่อน เพื่อดันให้กองทุน LTF ที่ถืออยู่ปรับขึ้นตาม ซึ่งจำนวนไม่น้อยก็รอมาตั้งแต่ปี 2565 หรือประมาณ 1 ปี 7 เดือนแล้ว กองทุน LTF ก็ยังไม่คืนทุนเสียที เสียทั้งเวลารอ เสียทั้งโอกาสที่จะนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างที่เล่าไปข้างต้น ดังนั้นเราจึงจะชวนทุกคนมาตรวจสอบกองทุนที่ถืออยู่ว่าจริงๆแล้วขาดทุนอย่างที่ตาเห็นหรือเปล่า


1. คำนวณปันผลเข้าไปแล้วหรือยัง หลายครั้งกองทุน LTF ที่เราถืออยู่ดูเหมือนติดลบเยอะ แต่จริงๆแล้วกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ราคา NAV ที่แสดงให้เราเห็น ยังไม่ได้รวมเงินปันผลที่ได้รับ ตั้งแต่เราถือกองทุนนี้เข้าไปเลย ซึ่งหากเราคำนวณเงินปันผลเข้าไป จากติดลบมาก ก็จะเป็นติดลบน้อย หรืออาจจะกำไรขึ้นมาก็ได้เช่นกัน


ตัวอย่างเช่น ซื้อกองทุน KDLTF ช่วงที่แพงที่สุดของปี 2560 ที่ราคาหน่วยละ 21.8909 บาทต่อหน่วย ถือมาครบ 7 ปีปฏิทิน โดยปัจจุบันราคา NAV อยู่ที่ 15.6038 ชัดเจนว่าขาดทุนแน่นอน แต่ราคา NAV ที่แสดงยังไม่รวมเงินปันผลที่เราได้รับตั้งแต่ถือกองทุนมาตลอด 7 ปีปฏิทิน ซึ่งหากดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ KAsset จะพบว่าเราได้รับปันผลมาแล้วทั้งสิ้น 3.14 บาทต่อหน่วย หากรวมเข้าไปในราคา NAV จะอยู่ที่ 18.8896บาทต่อหน่วย แม้ขาดทุนอยู่ 13.70% แต่ก็ขาดทุนน้อยกว่าเดิม


มูลค่ากองทุน KDLTF-C(L) ที่ถือยู่ในปัจจุบัน
359,731.02‬ บาท
ขาดทุนอยู่
-28.05%
ปันผลที่ได้รับตลอดการถือ KDLTF-C(L)
3.14 บาทต่อหน่วย
ผลขาดทุนรวมปันผลที่ได้รับ จะขาดทุน
-13.70%

2. คำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับเข้าไปแล้วหรือยัง ซึ่งเป็นเงินที่เราได้ใช้สิทธิ์ไปแล้วในอดีต เมื่อนำกองทุน LTF ไปลดหย่อนภาษี หากเราซื้อ KDLTF เต็มสิทธิ์ที่ 500,000 บาท ฐานภาษีของเรา 35% ก็ประหยัดภาษีไปได้แล้วตอนยื่น คิดเป็น 35% ของเงินก้อน LTF 500,000 บาท ปัจจุบันเราขาดทุน NAV อยู่ 14.37% หักลบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี กลายเป็นว่าเรากำไรอยู่ประมาณ 20% แล้ว


เงินลงทุนใน KDLTF-C(L) เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
500,000 บาท
ฐานภาษีเมื่อ 7 ปีที่แล้ว
35%
LTF ทำให้ประหยัดภาษีได้
175,000 บาท

ซึ่งหากเราลองตรวจสอบข้อมูลดูแล้วพบว่า จริงๆแล้วเรากำไรอยู่ หรือไม่ได้ขาดทุนหนัก ตามที่ตัวเลข NAV บังตา เชื่อว่าหลายคนก็จะตัดสินใจในการย้ายเงิน LTF ไปทำประโยชน์อื่นๆได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำไปซื้อกองทุน SSF RMF ก็อาจต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เพราะ SSF ซื้อได้สูงสุดเพียง 200,000 บาท ส่วนที่เหลือต้องนำไปซื้อ RMF เพิ่มเติม แต่หากใครที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป การลงทุนใน RMF อย่างเดียว ไม่ลงทุนใน SSF เลย ก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะจะขายคืน RMF ตามเงื่อนไขได้เร็วกว่า การถือ SSF 10 ปีที่ต้องนับแบบ วันชนวัน



ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงรอบนี้ เป็นโอกาสเข้าซื้อ


ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากระดับสูงสุด เกือบๆ 1,700 จุด และเคยปรับลงไปลึกถึงระดับ 1,460 จุด ต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากปัจจัยทั้งเรื่องกำไรของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4 ออกมาน่าผิดหวัง ความระมัดระวังในการปล่อย Margin Loan ของบริษัทหลักทรัพย์ การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง ความไม่แน่นอนทางการเมือง จนต่างชาติเทขายหุ้นเกือบแสนล้านบาท ซึ่งทาง KAsset มองว่าหากสุดท้ายสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าไทย ตามคาดการณ์รวมทั้งปี 28-30 ล้านคน ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นในช่วงครึ่งปีหลังทันที โดย KAsset มองเป้า SET สิ้นปีไว้ที่ 1,650 ขณะที่ SET ปัจจุบันอยู่ที่ 1,500 กว่าจุด ดังนั้นจังหวะนี้ จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการซื้อหุ้นไทยราคาถูก การรอซื้อ SSF RMF กองทุนหุ้นไทยช่วงปลายปีซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะปรับตัวขึ้นไปแล้ว อาจไม่ใช่จังหวะที่ดีสำหรับปีนี้ โดยกองทุนที่ทาง KAsset แนะนำได้แก่ K-STAR-SSF และ KSTARRMF หรือหากใครต้องการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยง ก็แนะนำ K-GINCOME-SSF และ KGINCOMERMF



อายุเยอะแล้วไม่อยากเสี่ยง


หลายคนอายุเยอะแล้ว ตัวเลขใกล้ๆ 50 ก็มีความรู้สึกว่าไม่อยากเสี่ยงแล้ว ขอแค่ได้เอาเงิน LTF ก้อนเดิมไปลดหย่อนภาษีได้ต่อก็เพียงพอ ดังนั้นทางเลือกการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ชนิด SSF หรือ RMF เช่น K-SF-SSFK-FIXEDPLUS-SSF KGBRMF KFIRMF KSFRMF ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยแนะนำให้พิจารณาเลือก SSF หรือ RMF จากระยะเวลาถือครองกองทุน หากระยะ 10 ที่ต้องถือ SSF เหมาะกับตัวเรามากกว่าให้เลือก SSF แต่ะหาก การต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปี และลงจนถึงอายุ 55 ปี เหมาะกับตัวเรามากกว่า ก็ให้เลือก RMF ได้


แต่หากหลายคนมีความเป็นห่วงเรื่องของสุขภาพตัวเอง และห่วงคนข้างหลังที่ต้องดูแล การทำประกันชีวิต และสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำ LTF ครบกำหนดในปีที่ผ่านมา และปีถัดๆไป มาบริหารจัดการซื้อประกันให้กับตัวเอง แถมสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทกรณีประกันชีวิตและสุขภาพรวมกัน และ ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ซึ่งการทำประกันได้เร็วเท่าไหร่ นอกจากจะสามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นผลดีต่อผู้ทำประกันเองอีกด้วย


คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT
Back to top