ท่ามกลางกระแสฝุ่นตลบของปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังมีอีกสถานการณ์ที่หลายคนต้องจับตาในเดือนเมษายนนี้ คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่จัดขึ้นทุก ๆ 5 ปี ซึ่งในปีนี้ผลสำรวจชี้ว่า นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีคนปัจจุบันมีโอกาสชนะสูงที่สุด จากการที่พาประเทศฝรั่งเศสฟื้นตัวได้ดีกว่าระดับก่อน COVID-19 แซงหน้าประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป โดยมีผู้ท้าชิงเก้าอี้สายขวาที่มีนโยบายอนุรักษ์นิยมคนสำคัญอย่างนางมารีน เลอ เปน, นางวาเลอรี เปเครสส์, นายอีริก เซมมูร์, และ อีกหลาย ๆ คน
มาครง ตัวเต็งชิงบัลลังค์ผู้นำเมืองน้ำหอมต่ออีกสมัย
นายเอ็มมานูเอล มาครง แห่งพรรค The Republic On The Move – เป็นผู้นำสายกลาง มีนโยบาย เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังวิกฤต COVID-19 โดยเหตุผลที่ทำให้นายมาครงมีคะแนนความนิยมในตัวพุ่งสูงจากชาวฝรั่งเศส นั่นก็คือ
-
มีภาพลักษณ์เป็นประธานาธิบดีที่เข้าถึงได้ง่าย
-
ใช้กลยุทธ์หาเสียงโดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
-
มีลักษณะการทำงานอย่างถึงลูกถึงคน
-
มุ่งเน้นการลดปัญหาคนอพยพเข้าเมือง
-
พยายามเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อสันติภาพ กรณียูนเครน – รัสเซีย
หากนายเอ็มมานูเอล มาครงชนะการเลือกตั้ง จะส่งผลทำให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นโรปปรับตัวขึ้น เพราะ มีแนวโน้มที่จะสานต่อนโยบายต่าง ๆ พร้อมยุติสงครามยูเครน – รัสเซีย ดังนั้นค่าเงินยุโรปมีแนวโน้มแข็งค่าตามเศรษฐกิจ
หลายคู่แข่งสำคัญ ทิศทางขั้วตรงข้าม
คู่แข่งของนายมาครง ไม่ว่าจะเป็น นางมารีน เลอ แปน แห่งพรรค Rassemblement National, นางวาเลอรี เปเครสส์ แห่งพรรค Les Républicains หรือ นายอีริก เซมมูร์ แห่งพรรค Reconquête ที่ต่างมีความคล้ายกันในหลาย ๆ จุด ได้แก่
-
มีนโยบายสายขวาจัด
-
เน้นสร้างภาพลักษณ์ของชาวฝรั่งเศส
-
มีภาพเป็นตัวแทนของชนชั้นปกครอง
-
ชูมาตรการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการอพยพเข้าเมือง
-
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเน้นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐ
หากนางมารีน เลอ แปน หรือ ฝ่ายขวาชนะการเลือกตั้ง จะส่งผลทำให้ตลาดหุ้นผันผวนสูง และ ค่าเงินยุโรปมีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากฝ่ายขวามีแนวโน้มสนับสนุนการให้ฝรั่งเศสออกจากสหภาพยุโรป และ ใช้สกุลเงินของประเทศตัวเอง ดังนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของทั้งฝรั่งเศส และ ยุโรป แต่อย่างไรก็ตามการจะออกจากสหภาพยุโรปต้องใช้เวลา เพราะมีขั้นตอนที่ต้องผ่านกระบวนการเห็นชอบจากสภา
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลกระทบหลักที่เกิดขึ้นจากผลการเลือกตั้ง คือ การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินยูโร ดังนั้นหากมองกลับมาในเศรษฐกิจของประเทศไทยคาดว่าน่าจะมี 2 ประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
-
ธุรกิจนำเข้า และ ส่งออกสินค้า ซึ่งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรนั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มคู่ค้าสำคัญทางธุรกิจของไทย
-
ธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวยุโรป เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของไทยหลังจากการมาของ COVID-19 แทนที่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลงจากนโยบายภายในประเทศ
คำแนะนำการลงทุนท่ามกลางความผันผวนรอบด้าน
ตลาดหุ้นทั่วโลกในตอนนี้มีความผันผวนหนักจากภาวะสงครามที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐฯ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของฝรั่งเศส และ นโยบายที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ฝ่ายพรรคการเมืองนี้ ทำให้คาดการณ์ว่าสินทรัพย์เสี่ยงจะมีความผันผวนที่สูงขึ้นเช่นกัน นักลงทุนจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยคำแนะนำการลงทุนในตอนนี้ คือ
- นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย : พักเงินในกองทุนตราสารหนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวน
- นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง : เพิ่มสัดส่วนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างระมัดระวัง โดยแนะนำเป็นกองทุนผสมหุ้น ตราสารหนี้ เพื่อลดความผันผวนของพาร์ตลงทุน
K-Expert วันวิสาข์ อรุมชูตี AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
กองทุนเปิดเค หุ้นกู้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป
K-CBOND-A
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้
อ่านรายละเอียดกองทุน
|
ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน KPLUS
|
ทำไมต้องเค หุ้นกู้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป
-
ความท้าทายของการลงทุนในปี 2022 ท่ามกลางแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น สร้างความท้าทายต่อการเลือกลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศจะสูงกว่าของในประเทศ จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อ
เหมาะสำหรับใคร
-
ผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
-
ผู้ลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องในการซื้อขาย ได้รับเงินค่าขายคืนภายในวันที่ T+2
-
แนะนำควรถือครองกองทุนตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนตามเป้าหมาย และลดโอกาสขาดทุนในระยะสั้นๆ