Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

        ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปและสหรัฐฯ และการคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงที่ยาวนาน ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สะท้อนได้จากการคาดการณ์ของ IMF ที่ประเมินเศรษฐกิจโลกในปีนี้ (ณ เดือน ก.ค. 23) จะขยายตัวเพียง 3% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่ระดับ 3.47%  โดยประเมินว่า ฝั่งภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และหนี่งในประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโตสูงนั้น ที่มีความน่าสนใจอยู่มาก คือประเทศ “เวียดนาม”


แรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเริ่มกลับมาโต




        ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา เวียดนามเป็นดาวเด่นที่ดึงดูดนักลงทุน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง สะท้อนได้จากตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 66  เติบโต 4.14% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก Bloomberg consensus ที่คาดว่าจะโตเพียง 3.8%  รัฐบาลเวียดนามยังคาดการณ์ GDP ครึ่งปีหลังจะโตถึง 8.9% โดยรวมคาดว่า GDP ปีนี้ จะเติบโตที่ 6.5% ซึ่งค่อนข้างสูงกว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง 

2 ปัจจัยภายในประเทศหนุนให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโต




        เงินเฟ้อเวียดนามที่ชะลอตัวลง นับตั้งแต่ต้นปีและต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางเวียดนามที่ 4.5% หนุนให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ 2.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้เวียดนามยังเหลือพื้นที่ให้ลดดอกเบี้ยได้อีกราว 1.5-2.0% ในปีนี้ ซึ่งจะดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินกลับเข้ามาในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น



        รัฐบาลเวียดนามยังลด VAT จาก 10% สู่ 8% สำหรับสินค้าและบริการไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการผลิตภายในประเทศ เนื่องจากการส่งออกที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น ชะลอตัวตาม อุปสงค์โลก คาดว่าการปรับลด VAT นี้จะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มบริโภคและค้าปลีกที่มีน้ำหนักราว 23% และ 42% ในดัชนี VN 30 และ VN Diamond 

อัตราเงินเฟ้อเวียดนามปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: Bloomberg, 31 Jul 2023 

ธนาคารกลางเวียดนามยังสามารถลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ

ที่มา: Bloomberg, 31 Jul 2023 

ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด



        ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามที่สร้างความกังวลต่อตลาดในปีที่ผ่านมา ที่แม้แต่บริษัทพัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนาม “บริษัท Novaland Investment Group” ก็มีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงของการปรับโครงสร้างหนี้อยู่ ทางรัฐบาลเวียดนามไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งออกมาตราการช่วยเหลือหลายแนวทาง ทั้งการปรับลดดอกเบี้ยและลด VAT ในภาคอสังหาฯ รวมถึงการยืดอายุหุ้นกู้ที่ครบกำหนดออกไป 2 ปี (หากได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นกู้อย่างน้อย 65%) ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ออกหุ้นกู้โดยเป็นการแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดกลับมา หากปรียบเทียบกับจีนที่ประสบปัญหาด้านภาคอสังหาฯ เช่นกันนั้น  ด้วยมาตรการจากภาครัฐฯ จีน ที่เข้ามาควบคุมเข้มงวด เช่น การจำกัดราคาขาย โดยห้ามลดราคามากกว่าที่ลงทะเบียนไว้กับกรมที่ดิน ทำให้การขายออกได้นั้นเป็นไปได้ยากมากกว่า ผู้ประกอบการจีนจึงเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
 

        ถ้าหากพิจารณาจากรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอสังหาฯ ในเวียดนาม ไตรมาสที่ 2 ปี 23 ที่ออกมาแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 23) บริษัท Vingroup และ Vinhomes  ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ที่สุดของประเทศ มีรายได้และกำไรดีกว่าคาด สะท้อนว่าแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ค่อยๆ ฟื้นตัว อีกทั้งรัฐบาลยังหารือมาตราการช่วยเหลือกลุ่มอสังหาฯ เพิ่มเติม ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะมีการยื่นเสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาอนุมัติในการประชุมครั้งที่ 6 ในเดือนตุลาคมนี้ ปัญหาภาคอสังหาฯ ในเวียดนามที่มีอยู่จึงดูผ่อนคลายลง 

ปัจจัยดึงดูดการลงทุนต่างชาติ​เวียดนาม



        ทำเลที่ตั้งของเวียดนามอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ติดชายทะเลกว่า 3,260 กิโลเมตร ติดเส้นทางเดินเรือนานาชาติหลายเส้นทาง พร้อมกับมีข้อตกลงค้าขายแลกเปลี่ยน ในระดับสากลจำนวนมาก นอกจากนี้เมืองใหญ่ของเวียดนามมีทำเลที่ตั้งที่ดี ฮานอยอยู่ฝั่งเหนือ และโฮจิมินห์ที่ฝั่งใต้ ซึ่งง่ายต่อการติดต่อดำเนินธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ
    • นโยบายเอื้อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้โดยตรง และรัฐบาลยังเพิ่มแรงจูงใจต่าง ๆ ให้บริษัทต่างชาติอีกมากมาย เช่น การลดหย่อนภาษีรายได้ หรือภาษีนำเข้าให้ธุรกิจบางประเภท และลดหย่อนภาษีที่ดิน
    • มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยเสมอ รวมถึงท่าเรือที่เป็นปัจจัยหลักช่วยให้ภาคขนส่งทำงานง่ายขึ้น และช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่ง
    • มีแรงงานวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก ปัจจุบันเวียดนามมีประชากร 98.22 ล้านคน เป็นวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมากถึง 56.15 ล้านคน ประชากรที่ได้รับการศึกษาของชาวเวียดนามสูงกว่า 90% ของประชากรทั้งหมด ทำให้เวียดนามมีแรงงานคุณภาพจำนวนมาก และมีฝีมือดี
    • ค่าแรงยังคงต่ำ และในปัจจุบันก็ยังต่ำกว่าจีนถึงครึ่ง (ค่าแรงขั้นต่ำของจีนอยู่ที่ประมาณ 7,100 - 12,000 บาท ส่วนของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 4,000 - 5,700 บาท)
    • มีข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ รวม 17 ฉบับ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ได้ทำข้อตกลงไว้ 

        จะเห็นว่าเหตุผลข้างต้นเหล่านี้ ทำให้เวียดนามมีความน่าสนใจและเป็นอีกตลาดที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว จึงไม่น่าแปลกใจนักที่ตลาดหุ้นเวียดนามเติบโตกว่า 20% นับตั้งแต่ต้นปีสูงกว่ากลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกัน และระดับราคาหุ้นเวียดนามยังถูกอยู่ โดยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี คาดการณ์การเติบโตกำไรต่อหุ้น (EPS growth ของ VN Index) อยู่ที่ 27.8 เท่า บนระดับ P/E ที่ 9.65 เท่า



        อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ตลาดอาจย่อตัวลงจากแรงเทขายทำกำไรบ้าง จากการปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง หากตลาดย่อตัวลงมามองเป็นโอกาสการเข้าทยอยสะสม สำหรับลูกค้าที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเวียดนามไม่เกิน 10% ของพอร์ต และสำหรับลูกค้าที่ถือการลงทุนในหุ้นเวียดนามแล้วมีสัดส่วนเกิน 10% ของพอร์ต หากมีกำไรเกิน 5-10% สามารถแบ่งขายทำกำไรเพื่อลดสัดส่วน ลูกค้าที่ถือการลงทุนอยู่และขาดทุนยังสามารถถือการลงทุนต่อได้ เนื่องจากในระยะยาวเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ดีจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่ยังคงเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รายได้ของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนระบบการเงินและค่าเงินของประเทศที่มีเสถียรภาพมากขึ้น  

        อีกทั้งยอดการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในเวียดนามเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน มูลค่าการซื้อขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นเวียดนามเติบโตต่อได้ 

ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่สำคัญตั้งแต่ต้นปี 2023

Source: Bloomberg, JA Team KBank as of 31 July 2023 

กองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (K-VIETNAM)​​
ผลการดำเนินงานโดดเด่น

        กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนบริหารกองทุนโดย บลจ.กสิกรไทย เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามในระยะยาวและคัดเลือกหุ้นที่มีราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Financials, Real Estate และ Consumer Staples ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลตอบแทนย้อนหลังยังโดดเด่นชนะดัชนีชี้วัด ติดอันดับ Morningstar 4 ดาว (ณ 30 มิ.ย. 23) 

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง กองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน

ที่มา : บลจ.กสิกรไทย ณ วันที่ 30 มิ.ย. 23 

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูง 

        เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามในระยะยาวและมีราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีทีมบริหารจัดการกองทุนที่มากประสบการณ์และศึกษาตลาดเวียดนามมาอย่างยาวนาน และให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

K-VIETNAM
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าน ๆ บน KPLUS



K-VIETNAM-SSF
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนง่าน ๆ บน KPLUS



K-VIETNAM-RMF
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนง่าน ๆ บน KPLUS



บทความโดย
กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT
Integrated Investment Advisory Chapter 



บทความที่เกี่ยวข้อง


กลับ