Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​        ​ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้มีการบริหารจัดการ และ การออกมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ไปพร้อมกับการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ อิสราเอล สหราชอาณาจักร หรือ สหรัฐฯ ที่สามารถดำเนินการแจกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และ ครอบคลุมประชากรโดยส่วนใหญ่ได้ ทำให้สถานการณ์ภายในประเทศเหล่านี้เริ่มคลี่คลายลง และ เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ได้แล้ว อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียที่มีการกระจายวัคซีนได้ค่อนข้างช้า และ ประกอบกับการเผชิญการระบาดระลอกใหม่จากการกลายพันธ์ของไวรัส โดยในปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกันอยู่นี้ คือ “สายพันธุ์เดลต้า” ซึ่งมีการแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ ทำให้ประเทศที่เคยควบคุมได้ดี ต้องกลับมาพบกับสถานการณ์ที่รุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากสายพันธุ์ใหม่สามารถหลบเลี่ยงภูมิ และ สามารถต่อต้านประสิทธิภาพของวัคซีนได้นั่นเอง


ประเทศไทยออกมาตรการควบคุมเข้มงวดอีกครั้ง
        การระบาดระลอก 3 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในประเทศนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 64 เป็นต้นมา ทำให้สถานการณ์ภายในประเทศรุนแรงขึ้น ผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากที่มีการพบสายพันธุ์เดลต้า มาตรการการคุมเข้นจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง โดยในวันที่ 20 ก.ค. 64 ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดใน 13 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง โดยมีใจความที่คล้ายคลึงกับช่วงเดือนเมษายน 63 ที่ผ่านมา อาทิ ห้ามนั่งทานอาหารที่ร้าน ปิดห้างสรรพสินค้า จำกัดการเดินทางออกต่างจังหวัด แตกต่างที่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งประเทศ ในขณะที่การแพร่ระบาดในปัจจุบันมีความรุนแรง และ ส่งผลกระทบมากกว่าในช่วงปีที่ผ่านมา สถานะทางการเงินของทั้งภาคธุรกิจ และ ครัวเรือนเปราะบาง หนี้ครัวเรือนมีความน่ากังวลสูงขึ้น อีกทั้งการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อนี้ส่งผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกหลาย ๆ ด้าน ตลาดแรงงานเปราะบาง อัตราการว่างงานเพิ่มสูงข้น อีกทั้ง “ภาคการท่องเที่ยว” ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้จากการริเริ่มโครงการ Phuket Sandbox ที่ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วเดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว (อยู่บนเกาะภูเก็ตไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนเดินทาง) อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่รุนแรงมากขึ้น ​

        ด้วยสถานการณ์ภายในประเทศที่น่ากังวล ในเบื้องต้นทางภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ และ แรงงานทั้งใน และ นอกระบบประกันสังคม โดยขยายให้ครอบคลุมถึง 9 สาขาอาชีพ และ มีมาตรการการออกมาเบาเทาค่าใช้จ่ายอย่างการลดค่าน้ำ ค่าไฟ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทบยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะสิ้นสุดลง โดยการแพร่ระบาดภายในประเทศแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ อัลฟา 74% เดลตา 24% และ เบตา 1.7% แต่อย่างไรก็ตามสายพันธุ์เดลต้ามีแนวโน้มที่จะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในไทย จากการที่ล่าสุดมีสัดส่วนภายในกรุงเทพฯ สูงขึ้นเป็น 57% ในเดือนกรกฎาคม (จากเดิมที่ 32.4% ในเดือนมิถุนายน) ในขณะที่ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ป้องกันสายพันธุ์ดังกล่าวได้นั้นยังมีความไม่ชัดเจน นอกจากนี้อัตราการฉีดวัคซีนของประชาชนภายในประเทศของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ที่ 13.3% ของจำนวนประชากร จึงทำให้แนวโน้มการหยุดการแพร่ระบาดนั้นยังเป็นได้ยาก

​เส้นทางการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับการควบคุมการระบาด อัตราการฉีดวัคซีน ความหลากหลายของวัคซีน และการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ​

 
การตรวจสอบสายพันธุ์ตั้งแต่เดือน เม.ย. 64

สัดส่วนสายพันธ์ุที่เฝ้าระวังในกรุงเทพฯ ​

 ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (12 ก.ค.2564) ​


        อย่างไรก็ตามในระยะข้างหน้าทางสหราชอาณาจักร และ สิงคโปร์ได้มีการมองว่า COVID-19 จะไม่ได้หายไปแต่อาจมีการกลายพันธุ์ได้อีก และ สุดท้ายจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนโรคไข้หวัดทั่วไป แผนการเตรียมการเพื่ออยู่ร่วมกับ COVID-19 จึงมีความจำเป็น ล่าสุดทางสหราชอาณาจักรได้ออกมาแถลงถึง “แผนการอยู่ร่วมกับ COVID-19” โดยจะเตรียมการฉีดวัคซีนให้รวดเร็วขึ้น (มีการลดระยะเวลาการฉีดเข็ม 2 ให้เร็วขึ้น) รวมถึงยกเลิกมาตรการควบคุมต่าง ๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัยให้เป็นไปตามความสมัครใจ ธุรกิจต่าง ๆ สามารถกลับมาดำเนินการได้ปกติ ด้านสิงคโปร์เริ่มมีการพูดถึงแผน “เรียนรู้อยู่กับไวรัสใช้ชีวิตปกติสุขในระยะยาว” โดยจะมีการเตรียมการฉีดวัคซีน ชุดตรวจเชื้อ และ เตรียมการมีชีวิตปกติใหม่ (New normal) ในสถานการณ์ที่มี COVID-19 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญของแผนการอยู่ร่วมกับ COVID-19 ของทั้ง 2 ประเทศ คือ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ที่จะสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้นั่นเอง
 
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ต่าง ๆ ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง แม้จะมีการได้รับวัคซีนแล้ว เมื่อไวรัสพัฒนาเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาก็ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ตัวอย่างเช่นในอิสราเอลที่กำลังเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นการลงทุนจะยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและปีถัดไป ​


จิรดา ภักดิ์วิไลเกียรติ (นักวิจัย)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สอบถามข้อมูลการลงทุน หรือ ผลิตภัณฑ์ธนาคารเพิ่มเติมได้ง่าย ๆ 
เพียง​​​​​สมัครบริการเพื่อรับสิทธิ์บน 



กลับ