รับมือสหรัฐฯ เล็งขยายฐานอำนาจมาอาเซียน
จากการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ - อาเซียนสมัยพิเศษครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุขและการรับมือ COVID-19, นวัตกรรม, โครงสร้างพื้นฐาน, เศรษฐกิจ ตลอดจนความร่วมมือในประเด็นภูมิภาคระหว่างประเทศ และ ปัญหาทางด้านภูมิอากาศ แต่อีกหนึ่งเบื้องหลังการประชุมนี้เกิดขึ้นมาจากการต้องการสกัดอิทธิพลของประเทศจีนในกลุ่มอาเซียนของสหรัฐฯ นั้นเอง
เบื้องหลังสำคัญของการจัดประชุม
เริ่มต้นจากความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจสหรัฐฯ และ จีน เป็นประเด็นที่ยืดเยื้อมานานจากการขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลของสหรัฐฯ ทำให้ในสมัยของประธานาธิปดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการออกมาตอบโต้จีนอย่างรุนแรงผ่านมาตรการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำแพงภาษี การกำหนดเงื่อนไขการนำเข้า
การตอบโต้ของสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ไม่มีปัญหาทางการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ดังนั้นอาจเรียกได้ว่าการประชุมครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในกับกลุ่มประเทศอาเซียน กับทางสหรัฐฯ โดยมีเหตุผลหลัก ๆ คือ
- เป็นการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
- คานอิทธิพลของจีน
- รักษาสถานะความเป็นประเทศมหาอำนาจของสหรัฐฯ
อาเซียนสีเขียว ข้อตกลงอันสวยหรูที่ส่งผลต่อไทย
อย่างไรก็ตามการประชุมในครั้งนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อสร้าง “อาเซียนสีเขียว” อย่างยั่งยืนและสมดุล
ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา และ จะขยายความร่วมมือนี้กับกลุ่มอาเซียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และ โลก
ด้วยเหตุนี้สำหรับผู้ประกอบการไทยและอาเซียน จะต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน พลังงานสะอาดมาปรับใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง
นอกจากนี้การแสดงจุดยืนในการวางตัวเป็นกลางของไทย จะเอื้อประโยชน์ต่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยและอาเซียนได้อย่างยั่งยืน
เวียดนาม เป้าหมายการลงทุนอันดับ 1 ในอาเซียน
ผลพวงจากเหตุการณ์ต่างๆ ส่งผลให้สหรัฐฯ มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนเข้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสาเหตุว่าประเทศเวียดนามมีพรมแดนที่ติดกับจีนตอนใต้ จึงทำให้ประหยัดต้นทุนในการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากจีน อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบอีกหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ต้นทุนแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
- สัดส่วนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมีระดับสูง
- ศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการสนับสนุนจากภาครัฐ และ เป้าหมายที่จะยกระดับเป็นประเทศที่มี “รายได้สูง” ในปี 2588
- การทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับหลายประเทศ ส่งผลให้เวียดนามมีความน่าดึงดูดในฐานะการเป็นฐานส่งออกสินค้า
- แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง การขยายความเจริญไปยังเมืองรองต่างๆ อย่างรวดเร็ว เป็นตัวช่วยเพิ่มกำลังซื้อของประชากรในประเทศมากขึ้น
จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 นี้ว่าจะเป็นประเทศที่เติบโตโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียนถึง 6%
โอกาสเติบโตไปพร้อมกับผู้นำเศรษฐกิจแห่งใหม่ของอาเซียน
จากการคาดการณ์การเติบโตของเวียดนามนั้น จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุน กองทุน K-VIETNAM จึงเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดยผู้จัดการกองทุนคัดสรรและลงทุนตรงในบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันและได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว
กองทุนแนะนำ
K-VIETNAM
กองทุนหุ้นเวียดนาม
อ่านรายละเอียดกองทุน
| ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS
|
ทำไมต้อง K-VIETNAM?
- ลงทุนตรงในหุ้นเวียดนามชั้นนำ เน้นหุ้นกลุ่มที่มีศักยภาพการเติบโตสูง
- ผลการดำเนินงานโดดเด่น เอาชนะดัชนีชี้วัดอย่างสม่ำเสมอ
เหมาะกับใคร?
- ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นเวียดนาม
- ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้สูง
- ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
- ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม
- ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง
- ปัญหาการคอร์รัปชันที่อาจกระทบกับบริษัทจดทะเบียนในประเทศ
K-Expert วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
ที่มา :