ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และ การปรับลด GDP ในไทย
ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ประเทศของไทยที่ยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการประกาศมาตรการการล็อคดาวน์มาแล้วหลายเดือน ประกอบกับปริมาณวัคซีนที่มีไม่เพียงพอ และ การกระจายวัคซีนที่อาจจะไม่ดีนัก ทำให้ยอดผู้ได้รับวัคซีนในปัจจุบันของไทยยังไม่ได้ตามเป้าหมายเพื่อการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้ตัวเลขอัตราการเสียชีวิตและติดเชื้ออยู่ในปัจจุบันนั้นยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งเศรษฐกิจไทยเองก็อยู่ในสภาวะอ่อนแอ สะท้อนได้จากการปรับประมาณการ GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุดที่คาดการณ์การขยายตัวลดลงเหลือ 0.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 1.8% รวมไปถึงแนวโน้มของค่าเงินบาทอ่อนค่า อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลักที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจทยอยปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ฟื้นตัว ทำให้เงินสกุลดอลลาร์นั้นกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท และส่งผลกดดันให้กับความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นไทย เป็นเหตุนักลงทุนต่างชาติมีการเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ช่วงเวลาปัจจุบันนี้การลงทุนในประเทศไทยมีความน่าสนใจน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศที่รับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ได้ดี และ มีการฟื้นตัวจากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ
เศรษฐกิจโลกเติบโตสวนทางไทย
ต่อมาเมื่อพิจารณาไปที่เศรษฐกิจโลก IMF ที่คาดการณ์เศรษฐกิจโลกเติบโตไว้ที่ 6% โดยเป็นการปรับน้ำหนักการเติบโตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็น 5.6% จากเดิมที่ตั้งเอาไว้ที่ 5.1% อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวในแต่ละประเทศนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการฉีดวัคซีน และ การรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ดี คือ สหรัฐฯ และ ยุโรป ส่วนไทยเองยังมีการฉีดวัคซีนในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกอยู่มากดังที่กล่าวไว้
ด้วยเหตุผล และ สถานการณ์เศรษฐกิจข้างต้น หากนำมาพิจารณาในส่วนของมุมมองการลงทุน ตลาดหุ้นก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนสูงแม้ความผันผวนจะสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวไปมากแล้ว แต่ก็อย่าพึ่งชะล่าใจ เพราะ จากที่กล่าวไว้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการลดการกระตุ้นนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนมีความผันผวนมากขึ้น นักลงทุนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากเป็นการยากต่อการประเมินในระยะสั้น ว่าสินทรัพย์ใดจะให้ผลตอบแทนได้ดี ดังนั้นการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และ ปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ให้เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้
K-Expert กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนเปิดเค โกลบอล แอลโลเคชั่น (K-GA)
กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ โดยมุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวใกล้เคียงกับหุ้นโลก ด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่า
|
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
|
ซื้อกองทุนง่าย ๆ บนมือถือ
|
K-GA
|
|
|
ทำไมต้องเค โกลบอล แอลโลเคชั่น
-
กองทุน K-GA ติดอันดับ 4 ดาว Morningstar
-
ไม่ต้องจับจังหวะการลงทุนเพราะกองทุนปรับสัดส่วนการลงทุนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาด
-
แม้ในสถานการณ์โควิดกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีใกล้เคียงกับหุ้นโลก ด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่า 1 ใน 3
เหมาะสำหรับใคร
-
ผู้ลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงหุ้นโลกในระยะยาว
-
ผู้ลงทุนที่ต้องการรับเงินปันผลระหว่างการลงทุน
-
ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง ควรถือครองกองทุนตั้งแต่ 3 - 5 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนตามเป้าหมาย และลดโอกาสขาดทุนในระยะสั้น ๆ
-
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่เต็มจำนวนของเงินลงทุนในต่างประเทศ