สรุป Time line สงคราม อิหร่าน-อิสราเอล สร้างความกังวลไปทั่วโลก ดันราคาทองคำ-น้ำมันพุ่ง สินทรัพย์เสี่ยงเกิดความผันผวน
วันที่ 1 เม.ย. 2567 : สถานทูตอิหร่าน ฝ่ายกงสุล ในประเทศซีเรีย ถูกโจมตีและมีนายทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่อิหร่านเสียชีวิต 7 ราย และรัฐบาลอิหร่านยืนยันว่าเป็นการโจมตีจากอิสราเอล รัฐบาลอิหร่านออกแถลงจะโจมตีอิสราเอลคืน
วันที่ 12 เม.ย. 67 : ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้ข่าวว่าอิหร่านจะโจมตีอิสราเอลอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว นายกรัฐมนตรีไทยได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตไทยในภูมิภาคติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
วันที่ 13 เม.ย. 2567 : อิหร่านได้ยึดเรือขนส่งสินค้าสัญชาติโปรตุเกส แต่อิสราเอลเป็นเจ้าของที่ช่องแคบฮอร์มูส เป็นการตอบโต้อิสราเอล วันที่ 13 และ 14 เม.ย. 2567 : อิหร่านได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ โดยยิง โดรนและขีปนาวุธไปยังพื้นที่เป้าหมายในประเทศอิสราเอลซึ่งเป็นพื้นที่ทางทหาร โดยอิหร่านได้ยิงโดรนและจรวดประมาณ 300 ลูกยิงข้ามซีเรีย ซึ่งกองกำลังป้องกันอิสราเอลสามารถสกัดได้ 99% ก่อนที่จะเข้ามาในเขตอาณาของอิสราเอล
วันที่ 14 เม.ย. 2567 : อิหร่านได้ประกาศหยุดโจมตี ก่อนหน้านี้ อิสราเอลและอิหร่านต่างมีส่วนร่วมในสงครามเงาอันยาวนานหลายปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จากการปฏิวัติอิสลาม โดยโจมตีทรัพย์สินของกันและกัน และทั้งสองไม่ออกมายอมรับการกระทำดังกล่าว การโจมตีเหล่านั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน นับตั้งแต่เกิดสงครามในฉนวนกาซาซึ่งถูกจุดชนวนขึ้นหลังกลุ่มฮามาสจากปาเลสไตน์เข้าโจมตีอิสราเอลเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว
โดยหลังเกิดเหตุการณ์การโจมตีในครั้งนี้ ดัชนี VIX Index ขยับขึ้น 9% สะท้อนความกังวัล อยู่ระดับ 19.56 จุด ราคาทองคำแตะระดับ 2,400 ดอลลาร์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันแม้ยังผันผวนไม่มาก แต่มีการคาดการณ์ว่าราคาจะขยับไปที่ 100 ดอลลาร์ และหากมีการปิดช่องแคบฮอร์มุซจะหนุนราคาแตะ 120-130 ดอลลาร์ ทั้งนี้ช่องแคบฮอร์มุส ถูกใช้เป็นช่องทางขนส่งน้ำมันถึงวันละ 21 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็น 21% ของปริมาณการขนส่งน้ำมันทั่วโลกในแต่ละวัน ซึ่งหากไม่สามารถขนส่งผ่านจุดดังกล่าวแม้เพียงชั่วคราว อาจนำไปสู่ความล่าช้าในการจัดหาน้ำมันและทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้นได้
สำหรับผลกระทบการค้าไทย-อิหร่าน
เบื้องต้นยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุอยู่ที่อิสราเอล คาดการณ์ว่าสถานการณ์การสู้รบน่าจะไม่ยืดเยื้อ ถ้าอิสราเอลไม่โต้กลับ โดยทางอิหร่านได้ประกาศหยุดโจมตี ยกเว้นถูกอิสราเอลตอบโต้ อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลไทยได้ให้ทูตพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ที่ช่องแคบฮอร์มุสในอิหร่านเพื่อเตรียมมาตรการรับมือ ซึ่งฮอร์มุสเป็นช่องแคบที่สำคัญในการเดินเรือเพื่อส่งออกสินค้าสำคัญของประเทศที่ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเกือบทั้งหมดในตะวันออกกลางทั้งซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน กาตาร์และคูเวต
สำหรับปี 2567 สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปอิสราเอล พบว่า การส่งออก รถยนต์และส่วนประกอบ ที่เคยเป็นอันดับหนึ่ง มาหลายปีติดต่อกัน ลดลง 80% จากปี2566 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566 ซึ่งหากสงครามยุติ และ เศรษฐกิจอิสราเอลฟื้นตัว การส่งออกรถยนต์จากไทยน่าจะมีมูลค่าเพิ่มมากขี้นเช่นเดียวกับในช่วงเวลาภาวะปกติก่อนเกิดสงครามกับฮามาส
สำหรับอาหารที่ส่งออกจากไทย เช่น อาหารกระป๋อง มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 119 % ในปี 2567 (ม.ค.-ก.พ.) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ข้าวเพิ่มขึ้น 1.62 % เครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 21 %
สำหรับมุมมองการลงทุนในช่วงนี้
การโจมตีจากอิหร่านไปอิสราเอลเป็นการโจมตีระหว่างประเทศคู่ขัดแย้งโดยตรงครั้งแรกนับตั้งแต่อิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีกลุ่มฮามาสในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามการโจมตีครั้งนี้สร้างความเสียหายค่อนข้างตํ่าโดยทางพันธมิตรของอิสราเอลสามารถสกัดการโจมตีได้กว่า 99 % ทำให้มีผู้เสียชิวิต 1 รายเเละฐานทัพอากาศเสียหายเล็กน้อย
ในระยะต่อจากนี้ต้องติดตามท่าทีการตอบโต้จากทางฝั่งอิสราเอลและชาติพันธมิตรโดยถ้าหากมีการโจมตีกลับไปยังอิหร่านคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อสภาวะการลงทุนในตลาดตราสารทุน เนื่องจากหากสงครามบานปลายในภูมิภาคตะวันออกกลางที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดีดตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวลง
ดังนั้น K-WEALTH มองว่าภาวะสงครามมีความไม่ชัดเจนและมีความเสี่ยงต่อตลาดตราสารทุนสูง จึงแนะนำให้กระจายการลงทุนผ่านกองทุนรวมผสมที่มีผู้จัดการกองทุนปรับน้ำหนักการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อลดความผันผวนต่อพอร์ตการลงทุนโดยรวม
คำแนะนำ
- ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เเนะนําทยอยลงทุนกองทุน K-WPULTIMATE
- ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เเนะนําทยอยลงทุนกองทุน K-WPSPEEDUP หรือ K-WPBALANCED
- ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำทยอยลงทุนกองทุน K-FIXEDPLUS หรือ K-SFPLUS
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”