Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​​​​​​​​        ​​นับเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้วกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก โดยสถานการณ์ติดเชื้อยังไม่มีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดจะควบคุมได้อย่างเป็นทางการ วงการแพทย์ทั่วโลกพยายามพัฒนาวัคซีนอย่างสุดกำลังเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด ขณะที่แนวโน้มการแพร่ระบาดกลับมีความยากลำบากมากขึ้นในการควบคุมเนื่องมาจากสภาพอากาศทั่วโลกที่มีอากาศหนาวเย็นเอื้ออำนวยให้เชื้อไวรัสสามารถดำรงอยู่ได้นานมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ไวรัสยังมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีการระบาดซึ่งสร้างความกังวลและกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น


พัฒนาการวัคซีน…รวดเร็ว​แต่ยังไม่ทันใจ

        สถานการณ์วัคซีนมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้นตามลำดับ โดยการผลิตวัคซีน COVID-19 เป็นการวิจัยเพื่อผลิตในกรณีเร่งด่วน ซึ่งใช้เวลา และ ขั้นตอนที่เร็วกว่าการผลิตวัคซีนในกรณีทั่วไป เพราะปกติแล้วการพัฒนาวัคซีนทั่วไปจะใช้เวลาอย่างน้อยหลายปี ในบางกรณีอาจนานถึง 10 ปี แต่สำหรับ วัคซีน COVID-19 นั้นใช้เวลาเพียงปีกว่า ๆเท่านั้นซึ่งถือว่ามหัศจรรย์มากแล้ว โดยมีการนำไบโอ เทคโนโลยี รวมถึงการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านข้อมูลมาใช้เพื่อติดตาม และ ศึกษาผลการทดลอง การเร่งการวิจัย และ การผลิตวัคซีนทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การใช้วัคซีนจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุม และ การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด แต่ถึงกระนั้นการพัฒนาวัคซีนร่วมปีกว่า ๆ นี้ก็ยังไม่ทันใจผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดคงหวังว่าให้การแพร่ระบาดถูกควบคุมได้รวดเร็วกว่านี้


ทั่วโลกเร่งจัดหาวัคซีน เพื่อเผด็จศึก COVID-19 ในปีนี้ให้ได้
        ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการฉีดให้ประชากรที่ระดับ 50 – 60% ของจำนวนประชากรในแต่ละประเทศนั้น จะอยู่ในระดับที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ไม่เกิดการระบาดที่ลุกลามโดยระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ๆ สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น มีการประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อให้มีการอนุมัติให้ใช้ได้ โดยจะเร่งฉีดให้กลับบุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มแรก ๆ ก่อน ซึ่งคาดว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะฉีดให้กับประชากรของตนเองในระดับ 60% ภายในกลางปี 2021 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ก็เร่งจัดหาวัคซีนซึ่งปัจจุบันกำลังการผลิตภายในปี 2021 จำนวนครอบคลุมมากกว่า 70% ของประชากรทั่วโลก

โอกาสการลงทุนหลังมีการฉีดวัคซีน
        การลงทุนในกลุ่มสุขภาพถือว่ามีความน่าสนใจแม้ว่าภาวะโรคระบาดจะลดน้อยลงตามลำดับ เนื่องจากพฤติกรรมของคนได้เปลี่ยนไปแล้ว และ จะมุ่งรักษาชีวิตให้มีความปลอดภัยมากขึ้นโดยใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง และ คนรอบข้าง อีกทั้งการมาของ COVID-19 เป็นการเร่งให้เกิดการพลิกโฉมของวงการอุตสาหกรรมยา และ เวชภัณฑ์ที่มีการใช้นวัตกรรรม ไบโอ เทคโนโลยี ซึ่งช่วยให้การผลิตวัคซีนเป็นไปได้รวดเร็ว ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุทั่วโลกยังมีแนวโน้มที่ขยายตัว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ลงทุนจะกระจายความเสี่ยง และ เริ่มศึกษาการลงทุนที่เกี่ยวกับสุขภาพซึ่งเป็นแนวโน้มใหญ่ที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถสร้างโอกาสเพื่อรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต โดยตัวอย่างของกองทุนที่ลงทุนเกี่ยวกับสุขภาพของธนาคารกสิกรไทยได้แก่ กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์หุ้นทุน (K-GHEALTH) เป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพทั่วโลกที่ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง

บทความโดย : 
K-Expert กฤษณ์  ประพฤทธิ์วงศ์ 
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า



ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์หุ้นทุน (K-GHEALTH)
“ลงทุนในหุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลก ผ่านกองทุนหลักต่างประเทศ”

ทำไมต้อง เค โกลบอล เฮลท์แคร์หุ้นทุน
  • ประชากรมีอายุเฉลี่ยที่ยาวขึ้น ประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น
  • ลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั่วโลก 
  • หุ้นกลุ่มสุขภาพเติบโตได้ดีในระยะยาวจากนวัตกรรรมทางการแพทย์และระดับราคาที่เหมาะสม

ลงทุนใน 4 กลุ่มธุรกิจ 
  • เวชภัณฑ์ 
  • เทคโนโลยีชีวภาพ 
  • เทคนิคการแพทย์
  • บริการด้านการดูแลสุขภาพ

เหมาะสำหรับใคร
  • ผู้ลงทุนที่ต้องการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจดูแลสุขภาพทั่วโลก เช่น บริษัทยา โรงพยาบาล ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง  
  • ผู้ที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุน และ ทำให้ขาดทุนได้  
  • ผู้ลงทุนที่ต้องการได้รับเงินปันผลระหว่างการลงทุน  
  • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะยาวตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้





​ช่องทางการซื้อกองทุน

​ศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม
​อ่านรายละเอียดกองทุน




กลับ

​​