Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​

        ปัจจุบันนอกจากผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพที่มาแรงนั้น ยังมีกระแสของการตื่นตัวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันยิ่งเพิ่มมากและถูกพูดถึงกันมาอย่างต่อเนื่องในหลาย ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ ปัญหาที่เกิดจากปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและตกค้างหลงเหลือในธรรมชาติอย่างมหาศาล เนื่องจากการนำกลับมาใช้ใหม่นั้นสามารถทำได้เพียงแค่ส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดการตื่นตัวทั้งทางด้านของรัฐบาลเอง ด้านธุรกิจ รวมไปถึงประชาชนทุกคนที่เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่าคนไทยจะให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้นยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามว่าจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือไม่ รวมถึงสินค้า และ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นราคาที่ผู้บริโภครับได้ และ เต็มใจที่จะจ่าย ซึ่งอาจจะสูงกว่าราคาของสินค้าปกติ 1% – 20% โดยผู้ประกอบการจะต้องคุมต้นทุนให้ตลอดสายการผลิตสินค้าและบริการให้มีค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มไม่เกิน 20% (ขึ้นอยู่กับสินค้า) ควบคู่ไปกับการเร่งสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ เช่น กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การแสดงฉลากหรือตราสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในอนาคตหากผู้บริโภคหันมาสนับสนุนสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ราคาจำหน่ายถูกลงหรือไม่แตกต่างไปจากราคาสินค้าปกติทั่วไปได้ในที่สุด

อย่างไรก็ดี การจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะต้องใช้เวลา ความต่อเนื่อง และความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน แม้ว่าช่วงแรกอาจจะต้องเผชิญกับต้นทุนการดำเนินการที่สูง แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะได้มาเรื่องความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ต่อแบรนด์ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ก็นับว่าคุ้มค่า และหากผู้ผลิตได้รับการสนับสนุนจากรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็น่าจะดีกว่าการผลักภาระไปให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะยอมจ่ายแพงขึ้นหรือไม่ และท้ายที่สุดด้วยตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์โลก ก็น่าจะเป็นโอกาสทองของภาคธุรกิจที่จะขยายตัวและทำให้ต้นทุนค่อยๆปรับลดลงได้ในที่สุด

82% ของผู้บริโภคสนใจสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค (FMCG) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น กลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นกลุ่มที่ปรับกลยุทธ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เร็วที่สุด เพราะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีการซื้อใช้อยู่เป็นประจำ และ บ่อยครั้ง หรือ มีพฤติกรรมที่ทำอยู่แล้ว อย่างการซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเติม หรือการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติและย่อยสลายได้ง่าย เป็นต้น  

​อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
คลิกที่นี่



กลับ