ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเทคโนโลยีรักษ์โลก เหมาะที่จะติดตั้งให้แก่บ้านของคุณ หมดห่วงเรื่องค่าไฟที่สูง เพราะหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่การจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อปนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะในการเลือกติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ควรเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ มีความคุ้มค่า เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มากขึ้น และต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญอีกด้วย จึงต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนติดตั้ง
ในบทความนี้จะพาไปสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับหลังคาโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่หลังคาโซลาร์เซลล์คืออะไร ทำไมถึงควรติดตั้ง แล้วควรติดตั้งหรือใช้งานอย่างไรให้ประหยัดคุ้มทุน งบประมาณติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมหลักการในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟ
ในยุคสมัยนี้ บ้านที่มีหลังคาโซลาร์เซลล์ จะช่วยประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างมาก ด้วยการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้เอง ซึ่งสามารถใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากที่อื่นได้ แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหิน ฟอสซิล ที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาโลกร้อนนั่นเอง
ดังนั้น การเลือกบ้านในโครงการที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบ้านย่อมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีและสะดวกกว่า ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ที่จะช่วยสนับสนุนในเรื่องของเงินกู้เพื่อโครงการการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้พลังงานสะอาด และประหยัดต้นทุนพลังงานไฟฟ้าของธุรกิจ และเป็นโครงการที่สามารถรับประกันได้ว่าระบบที่ติดตั้งได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพตามคาดหมาย
หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อป คือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่ได้รับมาจากแสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นก็ส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ แล้วนำพลังงานมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าไฟ และถือว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ ดังต่อไปนี้
เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์จะต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นจะเปลี่ยนไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับเพื่อใช้งานในบ้าน โดยระบบนี้จะเชื่อมกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้ง เพราะจะสามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ แต่ต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะติดตั้งได้
ระบบนี้จะคล้ายกับระบบออนกริดเลย แต่ข้อแตกต่างจะอยู่ที่ระบบนี้จะมีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไว้ สำหรับใช้งานเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และในกรณีที่ผลิตไฟฟ้ามากพอต่อการใช้งานแล้ว ระบบจะนำพลังงานไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อเก็บไว้ใช้งานในเวลาอื่นๆ เหมาะกับบ้านที่มีไฟตกบ่อยๆ เพราะจะสามารถดึงพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานได้ในยามจำเป็น
ระบบไฮบริด การทำงานจะเหมือนกับระบบออนกริด และออฟกริด คือสามารถรับพลังงานมาอินเวอร์เตอร์ เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับมาใช้งาน รวมถึงการนำกระแสไฟฟ้าเข้าชาร์จในแบตเตอรี่ไว้ใช้เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ แต่ข้อแตกต่างจะอยู่ตรงที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง การติดตั้งจึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ระบบนี้จะเหมาะกับบ้านที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง หรือพื้นที่ห่างไกล
นอกจากนี้ หลังคาโซลาร์เซลล์ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไป
แผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้ จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ทำจากซิลิคอน และเป็นทรงกระบอกบริสุทธิ์
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟประเภทนี้ จะมีแผงสีเข้มออกไปทางน้ำเงิน เป็นสีเหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ทำจากผลึกซิลิคอน
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้ จะมีแผงสีเข้ม มีสีดำ ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าชนิดอื่น
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้
โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้
ในการจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น จะต้องรู้ก่อนว่ามีอุปกรณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง ดังนี้
ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้ขนาดกำลังวัตต์ของแต่ละชนิดของแผงโซลาร์เซลล์นั้นต่างกัน ควรเลือกแผงโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังไฟมากกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ แผงโซลาร์เซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ โมโนโซลาร์เซลล์ โพลีโซลาร์เซลล์ และอะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ ดังนั้น ก่อนเลือกอาจจะต้องดูปัจจัยของแผงแต่ละชนิดก่อน
อุปกรณ์ที่จะช่วยเปลี่ยนกระแสไฟฟ้า ซึ่งควรเลือกกำลังวัตต์ให้มากกว่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องแปลงไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ Off grid inventer และ On grid inventer นั่นเอง
เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่มีหลายแบบ ซึ่งแบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) จะเหมาะกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง โดยที่ไม่เกิดความเสียหายแก่ตัวแบตเตอรี่
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คุมแรงดัน และกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องควบคุมชาร์จไฟที่ดีจะต้องสามารถรีดพลังงานจากแสงแดดไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ให้ได้มากที่สุด
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า กรณีที่อาจเกิดไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยลดอันตรายได้ เช่น เมนสวิตช์ เบรกเกอร์ ฟิวส์เครื่องตัดไฟรั่ว หรือสายดิน เป็นต้น
หลังจากที่ได้ทราบถึงอุปกรณ์สำคัญต่างๆ กันไปแล้ว ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น ควรศึกษาถึงหลักในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ให้ดีก่อน โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
สำรวจบ้านของคุณก่อนว่าสามารถทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ โดยอาจคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องความแข็งแรงของหลังคาบ้าน หรือรูปทรงของหลังคาบ้าน เป็นต้น
การตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน จะทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนจะใช้ไฟไปเท่าไร ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าควรเลือกติดตั้งโซลาร์รูฟขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสมต่อตัวบ้าน
หลังคาโซลาร์เซลล์เป็นเครื่องที่ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ในการดึงพลังงานมาใช้ หากไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น ควรเลือกทิศที่แดดส่องถึง โดยทิศที่เหมาะสมที่สุด มีดังนี้
ถึงแม้จะเลือกทิศที่แดดส่องแล้ว แต่ที่ตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุอะไรมาบดบังแสงด้วย และดูองศาความลาดชันให้อยู่ที่ประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด
ตำแหน่งของหลังคาโซลาร์เซลล์ควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงสร้างของหลังคาก่อนว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ และควรจำกัดพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ที่จะติดตั้งด้วย
ปัจจุบันเมื่อผู้คนหันมาสนใจการใช้แผงโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น ผู้ให้บริการก็มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความน่าเชื่อถือ เพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นเป็นการลงทุนระยะยาว หากเลือกผู้ติดตั้งไม่มีคุณภาพ อาจเกิดปัญหาตามมาได้
โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 1-2 เดือน และในรายละเอียดการขออนุญาตอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ในการติดตั้ง แต่ถ้าหากเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับบุคคล จะมีขั้นตอนดังนี้
การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน สามารถลงทุนให้คุ้มค่า และประหยัดไฟได้ในระยะยาว โดยมีหลักการหลักๆ คือการคำนวณค่าไฟ หรือคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อน ซึ่งต้องทำตั้งแต่ก่อนติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์
โดยจะมีสูตรสำหรับการคำนวณค่าไฟคร่าวๆ ดังนี้
ตรวจสอบปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนว่าใช้เดือนละกี่หน่วย (KW-h)
จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน แบ่งเป็นช่วงเช้า และเย็นทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันจะได้ค่าคำนวณหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 เช่น 50+40+50+65 = 205/4 เฉลี่ยแล้วไฟฟ้าที่ใช้ในตอนกลางวันจะอยู่ที่ประมาณ 51.25 หน่วย
ใน 1 วันจะมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชั่วโมง ให้นำค่าเฉลี่ยไฟฟ้าที่ใช้ในตอนกลางวันมาหาร 5 จะได้ค่ากิโลวัตต์ที่เหมาะสมในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยจำนวนแผงที่ติดตั้งจะต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง ค่าเฉลี่ยใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันอยู่ที่ 51.25 หน่วย นำมาหาร 5 ได้เท่ากับ 10.25 ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมคุ้มทุนที่สุด
งบประมาณในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัยที่ต่างกันออกไป ปัจจุบันราคาในการติดตั้งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ ความยากง่ายในการติดตั้ง และจำนวนแผ่นที่จะติดตั้งด้วย ซึ่งในแต่ละบริษัทที่ให้บริการจะกำหนดราคาที่ต่างกัน ควรเลือกอย่างน้อย 2-3 บริษัทแล้วนำมาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และการให้บริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเดิมแล้ว การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นคุ้มค่ากว่ามาก เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงเท่าตัว ซึ่งจะคืนทุนเร็วหรือช้าก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของโซลาร์เซลล์ และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านด้วย ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์สามารถประหยัดค่าไฟไปได้ราวๆ 500-1000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกประเภทอีกด้วย
หากต้องการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ สิ่งที่ควรคำนึงคือบ้านที่เหมาะในการติดตั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าทุกบ้านจะเหมาะแก่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ บางรูปแบบของบ้านอาจไม่เอื้อต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ ซึ่งรูปแบบของบ้านที่เหมาะแก่การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ มีดังนี้
หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อปเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อย่างดี และยังช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย เพราะแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาด เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ฟอสซิล ที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน การผลิตพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์นั้นจึงมีความคุ้มค่ากว่า แต่ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง โดยควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบพื้นที่สำหรับติดตั้ง และตรวจสอบประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะกับบ้านด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
อ่านบทความสินเชื่อบ้าน
และเรื่องบ้านเพิ่มเติม