Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​        วิกฤตธนาคารในปี 2023 นี้ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจแม้จะยังไม่ลุกลามเป็นวงกว้างแต่ยังไม่ทราบได้ว่าจะมีจุดจบอย่างไร หากย้อนกลับไปปี 2008 ตลาดการเงินทั่วโลกต้องสะเทือนกับเรื่องช็อกวงการเมื่อ Lehman Brothers Holding Inc. วาณิชธนกิจระดับโลกประกาศล้มละลาย หลังขาดทุนมหาศาลจากการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ Dow Jones ร่วงอย่างหนัก ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตซับไพร์มอันเลื่องชื่อต่อมา




จุดเริ่มต้นวิกฤต สาเหตุจากการกู้มาลงทุน (Leverage)

ในยุคของ ริชาร์ด เอส. ฟุลด์ ก้าวมาเป็นผู้บริหาร หลังทำงานให้ Lehman Brothers มากว่า 40 ปี เขามีความเชี่ยวชาญในการขายตราสารหนี้จนโด่งดัง ได้กู้มาลงทุนสูงสุดถึง 44 เท่า และออกตราสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ตราสารหนี้ที่มีหนี้เป็นหลักประกัน (Collateral Debt Obligation) หรือ CDO ขึ้นมา โดย Lehman Brothers จะทำการรวบรวมหนี้ทั้งหมดไว้ แล้วขาย “ก้อนหนี้” เหล่านั้นให้นักลงทุน เน้นสินเชื่อจากอสังหาริมทรัพย์ เรียกตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันว่า Mortgage Backed Security หรือ MBS ซึ่งสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มัดรวมอยู่ในนั้นจะรวมทั้งผู้ที่มีเครดิตสูง (prime) และผู้ที่มีเครดิตต่ำ (subprime)

        Lehman Brothers ยังนำเงินที่ได้จากนักลงทุนไปจ้างสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ประเมินว่าหลักทรัพย์ CDO ที่ปล่อยขายไปนั้นอยู่ในเกรด AAA ให้ดูมีความน่าสนใจ ทำให้นักลงทุนแห่กันเข้ามาซื้อตราสาร CDO และ MBS ได้สร้างกำไรอย่างรวดเร็ว และนำเงินสดจากนักลงทุนไปปล่อยกู้ที่อยู่อาศัยให้กับคนทั่วไป โดยไม่มีการคัดกรองตามมาตรฐาน อีกทั้ง Lehman Brothers ยังมีระบบโบนัส เป็นการจูงใจให้พนักงานที่เกี่ยวข้องเร่งแผนการลงทุนของบริษัทยิ่งขึ้น 



เกิดภาวะฟองสบู่ หุ้นของ Lehman Brothers ดิ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปีแต่แล้วตลาดอสังหาฯ ราคาขึ้นอย่างรุนแรงจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเงินเฟ้อเริ่มขึ้น ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ขึ้น การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยน้อยลงเพราะดอกเบี้ยสูง ราคาบ้านลดฮวบกลับสู่มูลค่าที่แท้จริงในที่สุด เกิดการผิดชำระหนี้กันอย่างมากมาย ตราสารหนี้ MBS ที่ออกเสนอขายก็หมดความน่าเชื่อถือ

Lehman Brothers ได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ถูกปฎิเสธ อาจเป็นเพราะการหลอกลวงผู้ถือหุ้นโดยการแต่งงบให้ดูดีเพื่อให้ดูว่าเงินสดและสภาพคล่องของบริษัทมีเหลือเพียงพอ Lehman Brothers ยังเสนอขายกิจการให้กับ Bank of America กับ Barclays แต่ตกลงดีลไม่ได้ เมื่อ Lehman Brothers ล้มละลาย กองทุนต่าง ๆ และธนาคารที่ปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ต่างพากันล้มเป็นทอด ๆ เหมือนโดมิโน



สรุปบทเรียนจากวิกฤตของ Lehman Brothers 

    • การกู้เงินมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างการลงทุนใน MBS ที่เป็นหนี้เน่า เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูง
    • ปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมมาลงทุนจนเกิดการขาดสภาพคล่อง
    • ระบบการจ่ายโบนัสของ Lehman Brothers ที่จะจ่ายโบนัสเมื่อบริษัทสามารถทำกำไรได้ จึงเป็นการจูงใจให้พนักงานที่เกี่ยวข้องเร่งแผนการลงทุนของบริษัท ส่งผลให้ขาดความระมัดระวังต่อแผนการลงทุน

วิกฤตล้มละลายของ Silicon Valley Bank และ Credit Suisse (CSGN) จะซ้ำรอย?

สำหรับ Silicon Valley Bank เป็นธนาคารที่ร่วมทุนและลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ หรือ ที่เรียกว่า Venture Capital (VC) โดยแลกกับหุ้นหรือสิทธิประโยชน์บางอย่าง บริษัทถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทปล่อยกู้ที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 16 ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดหาเงินทุนให้กับบริษัทสตาร์ทอัพมากมาย เช่น Shopify, Pinterest, Fitbit, Roku และสตาร์ทอัพอีกหลายพันราย



        สาเหตุที่ SVB ถูกสั่งปิดชั่วคราว ไม่ได้เกิดจาก NPL (หนี้เสีย) หรือ คุณภาพสินทรัพย์แบบที่เคยเกิดกับ Lehman Brothers แต่มาจากปัญหาจากกลุ่ม Venture Capital / Start Up ซึ่งเป็นลูกค้าหลักจำนวนมากออกมาถอนเงิน หลังประสบปัญหาการระดมทุน จนส่งผลให้ SVB มีปัญหาด้านสภาพคล่องจนต้องขายสินทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้ออกมา แต่จากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมาทำให้ราคาตลาดตราสารหนี้ที่เคยซื้อมาเดิมปรับลดลง ทำให้ SVB จำใจขายตราสารหนี้ในราคาต่ำกว่าทุน ธนาคารได้ขายพันธบัตรไป 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดผลขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ไป 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนนำไปสู่การขายหุ้นเพิ่มทุน 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามการประกาศเพิ่มทุนทำให้ผู้ฝากเงินตกใจ อีกทั้ง Founders Fund ซึ่งเป็น Venture Capital มีการแนะนำให้ Venture Capital รายอื่นๆถอนเงินออกจาก SVB อย่างรวดเร็ว ทำให้ SVB เจอกับปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงและนำไปสู่ปัญหาในปัจจุบัน

เฟิร์สต์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ เข้าซื้อกิจการซิลิคอน วัลเลย์

แต่ปัญหาคลี่คลายลงเพราะเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ธนาคารเฟิร์สต์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ หรือ SVB โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึงเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดของ SVB ข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นจุดสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินของสหรัฐ ดังนั้นที่ Silicon Valley Bank ล้มจากปัญหาสภาพคล่องและความรุนแรงดูไม่เท่าในอดีตเนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและผลกระทบค่อนข้างจำกัด จึงไม่เหมือนกับ Lehman Brothers 



        สำหรับ Credit Suisse เริ่มต้นจากปัญหาผลขาดทุนจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาเรื่องงบการเงินที่อาจมีการล่าช้าจากประเด็นการควบคุมภายในด้านการรายงานตัวเลข และความกังวลจากผลกระทบต่างๆจาก Silicon Valley Bank รวมถึงข่าวจาก Saudi National Bank ซึ่งออกมาประกาศที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10% จากเหตุผลด้านกฎหมาย ส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลมากขึ้น และราคาตราสารอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ (CDS) ดีดตัวสูงขึ้น โดย 5-year CDS ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 442 bps สู่ระดับ 818 bps ในวันที่ 15 มี.ค.

        แต่แล้วความกังวลได้รับการคลี่คลายโดยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม UBS ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อธนาคาร Credit Suisse ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่ข้อตกลงนี้ ผู้ถือ AT1 ของ Credit Suisse จะสูญเสียเงินทั้งหมด

​*AT1 คือ พันธบัตร Contingent Convertibles (CoCo) ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกหากระดับเงินกองทุนของธนาคารต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถแปลงเป็นทุนหรือตัดจำหน่ายได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรองรับเงินทุนที่หน่วยงานกำกับดูแลต้องการให้ธนาคารถือครองเพื่อให้การสนับสนุนในช่วงเวลาที่ตลาดเกิดความวุ่นวาย



เหตุการณ์นี้ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนใน AT1 ไม่พอใจและมีการเรียกร้องจำนวนมากและการออกตราสาร AT1 ของธนาคารภายหลังจากนี้เพื่อระดมทุนคงเป็นไปยากขึ้นจากประเด็นดังกล่าว ดังนั้น Credit Suisse ปัญหามาจากการดำเนินงานที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2021 และ สัญญาณความเสี่ยงที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่พุ่งขึ้น ประกอบกับการประกาศลดการถือหุ้นของ Saudi National Bank ในช่วงเวลาที่พึ่งเกิดวิกฤต Silicon Valley Bank ที่เกิดความวิตกกังวลฉุดราคาหุ้นร่วง แต่ท้ายสุดก็ได้ขายกิจการให้กับ ธนาคาร UBS

        อย่างไรก็ตามลูกค้าของ Credit Suisse ดูจะยังไม่เชื่อมั่นในเสถียรภาพของธนาคาร ทำให้เกิดการทยอยถอดเงินฝากออกอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนกว่า 6.7 หมื่นล้านฟรังก์สวิส และ ทำให้สินทรัพย์ลดลงกว่า 6.1 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (ณ วันที่ 24 เม.ย. 66) ซึ่งลดลงกว่าครึ่งของช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่มุมมองของนักวิเคราะห์บางท่านยังให้ความเห็นว่า ประเด็นนี้อาจไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่กังวล เพราะ แม้จะมีแผนลดขนาดธุรกิจ และ ลดต้นทุนจำนวนพนักงานแต่ก็ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แสดงให้เห็นว่าตลาดไม่ได้ให้น้ำหนักมากนักนั่นเอง


  
        หากพิจารณาต่อไปที่ราคาหุ้นของ Credit Suisse และ UBS ยังไม่ค่อยมีการปรับลดลง ผลประกอบการในภาพรวมของธนาคาร UBS เองก็ยังมีกำไรอยู๋ในเกณฑ์ที่ดี แม้จะลดการตั้งสำรองจ่าย และ มีเม็ดเงินไหลออก  แต่ก็ยังมีเงินที่ไหลเข้ามาในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของ UBS สะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้ายังคงมีความเชื่อมั่นใจเสถียรภาพของ UBS ท่ามกลางบรรยากาศที่มีความไม่แน่นอนของตลาด 

        ไม่เพียงแต่ Credit Suisse ที่ลูกค้าพากันถอนเงินฝากออกจากระบบ แต่ธนาคาร First Republic Bank เองก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน โดยเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับสถานะการเงินของธนาคาร First Republic ซึ่งเป็นผลพวงต่อเนื่องจากการที่ SVB ล่มสลายไปก่อนหน้านี้ ทำให้ยอดเงินฝาก รวมไปถึงราคาหุ้นปรับตัวลดลง ทั้งยังถูกบริษัทจัดอันดับ Moody’s ลดอันดับความน่าเชื่อถือลงมาที่ B2 (ระดับกลางของ Non-Investment Grade) ทำให้ธนาคารต้องรีบออกแผนรับมือลดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะต้องติดตามท่าทีของ Fed ที่จะเข้ามาช่วยเหลือในเร็ววันนี้ และ การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงควรเพิ่มความระมัดระวังพร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

กลับมาลงทุนได้หรือยัง? ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังวางใจไม่ได้
        แม้วิกฤตสภาพคล่องแบงก์ยังไม่จบแต่คาดว่าสถานการณ์แบงค์ล้มที่คลี่คลายแล้วจะไม่ลุกลามเป็นวงกว้าง และตลาดดูตอบรับไม่ได้กังวลมากนัก เนื่องจากรอบนี้ธนาคารกลางและหน่วยงานที่เกี่ยงข้องเข้ามาช่วยเหลือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังวางใจไม่ได้เนื่องจาก Credit Default Swap (CDS) อนุพันธุ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของธนาคารในสหรัฐและยุโรปยังพุ่งขึ้นค่อนข้างสูง จึงยังควรระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และควรติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับการตั้งรับและปรับพอร์ตการลงทุน รับมือความไม่แน่นอนในตลาดปัจจุบันที่ยังมีอยู่ 

         จากผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED และการอัดฉีดสภาพคล่องไปก่อนหน้าจำนวนมหาศาล ที่เริ่มสำแดงให้เห็นจากวิกฤตแบงค์ต่างๆ ที่เป็นข่าว และแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ลดลง ทำให้ทิศทางนโยบายการเงินหลังจากนี้ท่าทีของ FED ดู เข้มงวดน้อยลงจากข้อมูล CME FED Watch Tool 



    • คาดการณ์ว่ามีโอกาสที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายการเงินในการประชุม FOMC เดือนพฤษาคมนี้อีกเพียง 1 ครั้งในปีนี้ (ข้อมูล CME FED Watch Tool วันที่ 27 เมษายน 66) ทั้งนี้พิจารณาจากข้อมูลในอดีตบอนด์ยีลด์สหรัฐ 10 ปี จะแตะสูงสุดก่อนการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายราว 1 เดือน
    • การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในช่วงนี้จึงมีความน่าสนใจมากเพราะจะได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นที่ใกล้ถึงจุดสูงสุด และ อาจได้รับปัจจัยบวกเพิ่มเมื่อ FED หยุดการขึ้นดอกเบี้ย ราคามูลค่าตราสารหนี้ก็จะปรับเพิ่มขึ้น
    • สำหรับนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ปานกลางการลงทุนในกองทุนผสม นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีเพราะไม่จำเป็นต้องจับจังหวะการลงทุน สามารถเข้าลงทุนได้ทุกช่วงเวลา เนื่องจากมีผู้จัดการกองทุนคอยปรับสัดส่วนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของตลาด
    • กองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3 เน้นการลงทุนในประเทศ ซึ่งยังมีปัจจัยพื้นฐานดี และได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในระยะสั้นกองทุนรวมผสมอาจจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง ตามสภาวะตลาดในระยะยาวกองทุนรวมทั้ง K-PLAN2 และ K-PLAN3 ก็ทำผลงานได้โดดเด่น เมื่อเทียบกับกองประเภทเดียวกันในตลาด

กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

        แนะนำทยอยสะสมกองทุนผสม กองทุนผสมสร้างผลตอบแทนระยะยาวและกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-Asset) ทั้งในและต่างประเทศ โดยลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และ/หรือ เงินฝาก

K-PLAN 2
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



K-PLAN 3
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS





กลับ