Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​

ในทุกความเปลี่ยนแปลงนั้นมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ …พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของธุรกิจไทยในช่วง COVID-19

        ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบในด้านลบต่อธุรกิจของไทยอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ การปรับตัวในด้านกลยุธท์ของธุรกิจ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึงและปฎิบัติตาม เพื่อลดผลกระทบ และอาจเป็นการร้างโอกาสใหม่ให้กับ ธุรกิจอีกด้วย 

        รศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงแผนในการจัดการธุรกิจในช่วงสภาวะฉุกเฉิน หรือ CBS Reform Business Model (Chulalongkorn Business School Reform Business Model) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้



CBS Reform Business Model (Chulalongkorn Business School Reform Business Model)
1. Retool – ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและวิธีการทำงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันให้เป็นเครื่องมือและวิธีการอื่น ๆ ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานก็ได้เริ่มทำกันบ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น บริการส่งอาหาร (Food Delivery) หรือการเรียนการสอนออนไลน์  

2. Retarget – พิจารณาเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากชาวต่างชาติมาเป็นคนไทยหรือคนในพื้นที่ เช่น เปลี่ยนบางส่วนของโรงแรมมาเป็น ‘เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์’ หอพักนักศึกษา หรือให้บริการเช่าชั่วคราวแบบรายชั่วโมง 

3. Re-business – หารายได้ชดเชยจากการลดลงของผู้โดยสาร เช่น การบริการส่งอาหารจากสายการบินสู่มือผู้บริโภค และหันมาเน้นการขนส่งสินค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นการหารายได้จากทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนการจัดการในส่วนร้านอาหารเพื่อสร้างรายได้ โดยเปิดบริการอาหารส่งถึงลูกค้า แทนที่จะรอให้ลูกค้ามาใช้บริการที่โรงแรม สร้างสรรค์เมนูบริการคนที่ต้องกักตัวเองในบ้านเป็นเวลา 14 วัน หรือการให้บริการซักอบรีดที่มีคุณภาพมาตรฐานให้กับลูกค้าท้องถิ่น
 
4. Reprocess – ปรับเปลี่ยนขั้นตอนและกระบวนการในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งหลายธุรกิจประสบปัญหาเนื่องจากลูกค้าไม่มาหรือไม่กล้ามา ดังนั้นแทนที่จะนั่งรอลูกค้าก็เปลี่ยนเป็น ‘การรับลูกค้าถึงที่’ และทำให้ลูกค้ามั่นใจถึงความปลอดภัยทุกขั้นตอนของการบริการ เช่น ธุรกิจสปา นวดแผนไทย เสริมความงาม ฯลฯ ซึ่งการทำแผนเชิงรุกจะต้องมาพร้อมกับกระบวนการที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้านสุขอนามัย ปลอดภัยจาก COVID-19 เป็นการเปลี่ยนกระบวนการแบบ Reactive หรือรอรับลูกค้า มาเป็น Proactive คือเป็นฝ่ายเข้าหาลูกค้าแทน

5. Reunite – แสดงออกถึงความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ความสมัครสมานสามัคคี เพื่อช่วยประคับประคองให้ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน โดยองค์กรธุรกิจจะต้องไม่มุ่งแต่กำไร เช่น สายการบินยอมให้คืนตั๋ว โรงแรมยอมให้เลื่อนการเข้าพัก ลูกค้ายอมจ่ายบางส่วน คนที่ไปต่างประเทศยอมกักตัวเอง รัฐบาลยอมไม่จัดอีเวนต์ หรือ สัมมนา เพื่อลดการชุมนุมแพร่ระบาดของโรค
 


กลับ