Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

DIGITAL IS THE FUTURE

DIGITAL IS THE FUTURE

​Digital คืออนาคต


Digitalization หรือ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหารายได้และโอกาสใหม่ๆ กำลังสร้างผลกระทบอันยิ่งใหญ่และมีผลอย่างมากต่อการปรับรูปแบบทางสังคมและเศรษฐกิจโลก บริษัทต่างๆ ในทุกๆ อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการปรับตัวตามเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่โลกของการลงทุนก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เช่นกัน

บริษัทที่ขาดวิสัยทัศน์หรือขาดศักยภาพในการปรับเปลี่ยน จะถูกทิ้งห่างและเป็นโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์หรือมีความสามารถในการปฏิวัติรูปแบบการทำธุระกิจใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและรายได้ โดยมี Digitalization เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจ เปลี่ยนแปลงการจัดการแบบเดิมได้สู่รูปแบบที่ยั่งยืนกว่าสำหรับโลกอนาคต

เป็นที่คาดการณ์ว่า บริษัทมากกว่าร้อยละ 90 ในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก จะได้รับผลกระทบจาก Digitalization ในแง่ความแตกต่างของมูลค่าตลาดของบริษัทที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกับบริษัทที่กำลังถูกท้าทาย บริษัทที่เป็นผู้นำด้าน Digitalization จะโดดเด่นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในด้านความสมารถในการแข่งขัน ในมุมของนักลงทุน ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประเมินแต่ละบริษัทแต่ละธุรกิจให้ถูกต้องเกี่ยวกับสถานภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ที่จะมีผลกระทบต่อการอยู่รอดหรือความยั่งยืนของแต่ละธุรกิจ

ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง (Adaptability) เป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการ Digitalization ธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่ตลาดแบบออนไลน์เพื่อการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น สร้างระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) ลงทุนในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ (Big Data) สร้างให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง (Machine Learning) รวมทั้งใช้ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการทำงานแทนมนุษย์อีกด้วย

ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีเหล่านี้ในปัจจุบัน ยังห่างไกลคำว่า “เต็มศักยภาพ” เพราะบทบาทและความสำคัญของการใช้ดิจิทัลยังไม่สิ้นสุด มีนวัตกรรมให้ได้เห็นตามสื่ออยู่ทุกวัน โดยสถาบันการเงินชั้นนำของโลกแห่งหนึ่งประเมินไว้ว่าปริมาณการซื้อขายในตลาดออนไลน์จะเติบโตจากประมาณ 500 ล้านยูโร (1.8 หมื่นล้านบาท) ในวันนี้ เป็น 6 พันล้านยูโร (2.1 แสนล้านบาท) ได้ภายในปี 2025

Digitalization ได้กลายเป็นพลังบวกอย่างมากต่อทุกอุตสาหกรรม เห็นได้ชัดในกรณีของอุตสาหกรรมไอที บริษัทในกลุ่ม 'FAANG' (Facebook, Amazon, Apple, Netflix และ Google) สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง และสร้างความเติบโตอย่างมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังเชื่อได้ว่าพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความสามารถของคอมพิวเตอร์ จะเป็นแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องให้บริษัทเหล่านี้ พัฒนาความสามารถด้าน Machine Learning และ Automation ต่างๆ ต่อไปได้อีกในอนาคต

อีกหนึ่งในอุตสหกรรมที่ถูกความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซง หนีไม่พ้นธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่มีกลุ่ม Fin Tech (Financial Technology) เข้ามาแทรกตัวแข่งขัน ช่วยให้ธุรกรรมด้านการเงินรวดเร็ว ทันใจและถูกต้อง กดดันธนาคารยักษ์ใหญ่ให้ลงทุนในโครงสร้างเทคโนโลยีที่มั่นคงเพื่อปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภค ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะความต้องการอาคารสำนักงานที่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นความต้องการสถานที่นั่งทำงานร่วมกันกับผู้อื่น (Co-working space) และศูนย์การค้าที่มีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ จากพฤติกรรมการซื้อของ online ที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

ในขณะที่ Digitalization ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก กระบวนการคัดเลือกการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือกองทุน ควรถูกปรับปรุงให้สามารถแยกแยะบริษัทที่จะได้รับประโยชน์จาก Digitalization ออกจากกลุ่มที่จะถูกท้าทาย แยกผู้นำออกจากผู้ตาม คัดสรรผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ยั่งยืนในระยะยาว


ประจำเดือน กรกฎาคม 2562


กลับ
PRIVATE BANKING