Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​Memory of Love : รักไม่เสื่อม...แต่อย่าปล่อยให้แม่สมองเสื่อม​


​เชื่อว่าถ้าหลับตาแล้วคิดถึงคืนวันที่ดีของเราย่อมมีความทรงจำของ “แม่กับลูก” อยู่ในนั้น แต่จะเป็นเรื่องเศร้าถ้าความทรงจำนั้นเป็นของเราฝ่ายเดียว เพราะแม่แก่ลงทุกวัน... สมองที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิตย่อมอ่อนล้าและมีโอกาสเสื่อมได้ ลองสังเกตดูว่าคุณแม่ของเรามีความเสี่ยงสมองเสื่อมแค่ไหน


จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณแม่มีอาการสมองเสื่อม? ลองเช็คลิสต์สำรวจอาการคุณแม่ของเรา

  • ลืมง่าย เสียความจำระยะสั้น ๆ จนกระทบต่อการทำงาน
  • เคยทำอะไรเป็นประจำเริ่มทำไม่เป็น
  • มีปัญหาการใช้ภาษา เลือกคำพูดไม่ค่อยถูก
  • ไม่รู้เวลา และสถานที่
  • ตัดสินใจเรื่องประจำวันง่าย ๆ ไม่ได้
  • ไม่ค่อยเข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรม
  • วางของผิดที่แบบแปลก ๆ
  • มีอารมณ์พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
  • สูญเสียความคิดริเริ่ม

อาการเหล่านี้เป็นอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนผู้ป่วยหลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ภาวะสมองเสื่อมมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี และ พบได้มากในผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปี จะพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 คน


โรคสมองเสื่อม 2 ประเภท ที่พบได้บ่อย

  1. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
    เกิดจากความเสื่อมของสมองโดยตรง พบได้ ประมาณ 60% ของกลุ่มสมองเสื่อมทั้งหมด ช่วงแรกผู้ป่วยจะมีสมองฝ่อลง โดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ต่อมาสมองส่วนอื่น ๆ จะฝ่อตามมา มีผลต่อความคิด การตัดสินใจ การพูดสื่อสาร จนพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการของโรคจะแสดงอย่างช้า ๆ และ มากขึ้นเรื่อย ๆ หากตรวจพบตั้งแต่เริ่มต้นจะชะลอตวามรุนแรงของโรคได้

  2. โรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมองผิดปกติ (Vascular neurocognitive disorder)
    โรคหลอดเลือดแตกหรือตัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เส้นเลือดเล็ก ๆ ในสมองแตก ตีบ หรือ อุดตันได้ นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคที่สามารถรักษาได้ เช่น สมองเสื่อมที่เกิดจากโรคไทรอยด์​ ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ สมองเสื่อมจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ภาวะโพรงสมองโต มีเลือดคั่งหรือมีเนื้องอกในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เช่น เชื้อซิฟิลิสหรือโรคเอดส์ รวมถึงการขาดวิตามินที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง เช่น วิตามิน บี 12 เป็นต้น

            โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่เราสามารถชะลอให้การดำเนินโรคช้าลง หากดูแลสุขภาพให้แข็งแรงก็สามารถลดโอกาสการเกิดโรคได้ และ ควรสังเกตอาการคนใกล้ชิดของท่านว่าเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ พฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หากพบควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือ ตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมก่อนได้

ดูรายละเอียดตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม​

 

ที่มา: คลินิกสมองเสื่อม ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2


กลับ